สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จับมือโครงการวาโก้โบว์ชมพู  นำเทคโนโลยี AI ยกระดับตรวจแมมโมแกรมไปอีกขั้น เพิ่มโอกาสเข้าถึงการตรวจ  


เพิ่มเพื่อน    

 
17ต.ค.62-    ร.อ.นพ.สมชาย ธนะสิทธิชัย รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมยังคงเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มผู้หญิงไทย โดยผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ทุกช่วงอายุมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ทุกคน จากข้อมูลล่าสุดของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 13,000 รายต่อปี และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่า 4,000 รายต่อปี และยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ความท้าทายของสถาบันมะเร็งฯ คือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อายุ 40 ปีขึ้นไปตระหนักถึงภัยร้ายนี้และเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกปี เพราะการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะช่วยเพิ่มโอกาสรักษาโรคให้หายขาดได้ โดยผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 มีโอกาสหายจากโรคสูงถึงเกือบ 100%
 
จากการศึกษาทั่วโลกพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวได้มากถึง 30% และยังช่วยเพิ่มโอกาสในการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมในผู้หญิงในกรณีที่เป็นมะเร็ง เนื่องจากแมมโมแกรมสามารถตรวจพบรอยโรคขนาดเล็กมากตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ร่างกายจะยังไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด
    ทว่าสำหรับประเทศไทยนั้น แม้แมมโมแกรมจะเป็นวิธีคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบันแต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูง ภาครัฐไม่สามารถอุดหนุนให้อยู่ในสิทธิ์เบิกจ่ายได้ รวมถึงยังมีปัญหาขาดแคลนแพทย์รังสีวินิจฉัยไม่เพียงพอต่อผู้รับบริการ ทางสถาบันฯ จึงได้ริเริ่ม โครงการวิจัยพัฒนาระบบคัดกรองมะเร็งเต้านม AI Mammogram เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น ด้วยความร่วมมือจากบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินภารกิจรณรงค์ต้านภัยโรคมะเร็งเต้านมรูปแบบต่างๆ ภายใต้ “โครงการวาโก้โบว์ชมพู สู้มะเร็งเต้านม”

    นายธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการบริหาร บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 19 ปีของการดำเนินโครงการ วาโก้ตระหนักดีถึงความร้ายแรงของปัญหานี้ และอยากเห็นผู้หญิงไทยปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านม นอกเหนือการสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชนแล้ว การผลิตและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อต่อสู้กับโรคมะเร็งเต้านมก็เป็นอีกเรื่องที่วาโก้ให้ความสำคัญ ครั้งนี้จึงได้ร่วมสมทบทุน 1,200,000 บาท เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยดังกล่าวให้เกิดขึ้นจริง และเชื่อมั่นว่าหากโครงการวิจัยนี้ประสบผลสำเร็จ จะมีส่วนช่วยอย่างมากให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจแมมโมแกรมได้ง่ายขึ้น

     นพ.สมชาย อธิบายว่า หัวใจหลักของโครงการนี้เป็นการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องแมมโมแกรมให้ฉลาดและทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น โดยสามารถคัดแยกระดับความเสี่ยงของรอยโรคที่ตรวจพบได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ในการอ่านประเมินผลการตรวจแมมโมแกรม ทำให้เกิดผลดี 2 ประการคือ ช่วยลดภาระการทำงานของแพทย์รังสีวินิจฉัยลง และยังช่วยลดต้นทุนในการตรวจอัลตร้าซาวนด์เต้านมที่ไม่จำเป็นของประชาชนลงได้มากที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากในปัจจุบัน การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในไทยโดยทั่วไปจะใช้วิธีการตรวจแมมโมแกรมร่วมกับการเอกซเรย์เต้านมด้วยเครื่องอัลตร้าซาวนด์ เนื่องจากลักษณะเต้านมของผู้หญิงเอเชียมีความหนาแน่นมาก ไขมันน้อย ทำให้เห็นความผิดปกติของมะเร็งได้ยาก จึงต้องตรวจอัลตร้าซาวนด์เพิ่มเติม แตกต่างจากการตรวจคัดกรองในประเทศตะวันตก ซึ่งจะใช้การตรวจทั้งสองวิธีร่วมกันก็ต่อเมื่อต้องการวินิจฉัยความผิดปกติภายหลังการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของไทยมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และจำเป็นต้องใช้แพทย์รังสีวินิจฉัยที่มีจำกัดในการทำอัลตร้าซาวนด์


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"