Circular Economy : เสื้อตัวนี้ทำจากขวด ขยะพลาสติก 12 ขวด!


เพิ่มเพื่อน    

    วันก่อนผมได้ความรู้ใหม่ว่าด้วย Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) ที่กำลังเป็นกระแสระดับโลกอย่างน่าสนใจยิ่ง
    เชื่อไหมครับว่าเสื้อ Arrow ตัวนี้มาจากขวดน้ำพลาสติก 500 ซีซี 12 ขวด!
    เป็นนวัตกรรมที่มุ่งช่วยลดปัญหาขยะที่เกิดจากขวดพลาสติกในประเทศไทย
     ใส่แล้วนุ่ม, สบาย, ไม่ร้อน ที่สำคัญมีคนบอกว่าผมใส่แล้วดูหนุ่มขึ้นอย่างน้อย 15 ปี จะไม่ให้ผมชอบได้อย่างไร 5555
    ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ เป็นการทำเสื้อด้วยการนำเส้นใยที่ได้จากขวดพลาสติก (ขวดเพ็ท) มาผสมกับเส้นใยฝ้ายมาผลิตเป็นเสื้อผ้า
    ถือเป็นกระบวนการแปรรูปขยะสู่แฟชั่น!
    ผู้บริหารเครือสหพัฒน์บอกผมว่า นี่คือ Arrow Upcycling Collection ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเครือสหพัฒน์กับ GC บริษัทพีทีที โกลบอล เคมีคอล 
    ผมซักถามขอความรู้เรื่องนี้จากคุณสวัสดิ์ โพธิ์สินสมวงศ์, ผอ.ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายชาย Arrow ICC International และคุณสุชาติ ลายลักษณ์ศิริ, รองกรรมการผู้จัดการและ ผอ.ธุรกิจ Apparel บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด
    น่าทึ่งไม่น้อยครับ...โดยเฉพาะ Arrow อเมริกาเกิดปี 1851 (ยาวนานมา 168 ปี) และเครือสหพัฒน์ที่ได้รับ licence สำหรับประเทศไทยมานมนานกำลังพิสูจน์ว่าสามารถเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระดับโลกได้อย่างน่าสนใจ
    เขาเรียกกระบวนการนี้ว่า Upcycling (Upgrade + Recycle) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Circular Economy หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ที่กำลังเป็นแนวปฏิบัติใหม่ในโลกเพื่อลดภาวะมลพิษให้สอดคล้องกับการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ
    Upcycling เป็นการยกระดับจาก Recycle ที่เราเคยรู้จัก 
    Upcycling คือการนำวัสดุต่างๆ ที่ใช้แล้วมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเพิ่มความสวยงาม ใส่ไอเดียใหม่ๆ เพื่อเพิ่มพูนมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่ามากกว่าเดิม
    แต่ก่อนเรารู้จักคำว่า Recycle เป็นหลัก
    กระบวนการ Recycle คือการจัดการวัสดุเหลือใช้ไปผ่านกระบวนการแปรสภาพเพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้อีก อาจเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้
    ยิ่งวันทรัพยากรบนโลกก็ยิ่งลดลง
    สิ่งแวดล้อมกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก
    เราได้อ่านข่าวเรื่องวาฬและพะยูนตาย เพราะกินพลาสติกเข้าไปโดยไม่รู้ว่ามันอันตรายเพียงใด
    พลาสติกที่เราทิ้งนั้นหากไม่มีการจัดการบริหารแบบ Upcycle หรือ Recycle ก็จะลงไปในทะเลและกลายเป็นภัยคุกคามสัตว์ และท้ายที่สุดมนุษย์ก็กลายเป็นเหยื่อ
    เพราะมลพิษเป็นเรื่องสากล ไม่มีพรมแดน สารพิษที่ลงในทะเลอาจจะมาจากจุดไหนของโลกก็ได้ และมลพิษจากไทยเราก็ถูกพัดไปไปสู่ที่ไหนในโลกก็ได้
    หากใช้ Circular Economy อย่างมีประสิทธิภาพ มนุษย์ก็สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนได้ด้วย
    โครงการทดลองเริ่มที่จังหวัดระยอง ชาวบ้านและอาสาสมัครช่วยกันเก็บรวมขยะขวดน้ำพลาสติกมาเข้ากระบวนการ Upcycling แปลง “ขยะ” เป็นเส้นใย ทอเป็นผืนผ้า และตัดเย็บออกมาเป็นสินค้าแฟชั่น
    หากสร้างความตื่นตัวตั้งแต่ระดับเด็กในโรงเรียนและขยายเข้าถึงความตระหนักในครอบครัว ต่อยอดไปถึงองค์กรธุรกิจเอกชนอย่างต่อเนื่อง ความริเริ่มเล็กๆ นี้อาจพัฒนาเป็นแผนระดับชาติได้
    โลกกำลังถูกคุกคามด้วยขยะทุกรูปแบบ จะรอดวิกฤตินี้ได้ต้องกล้าเป็นผู้นำและคิดนอกกรอบจริงๆ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"