บั้นปลายชีวิต
โดย จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์ ([email protected])
เมื่อตอนเรายังแด็กก็มีความคิดอยากจะโตไวๆเพื่อที่จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่เรียนจบ มีงานทำ มีอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ แต่ในความเป็นจริงเรากลับเป็นผู้ใหญ่ที่มาพร้อมภาระที่ต้องรับผิดชอบทั้งหน้าที่การงาน และความรับผิดชอบในการดุแลครอบครัวตั้งแต่บุพการี คู่ชีวิตและลูก ซึ่งเป็นความรับผิดชอบที่ติดตัวเราไปจนกว่าฝ่ยใดฝ่ายหนึ่งจะตายจาก ทั้งการจากเป็นและการจากตาย ต้องสู้กันไปจนกว่าจะหมดแรง บางคนใช้ชีวิตให้คุ้มโดยไม่สนใจว่ารายจ่ายกับรายได้จะลงตัวหรือมีเงินพอใช้สำหรับบั้นปลายชีวิตหรือไม่ คนที่ไม่มีความรับผิดชอบนั้นบางครั้งก็กลายเป็นภาระให้กับคนที่เป็นเสาหลักของครอบครัว ซึ่งต้องรับผิดชอบ “ชาวเกาะ” ผู้ไม่คิดจะดิ้นรนขวนขวายแต่อาศัยเกาะญาติพี่น้องสบายกว่า หลายครอบครัวจึงอยู่ในสภาพที่ “กลืนไม่เข้า คายใม่ออก” กับปัญหานี้
กว่าจะอยู่มาได้จนถึงอายุ 60 ปี ย่อมผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านทุกข์ ผ่านสุขกันมาทุกคน ไม่ว่าจะยากดีมีจนแค่ไหนก็ไม่มีใครที่จะสุขไปได้ตลอดกาล เมื่อมองย้อนกลับไปจะเห็นว่าเราสนใจแต่เรื่องตัวเองและคนใกล้ตัว ตั้งแต่แรกเกิดจนโตมาก็ก้มหน้าก้มตาเรียนหนังสือกว่าจะจบชีวิตก็ย่างเข้า 20 กว่าปี หลังจากนั้นต้องคร่ำเคร่งกับการทำงานสร้างเนื้อสร้างตัว กู้เงินซื้อบ้านซื้อรถ หากมีลูกยิ่งมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นและเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องดูแลเลี้ยงดูจนกว่าลูกจะเรียนจบมีงานทำถึงจะพึ่งพาตัวเองได้ เด็กสมัยนี้ต้องเรียนถึงปริญญาโท นั่นหมายความว่าต้องส่งเสียกันจนอายุเกือบ 30 กว่าจะส่งลูกถึงฝั่งพ่อแม่ก็เข้าสู่วัยเกษียณพอดี คนสมัยนี้แต่งงานช้า มีลูกช้า นั่นหมายความว่าเมื่อเราเข้าสู่วัยเกษียณ ลูกเพิ่งเข้าสู่ช่วงสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างครอบครัวใหม่ ไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูพ่อแม่ได้เหมือนรุ่นเรา และการใช้ชีวิตของคนรุ่นนี้ ตลอดจนค่าครองชีพที่สูงขึ้น แค่ให้เอาตัวรอดไม่ต้องมาพึงพาเราก็ดีถมไปแล้ว
คนหนุ่มสาวสมัยนี้หลายคนจึงไม่พร้อมที่จะใช้ชีวิตคู่ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการสร้างครอบครัวค่อนข้างสูง และการอยู่กินโดยไม่ต้องแต่งงานเป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับสังคมสมัยนี้ การหวงเนื้อหวงตัวให้เกียรติกันและบ่มความรักให้งอกงามรอจนถึงวันแต่งงานเป็นเรื่องที่หาได้ยาก หลายคนที่มีความกตัญญูต้องเลือกระหว่างการดูแลบุพการีกับการสร้างครอบครัวใหม่ เพราะการที่จะหาคนมาลำบากด้วยนั้นเป็นไปได้ยาก ใครไม่พร้อมต่างฝ่ายต่างก็พร้อมจะหาใหม่หรืออยู่คนเดียวดีกว่ามาทนลำบากแบบไร้จุดหมาย รักแท้ที่ครองคู่อยู่ด้วยกันจนตายจากจึงหายากมากในสมัยนี้ ถึงแต่งงานกันไปหากชีวิตไม่เป็นเหมือนอย่างที่ฝันไว้ หรือมีทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าก็พร้อมที่จะแยกทางกันทันที เด็กที่เป็นผลิตผลของครอบครัวหย่าร้างจึงมีเพิ่มขึ้นทุกวัน ยังมองไม่ออกว่าบั้นปลายชีวิตของคน Gen Y จะมีรูปแบบเป็นอย่างไร แต่ที่มองเห็นตอนนี้คือผู้ที่เกษียณรุ่นนี้ยังคงต้องพึ่งพาตัวเอง และระมัดระวังในการดูแลสุขภาพ ไม่ให้เป็นภาระของลูกหลาน เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลมีราคาสูง หากจำเป็นต้องใช้บริการของรัฐก็ต้องรอคิวและเสียเวลาในการเดินทางไปรักษา หากไม่มีสวัสดิการ ประกันชีวิต ก็ต้องใช้สิทธิบัตรทองหรือประกันสังคมตามอัตภาพ บั้นปลายชีวิตของแต่ละคนต้องวางแผนกันให้ดี แค่ภาวนาอย่าให้เป้นผู้ป่วยติดเตียงก็พอใจแล้ว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |