รัฐมนตรีเกษตรฯ จับมือ ก.มหาดไทย พร้อมสั่งการหน่วยงานในสังกัดเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยภาคใต้ในช่วงฤดูฝน เฝ้าระวังพื้นที่น้ำท่วมเดิม พร้อมปล่อยคาราวานเครื่องจักรเครื่องสูบน้ำ และเครื่องมือต่างๆ ไปประจำพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม หวังรับมือได้ไม่ซ้ำรอยภาคเหนือและอีสาน
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าในระยะนี้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนลดลงและเริ่มมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าโดยเฉพาะตอนบนของภาค สำหรับภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกชุกหนาแน่น ประกอบกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ตนมีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรและประชาชนทุกพื้นที่ โดยเฉพาะขณะนี้ทางภาคใต้ของประเทศไทยที่กำลังจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคมปีนี้ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระทรวงเกษตรฯ บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด รวมทั้งจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ตลอดช่วงฤดูฝนนี้
โดยในวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานการประชุมเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ปี 2562 เพื่อลดความเสี่ยง เฝ้าระวังภัย และเตรียมรับมือ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม พร้อมกันนี้ได้ร่วมกิจกรรมปล่อยคาราวานเครื่องจักรเครื่องมือรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ปี 2562 ณ สำนักงานชลประทานที่ 14 อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
ด้านนางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรภายใต้การกำกับดูแลของ นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมพร้อมแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืชทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังประสบภัยไว้ ดังนี้
• กรณีก่อนเกิดภัย ได้สั่งการให้สำนักงานจังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมแจ้งเตือนเกษตรกร เตรียมรับสถานการณ์ พร้อมเร่งรัดให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้พร้อม
• ขณะเกิดภัย ให้ประเมินสถานการณ์เบื้องต้น รายงานพื้นที่ประสบภัยและบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น โดยจัดชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ ให้การสนับสนุนการทำงานของสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด การออกเยี่ยมเยียนเกษตรกรและให้คำแนะนำในการดูแลรักษาพืช พร้อมเร่งรัดติดตามการช่วยเหลือ
• หลังเกิดภัย ให้สำรวจ ประเมินความเสียหายและให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ และให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรออกให้คำแนะนำเกษตรกรในการดูแลพืชหลังประสบภัย โดยจัดเตรียมสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อไตรโคเดอร์มา เพื่อแจกจ่ายช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนไม้ผลฟื้นฟูหลังน้ำลด ตลอดจนสนับสนุนพันธุ์พืชผัก ไม้ผล/ไม้ยืนต้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และในกรณีที่เกษตรกรซื้อประกันภัยจะได้รับสินไหมทดแทนด้วย เช่น ข้าวนาปี เบี้ยประกัน 85 บาท/ไร่ ได้รับสินไหมทดแทน 1,260 บาท/ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เบื้ยประกัน 59 บาท/ไร่ ได้รับสินไหมทดแทน 1,500 บาท/ไร่
สำหรับหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการกษตรก่อนเกิดภัย โดยช่วยเหลือตามพื้นที่เสียจริงไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,113 บาท/ไร่ พืชไร่ 1,148 บาท/ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 1,690 บาท/ไร่ ทั้งนี้ หากเกษตรกรมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |