12 ต.ค.62 - ดร.กิตติธัชชัย ประสิทธิ์ อาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้านปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith โดยมีเนื้อหาดังนี้
#เลิกประดิษฐ์วาทกรรมทางการเมือง
#เสมือนหนึ่งหลุดออกมาจากยุคกลางในยุโรปเถอะ
- นี่ปี2019 แล้วนะครับยังจะเที่ยวประดิษฐ์วาทกรรมเหมือนหลุดมาจากยุคกลางและเพิ่งเข้าสู่ยุคปฏิรูปการเมืองในศตวรรษที่16-17 อยู่เพื่ออะไรครับ?
- ปิยะบุตรยังจะประดิษฐ์คำโดยเอาประวัติศาสตร์การเมืองยุโรปเมื่อ500-600 ปีที่แล้วมาสมัยที่กษัตริย์หรือผู้ปกครองมีความศักดิ์สิทธิ์จากศาสนาหรือสิทธิอันชอบธรรม(Divine Right) มาเพื่ออะไร?
- ทั้งที่ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนถึงทุกวันนี้พระมหากษัตริย์ก็ไม่ได้มีหน้าที่บริหารบ้านเมืองโดยตรงด้วยพระองค์เองอยู่แล้ว
-------------------
- ทุกวันนี้จะพิจารณางบประมาณจะจัดซื้อจัดจ้างจะทำนโยบายรถคันแรกจำนำข้าวบ้านเอื้ออาทรชิมช็อปใช้บัตรสวัสดิการแหง่รัฐประกันราคาสินค้าเกษตรทำเขตเศรษฐกิจพิเศษและอื่นๆ
- ทั้งหมดก็เป็นนโยบายที่ทำโดยนักการเมืองข้าราชการนักวิชาการเทคโนแครต(และการล็อบบี้ของกลุ่มทุนใหญ่) ผมก็ยังไม่เห็นว่าพระมหากษัตริย์จะลงมาควบคุมสั่งการอะไรเลย
- โหวตก็โหวตกันในสภาตามหลักการเสียงข้างมากจะผ่านกฎหมายก็โหวตกันในสภาจะผ่านงบประมาณก็โหวตในสภา
- แล้วจะไปพูดพาดพิงเสมือนว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินแล้วไม่มีใครกล้าคิดเห็นต่างเหมือนสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเพื่ออะไรอย่างไร?
-------------------
*** เลิกเถอะครับไอ้ประเภทพร่ำเพ้อกับวาทกรรมการเมืองยุคโบราณแล้วเอามาอุปโลกตัวเองประหนึ่งเป็นผู้ชี้นำแสงสว่างและปลดปล่อยมวลชนจากความมืดมิดมันไม่ได้เข้ากับยุคสมัยและบริบทที่เป็นจริงของสังคมในยุคปัจจุบันเลย
*** ทุกวันนี้ประชาชนอยากเห็นว่าฝ่ายการเมืองจะใช้อำนาจที่ได้จากระบอบประชาธิปไตยเพื่อเข้าไปผลักดันกฎหมายนโยบายหรือตรวจสอบโครงการต่างๆที่สัมพันธ์กับการแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศอย่างไร
*** เขาไม่ได้อยากฟังวาทกรรมทางการเมืองที่พร่ำเพ้อเสมือนเพิ่งหลุดมาจากยุคกลางในยุโรปหรือสยามประเทศในช่วงเพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองนะครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |