ผลิตภัณฑ์ไม้สักจากป่าปลูก อ.อ.ป.
สินค้าไม้แปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ไม้ดีไซน์สวยงามที่ขายในตลาดปัจจุบันนี้ ยังพบการใช้ไม้จากป่าธรรมชาติปะปนเป็นวัตถุดิบการผลิต จากข้อมูลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ชี้ชัดปัญหาการลดลงของทรัพยากรป่าไม้ตามธรรมชาติมีสาเหตุจากการขาดความตระหนักใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างถูกวิธี มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กระทบสิ่งแวดล้อมของไทยอย่างหนัก การปลูกสร้างสวนป่าจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ อ.อ.ป. เสนอเพื่อช่วยรักษาทรัพยากรป่าไม้ในธรรมชาติ ควบคู่กับการจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (Chain of Custody: CoC) อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าไม้ได้ ลดปัญหาตัดไม้ป่ามาสวมตอ
เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
จากเวทีเสวนาและเผยแพร่การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เมื่อวันก่อน พรเพ็ญ วรวิลาวัณย์ ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กล่าวว่า รัฐบาลมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลระบบนิเวศ และส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีความมั่นคงให้มีความพร้อมทางการค้าในประชาคมอาเซียน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีนโยบายจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ซึ่ง อ.อ.ป. ดำเนินการเปลี่ยนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลายเป็นป่าเศรษฐกิจ และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยปัจจุบันนำโครงการเสริมสร้างมาตรฐานการปลูกสวนป่าเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (SFM) และจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ (COC ) เพื่อให้ผู้ประกอบทั้งรัฐและเอกชน ทั้งสวนป่าและโรงงานอุตสาหกรรมไม้ ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม้ตามมาตรฐานสากล (FSC) ทั้งสองระบบนี้จะช่วยพัฒนาธุรกิจป่าไม้ของประเทศ ให้มีมาตรฐานเดียวกันและเป็นที่ยอมรับระดับสากล
" อ.อ.ป. ต้องฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ในสวนป่าเศรษฐกิจ และส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน รวมถึงพัฒนาอุคตสาหกรรมไม้ สร้างมูลค่าเพิ่ม หลักเกณฑ์มาตรฐานสากลนี้ใช้จัดการสวนป่าเศรษฐกิจของ อ.อ.ป. บนพื้นที่ กว่า 344,000 ไร่ จากล้านกว่าไร่ สำหรับพื้นที่สวนป่าที่เหลือจะดำเนินการให้ครบต่อไป " พรเพ็ญ กล่าว
ฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ในสวนป่าเศรษฐกิจ สร้างป่าเขียวขจี
สำหรับระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ ผอ. อ.อ.ป. กล่าวว่า เริ่มระบบนี้ตั้งแต่ปี 2557 มีโรงงานผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน COC แล้ว 10 โรงงาน และตั้งแต่ปี 2560-2562 มีโรงงานไม้ของภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมกิจกรรมและได้รับรองตามมาตรฐาน 15 โรงแล้ว จะมีศักยภาพแข่งขันกับกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น และลดการทำลายป่าธรรมชาติ ในงานเสวนาครั้งนี้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้ในการทำตามมาตรฐานจากผู้ที่ได้รับรองรายเดิม สู่ผู้ที่สนใจและผู้ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจประเมินขอรับการรับรอง อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่าย หาพันธมิตรเพื่อเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบไม้อย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
โรงงานผลิตภัณฑ์ไม้ของบริษัท บุญทิมเบอร์ อินเตอร์ จำกัด จ.ประจวบคีรีขันธ์ 1 ใน 15 โรงงานที่ได้รับรองตามมาตรฐานสากลสดๆ ร้อน พร้อมทำธุรกิจอนุรักษ์ธรรมชาติ ปพน คุณวรผาดิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท บุญทิมเบอร์ อินเตอร์ ฯ บอกว่า เราเป็นน้องใหม่ในวงการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ มี 3 บริษัทในเครือ ทำงานไม้ครบวงจรตั้งแต่แปรรูปจนจำหน่ายสินค้า โดยมีสวนป่าบางส่วนอยู่ที่ จ.ประจวบฯ เป็นไม้ยางพารา ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ขายทั่วประเทศ และมีแผนจะขยายตลาดส่งออกในยุโรปและญี่ปุ่น กว่าจะได้รับรองไม่ง่าย แต่ผลลัพธ์มีคุณค่า
" จากประสบการณ์ในการดำเนินงาน พบปัญหาการซื้อวัตถุดิบไม้มาป้อนโรงงาน ไม้หายาก โดยเฉพาะภาคใต้ ผู้ประกอบการโรงเลื่อยไม้จะส่งออกไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ นโยบายของหลายประเทศเข้มงวดกับกับโรงงานต้องปฏิบัติตามกฎหมายเคร่งครัด สินค้าที่ผลิตจากไม้ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทางผู้บริหารบริษัทฯ ต้องการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานรองรับการขยายตัวของตลาด ซึ่งมาตรฐาน FSC และ COC จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องการที่จะสร้างมาตรฐาน ส่งสินค้าไปยุโรปโดยไม่ถูกกีดกันทางการค้า อย่างไรก็ตาม ยังต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐด้านความรู้ในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน รวมทั้งเห็นว่า หากผู้ประกอบการ ชาวไร่ชาวสวนที่ทำสวนป่าผ่านมาตรฐานร่วมมือกันส่งไม้ขายให้แต่ละโรงงาน จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยมาก " ปพน กล่าว
ด้าน พงศ์ ชัยพง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย ทีค วู้ด จำกัด จังหวัดตาก กล่าวว่า การจัดทำระบบควบคุมการเคลื่อนย้ายของสินค้าไม้ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดสินค้าไม้ถูกกฎหมาย เกิดกระบวนการควบคุม ติดตามการเคลื่อนย้ายและตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าไม้ โรงงานแปรรูปไม้ของเราทำมาตรฐานนี้ เพราะอยากให้ไม้สักของไทยไปสู่ตลาดโลก นอกจากนี้ สินค้าตกแต่งมีกลุ่มลูกค้าเป็นโรงแรม ที่พัก รีสอร์ท ซึ่งโฟกัสวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง และรักษาสิ่งแวดล้อม เวลาไปโรดโชว์ต่างประเทศสินค้าที่ได้มาตรฐานนี้ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน ลูกค้ามีความเชื่อมั่น กลุ่มลูกค้าบอกว่า ถ้าไม่ผ่านการรับรอง จะการันตีได้มั้ยว่า ใช้ไม้ป่าปลูกอย่างยั่งยืน
ในฐานะผู้ประกอบการไทยที่ทำไม้สัก กล่าวว่า อยากให้คนไทยสนับสนุนการใช้ไม้สักจากสวนป่าของไทยในวงกว้าง ปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์ไม้สักของไทยใช้ไม้สักจากพม่าเป็นส่วนใหญ่ ติดภาพไม้สักจากพม่าสวยงาม เป็นสินค้าคุณภาพ ปัจจุบันไทยเป็นผู้นำเข้าไม้สักแปรรูปรายใหญ่ของพม่า บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้สักจากสวนป่า อ.อ.ป. ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แข็งแรง งดงาม ในราคาที่สบายกระเป๋า อย่างไรก็ตาม ไม้สักยังเป็นไม้หวงห้าม มีกฎหมายควบคุมเรื่องการส่งออก รัฐต้องทบทวนกฎหมายให้ทันสมัยเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยแข่งขันกับสากล เพราะปัจจุบันมีการปลูกป่าเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ทราบว่า ขณะนี้กระทรวงทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างร่างกฎหมายดังกล่าว
ไม่เฉพาะผู้ประกอบการ แต่มาตรฐานปลูกป่ายั่งยืน มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรวมใจพัฒนาเกษตร ต.หนองขาม จ.สุพรรณบุรี ยื่นขอรังรองด้วย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนตรวจประเมินของ อ.อ.ป. กฎชกรณ์ ธรรมศพ ประธานวิสาหกิจชุมชนฯ ร่วมเวทีเดียวกัน บอกว่า กลุ่มเกษตรกรขับเคลื่อนปลูกไม้ปลดหนี้ ปลูกแล้วต้องมีรอยยิ้ม ไม่ต้องฆ่าตัวตาย ทำแปลงวนเกษตรอย่างยั่งยืน 3 ปี ได้ไม้เล็ก 7 ปี ได้ไม้ใหญ่ ตัดขายหรือสร้างอาคารบ้านเรือนได้ จะส่งเสริมปลูกไม้ใหญ่เพื่อปลดหนี้ แล้วยังมีแปลงไม้ 5 ไร่ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เราเรียก "หนองขามโมเดล เข้าร่วมโครงการฯ เพราะเห็นว่าจะส่งเสริมเกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคงจากการปลูกป่า กรณีถ้ามีการเคลื่อนย้ายสินค้าไม้มาตรฐานนี้จะรับรองว่าไม่ได้เกษตรกรไม่ได้ลอบตัดไม้จากป่า
สวนป่า อ.อ.ป. มีการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน
/
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |