(หลักการเป็นเพื่อนที่ดีระหว่างกันของผู้สูงอายุไม่ควรให้เพื่อนยืมเงิน เพราะอาจทำให้เสียเพื่อนหากไม่มีการใช้คืน แต่ถ้าคนวัยเก๋าพอมีทรัพย์ก็ควรแบ่งให้เพื่อนตามกำ�ลัง ไม่ต้องมากจนเกินไป โดยที่ไม่ต้องเอาคืน)
เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้นการคบเพื่อนฝูงจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับคนวัยเก๋า เพราะปัจจุบันอัตราของการป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้สูงอายุ ที่สำคัญการมีเพื่อนจะช่วยแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อนำไปสู่ทางออกของปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ทั้งปัญหาสุขภาพ ตลอดจนปัญหาความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวที่ผ่านการระดมสมองของกลุ่มเพื่อน และยังทำให้คนหลัก 5 หลัก 6 ไม่เหงาอีกด้วย พญ.สุรางค์ เลิศคชาธาร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชและผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.28 มีข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าสังคมและการคบเพื่อนฝูงของคนวัยเก๋ามาแนะนำไว้น่าสนใจ
(พญ.สุรางค์ เลิศคชาธาร)
พญ.สุรางค์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชและผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.28 แนะนำว่า “ประโยชน์ของการมีเพื่อนฝูงนั้นเป็นสิ่งที่ดีมาก ดังนั้นคนสูงอายุจำเป็นต้องมีเพื่อนเอาไว้พอสมควร ที่สำคัญความสัมพันธ์ดังกล่าวต้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง หรือต้องคบกันเป็นเวลานานๆ และการเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันนั้นต้องเกิดจากความผูกพันกัน ตลอดจนมีความทรงจำที่ดีต่อกันโดยที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง โดยเฉพาะเรื่องของเงินทอง ทรัพย์สิน
“ทั้งนี้ หลักของการเลือกเพื่อนที่ดีจำเป็นต้องใช้เวลาร่วมกันในการทำสิ่งดีๆ เพื่อให้รู้จักและรู้ใจกันก่อน ซึ่งตรงนี้จะต้องใช้เวลาคบกันค่อนข้างนาน และส่วนหนึ่งก็เพื่อดูพฤติกรรมของเพื่อนไปด้วย และต้องจำไว้ว่าการที่เราจะเป็นเพื่อนกันนั้น จะต้องไม่ล่วงเกินในเรื่องส่วนตัวของเพื่อน รวมถึงเรื่องเงินทองของอีกฝ่าย และเวลาที่เรามีเงินและต้องการแบ่งปันเพื่อน ก็ต้องไม่ให้มากจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เลยขอบเขตของการเป็นเพื่อน อีกทั้งผู้สูงอายุต้องระลึกอยู่เสมอว่า แต่ละคนนั้นย่อมมีข้อดีข้อเสียในตัวเอง แต่ถ้าเขามีข้อเสีย แต่เป็นสิ่งที่เราพอรับได้ ประกอบกับเขาก็เป็นคนดีพอสมควร สอดคล้องกับจริตของเรา เช่น ชอบไปวัดเหมือนกัน ชอบออกกำลังกายเหมือนกัน หรือชอบอ่านหนังสือแนวเดียวกัน อีกทั้งเมื่อพูดคุยกันแล้วรู้สึกถูกคอก็สามารถคบกันได้
ส่วนการช่วยเหลือเพื่อน โดยเฉพาะการแบ่งปันเงินทองนั้น แนะนำว่าถ้าอีกฝ่ายพอมีทรัพย์ก็อาจจะแบ่งให้เพื่อนมากหน่อย แต่ถ้ามีน้อยให้ตามน้อย ที่สำคัญไม่ควรเป็นไปในลักษณะของการกู้ยืม เพราะนั่นจะทำให้เสียเพื่อนในที่สุด เพราะมันจะกลายเป็นธุรกิจระหว่างผู้ให้กู้กับลูกหนี้ สุดท้ายก็จะทำให้ความสัมพันธ์ถูกบั่นทอน หากว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถที่จะใช้เงินคืนได้ตามกำหนด”
(เพื่อนที่ดีของผู้สูงวัยนั้น นอกจากความชอบที่คล้ายคลึงกันแล้ว ยังต้องมีความจริงใจในการคบกัน และชวนกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและใจ)
พญ.สุรางค์ บอกอีกว่า “อันที่จริงแล้วเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ เราควรต้องมีเมตตากับผู้อื่น โดยเฉพาะคนที่อยู่รอบข้างตัวเรา ส่วนหนึ่งไม่เพียงทำให้คนที่อยู่ใกล้ทั้งเพื่อนฝูงและลูกหลานนั้นเกิดความรู้สึกอบอุ่น เย็นและสงบเมื่ออยู่ใกล้เรา ตรงกันข้ามหากเราเป็นคนวัยเก๋าที่หงุดหงิด ก็จะทำให้คนรอบข้างไม่อยากอยู่ใกล้ ซึ่งนั่นเราอาจถูกทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง อีกทั้งเพื่อนฝูงก็จะหนีห่าง ที่สำคัญเรื่องความเมตตาต่อผู้อื่นนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องคนในครอบครัว อาทิ ลูกหลานเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อนบ้านที่ดีๆ ของเรา หรือแม้แต่ลูกน้องในที่ทำงาน และลูกศิษย์ลูกหา คนเหล่านี้ผู้สูงอายุจำเป็นต้องเมตตาและเกื้อหนุนตามกำลัง เพราะเขาอาจจะเป็นที่พึ่งพิงและคอยช่วยเหลือเราได้เมื่อเรามีอายุมากขึ้น”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |