ปัจจุบันคนไทยหันมาให้ความสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง “การกิน” ทำให้ที่ผ่านมาจะได้เป็นรูปแบบการปรุงอาหาร หรืออาหารที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพออกมาเป็นจำนวนมาก และจากข้อมูลเครือข่ายลดบริโภคเค็ม พบว่า ปัจจุบันคนไทยกินเค็มหรือบริโภคโซเดียมเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ 2 เท่า โดยเมื่อ 8 ปีก่อน คนไทยบริโภคเกลือมากถึง 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน จากความต้องการของร่างกายที่ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ขณะที่ปัจจุบันมีแนวโน้มการบริโภคโซเดียมลดลงมาอยู่ที่ 3,500 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งก็ยังถือว่ามากกว่าที่ร่างกายต้องการ และด้วยแนวคิดดังกล่าว กรมสรรพสามิตจึงได้เตรียมเสนอ รมว.การคลัง พิจารณาแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าความเค็ม ด้วยเหตุผลที่ว่า เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ!
ทั้งนี้ แนวทางเบื้องต้น คือ จะมีการเก็บภาษีตามสัดส่วนของความเค็ม หรือปริมาณโซเดียมที่อยู่ในสินค้าอาหาร นั่นหมายถึง หากสินค้าอาหารดังกล่าวมีปริมาณโซเดียม หรือความเค็มมาก ก็จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่เข้าข่ายว่าจะต้องเสียภาษีสรรพสามิตความเค็ม จากการคำนวณปริมาณโซเดียมต่อความต้องการบริโภค ซึ่งจะจัดเก็บจากกลุ่มสินค้าอาหารปรุงสำเร็จ เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น แต่ยังไม่มีแนวคิดในการเก็บภาษีความเค็มในสินค้าปรุงรส เช่น น้ำปลา เกลือ รวมถึงขนมขบเคี้ยวสำหรับเด็ก ด้วยเพราะมองว่าขนมขบเคี้ยวดังกล่าวเป็นอาหารที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้นประชาชนจึงสามารถตัดสินใจ หรือพิจารณาในการเลือกที่จะบริโภค หรือไม่บริโภคเองได้
กรมสรรพสามิตยอมรับว่า ภาษีความเค็มเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะไม่เคยมีการดำเนินการจัดเก็บภาษีในส่วนนี้มาก่อน แต่! ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการจัดเก็บภาษีตัวนี้ โดยขั้นตอนระหว่างนี้ คือ การร่วมหารือกับกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัดส่วนความเค็มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยหากได้ข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน ก็จะมีการพิจารณากันว่ามีความจำเป็นหรือไม่? ที่จะต้องดำเนินการจัดเก็บภาษีความเค็ม
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า ในการประชุมองค์การอนามัยโลก (WHO) รวมถึงกลุ่มสหประชาชาติ (UN) ได้พยายามผลักดันให้หลายประเทศมีการออกนโยบายภาษีเพื่อลดการบริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะจะเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ตามมา อาทิ โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคความดันโลหิต
แนวคิดเรื่องดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน แต่ที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้มีความพยายามในการผลักดันเรื่องนี้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น มองว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นการดูแลอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วมากกว่าการไม่ให้ใส่เกลือ หรือเครื่องปรุงรสเค็มต้องไม่เกินเท่าไหร่ในอาหาร เช่นเดียวกับภาษีความหวาน ที่จำกัดปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลมต่างๆ
การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าความเค็มนั้น อาจกลายมาเป็นอีกเรื่องที่ “ผู้ประกอบการ” ต้องหันมาให้ความสนใจในกระบวนการผลิต ทั้งการปรับสูตร การลดโซเดียมลง เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีที่กรมสรรพสามิตเตรียมจัดเก็บ มากกว่าการผลักภาระภาษีที่จะเกิดขึ้นให้ประชาชน ทั้งหมดก็เพื่อให้ประชาชนได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะตามแนวทางการจัดเก็บภาษีแล้ว กรมสรรพสามิตระบุว่า ภายหลังที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ จะมีระยะเวลา 1-2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตัว
อย่างไรก็ดี แม้ว่าแนวคิดเรื่องการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าความเค็มนั้น จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ก็ถือว่าเป็นอีกทางเลือกที่ประชาชนจะได้มีช่องทางในการเลือกบริโภคสินค้าเพื่อรักษาสุขภาพในราคาที่ถูกลง เพราะท้ายที่สุดแล้วการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป ก็จะส่งผลเสียให้กับร่างกายเช่นเดียวกับการบริโภคอาหารที่มีรสชาติหวาน มัน หรือเปรี้ยวเกินไปนั่นเอง.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |