การอภิปรายร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 จำนวน 3.2 ล้านล้านบาท ระหว่างวันที่ 17-19 ต.ค.นี้ ถูกโหมกระแสอย่างมากว่าจะเป็นเวทีคว่ำรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม ในสภาวะที่รัฐบาลมีเสียงปริ่มน้ำได้หรือไม่
ถึงขนาดเล่นใหญ่จัด 106 ขุนพล ชำแหละ 5 กระทรวงต่างๆ ที่ได้งบประมาณจำนวนมาก เช่น กระทรวงกลาโหม ในหลายประเด็น รวมทั้งทำหน้าที่เสนอแนะในเชิงหลักการ อาทิ ใช้งบเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนหรือไม่ แก้ปัญหาตอบโจทย์ของประเทศสูงสุดหรือไม่ ใช้งบถูกตามระเบียบหรือไม่ และจัดสรรงบประมาณสูงสุดหรือไม่
แต่ในความจริงฝ่ายค้านจะทำหน้าที่ได้เช่นคำพูดที่โหมโรงหรือไม่ ก็พอจะคาดการณ์ออก เพราะเมื่อพลิกประวัติศาสตร์ ก็ไม่เคยเห็นมีรัฐบาลไหนล้มเพราะงบประมาณไม่ผ่าน เพราะเข้าใจดีว่าเป็นเรื่องของส่วนรวมที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศทั้งระบบ
รวมทั้งอานิสงส์ และบริการเสริมต่างๆ ที่จะตกหล่นไปที่ ส.ส. ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านตามความเหมาะสม และผลงานที่จะใช้อ้างกับประชาชนได้ ไว้เป็นหลักประกันกับฐานเสียงตัวเอง
อย่างเช่นก่อนหน้าก็มีกระแสข่าว ส.ส.พรรคฝ่ายค้านบางคนไปดักรอรัฐมนตรีที่หน้ากระทรวงเพื่อขอโครงการต่างๆ ลงพื้นที่ เพราะมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับเจ้ากระทรวง หรือ แกนนำของพรรครัฐบาล ขณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้านบางคนที่ไร้การดูแลจากเจ้าของพรรค หรือมีคดีความต่างๆ ก็อาจถูกยื่นข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้
ดังนั้นการอภิปราย ชำแหละงบประมาณแบบดุเดือดแบบเอาเป็นเอาตาย คงเป็น ส.ส.ฝ่ายที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลเท่านั้น
มาทางฝั่งรัฐบาล ก็รับทราบความต้องการของ ส.ส. เพราะเศรษฐกิจปากท้องเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ประกอบกับเมื่อเช็กยอด ส.ส. ก็ไม่หนักใจ เพราะการลงมติกฎหมายดังกล่าวใช้เพียงเสียงข้างมากธรรมดาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เกินกึ่งหนึ่งของสภาฯ จึงเชื่อว่าเรื่องงบประมาณฟันธงจะผ่านไปได้ไม่ยาก และอาจไม่จำเป็นต้องให้งูเห่าประกาศตัวชัดเจน
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชาชน ออกมาแถลงว่า “มั่นใจว่าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณจะไม่มีปัญหา และผ่านร้อยเปอร์เซ็นต์"
เมื่อนับมือเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาล จำนวน 16 พรรค ก็มีมากถึง 249 เสียง จากเดิม 252 คน โดยตัดเสียงของประธานสภา และรองประธาน 2 คน จำนวน 3 เสียง ออกไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแยแส เพราะนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ รับผิดชอบด้านกฎหมาย ก็คอนเฟิร์มว่า รัฐมนตรีนั่งควบ ส.ส. ก็สามารถลงมติได้ แม้ฝ่ายค้านจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก็ตาม สอดคล้องกับท่าทีอ่อนลงของฝ่ายค้านอิสระ 2 เสียง คือ จากพรรคไทยศรีวิไลย์ และประชาธรรมไทย ก็มีแนวโน้มจะสนับสนุนร่างงบประมาณดังกล่าว เพราะเห็นว่ามีความจำเป็นต่อประเทศชาติ จะค้านทุกเรื่องก็จะเข้าเนื้อตัวเอง จึงอาจทำให้ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงเพิ่มขึ้น
แตกต่างจากฝ่ายค้าน ที่มีเสียงน้อยกว่า จาก 246 เสียง เหลือ 243 คน จากนายนวัธ เตาะเจริญสุข ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย จำคุกในเรือนจำยังไม่มีสัญญาณจะออกมาทำหน้าที่ ส.ส.ได้ นางจุมพิตา จันทรขจร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ เขต 5 นครปฐม ยื่นหนังสือลาออก และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่
นอกจากเสียงฝ่ายค้านที่น้อยกว่าแล้ว ยังอาจจับตาว่า จะมีปรากฏการณ์ ส.ส.ฝ่ายค้านบางคนของพรรคเพื่อไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ และพรรคเพื่อชาติ ที่ได้รับการดูแลจากฝ่ายรัฐบาลลับๆ ว่าจะแสดงออกอย่างไร แม้จะไม่ถึงโหวตหนุนฝ่ายรัฐบาลอย่างเต็มตัว แต่ก็อาจจะแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าสนับสนุนรัฐบาลให้ได้รับรู้ เช่น อาจไม่เข้าห้องประชุม หรือติดธุระจนไม่สามารถลงมติได้ หรือบางคนอาจจะเลือกไม่อภิปรายโจมตีรัฐบาล
ด้วยสภาพความเป็นจริง ที่งบประมาณมีความจำเป็นต่อชาติและพี่น้องประชาชน รวมทั้งตัว ส.ส.ทุกคนแล้ว จึงเชื่อว่าสภาฯ จะรับหลักการวาระแรก เพื่อเข้าไปจัดสรรงบในชั้น กมธ.วิสามัญฯ แม้จะต้องเล่นลิเกแหกตาชาวบ้านกัน 3 วันก็ตาม.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |