“ถาวร”จี้บินไทยเร่งทำแผนแก้ขาดทุน


เพิ่มเพื่อน    

11 ต.ค.2562 นายถาวร เสนเนียม รมช. เปิดเผยภายหลังรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานของ บริษัท การบินไทย จำกัด มหาชน ว่า ได้มอบหมายให้ การบินไทย จัดทำแผนฟื้นฟูและแผนบริหารธุรกิจฉบับใหม่ ภายหลังที่คณะกรรมการฯการบินไทย เมื่อวันที่24 กันยายน 2562 มีมติให้ทบทวนการจัดหาเครื่องบินใหม่ 38ลำ ออกไปก่อน 6เดือน เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ตลาดเปลี่ยนแปลง ซึ่งยอมรับว่าธุรกิจการบินปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมาก หลายประเด็นการบินไทยไม่ได้รับแต้มต่อ เช่นเรื่องของราคาเชื้อเพลิง เรื่องของน่านฟ้าที่เปิดเสรี อีกทั้งบริษัทอยู่ในภาวะขาดทุนสะสมต่อเนื่อง

นายถาวร กล่าวว่าสั่งการให้การบินไทยรายงานความคืบหน้าของผลประกอบการเป็นรายเดือน และให้บริษัทจัดทำแผนฟื้นฟูบริษัทและแผนบริหารธุรกิจฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ส่วนแผนฟื้นฟูองค์กรและแผนบริหารธุรกิจใหม่ที่บริษัทการบินไทยจะต้องจัดทำนั้นต้องมีเป้าหมายชัดเจนเพื่อลดการขาดทุนเพิ่มกำไรเพิ่มยอดขายสร้างความพึงพอใจรวมถึงการปรับเส้นทางการบินให้เหมาะสมโดยใช้ระบบไอทีเข้ามาบูรณาการทำงานเช่นการจองตั๋วออนไลน์และแผนการตลาด

ทั้งนี้ในส่วนของแผนการจัดหาเครื่องบินใหม่ 38ลำ ตามที่คณะกรรมการฯได้สั่งให้ทบทวนแผนใหม่นั้น การบินไทยจะต้องรายงานความคืบหน้าให้ตนรับทราบแผนการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือนจนกว่าแผนจะแล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา6เดือน พร้อมกันนี้ให้รายงานความก้าวหน้า เรื่องการลงทุนของบริษัทในศูนย์ซ่อมบำรุง (MRO) ที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาทุก 15 วันโดยให้การดำเนินงานของบริษัทยึดตามแผนEEC ยุทธศาสตร์ชาติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามนโยบายรัฐบาลโดยเคร่งครัดและให้เร่งหาข้อสรุปโดยเร็ว

“ตั้งแต่ปี 2503 ถึงวันนี้ก็ 59 ปีแล้ว ทำกำไรมาตลอด สถานการณ์เราเสียภาษีให้กับรัฐนำส่งรายได้ ต่อมาขาดทุนแค่ 2 หมื่นล้าน ดูตัวเลขไม่มีปัญหาแก้ไขได้ แต่ต้องจริงจังเพราะความภาคภูมิใจในการเป็นสายการบินแห่งชาติที่ได้รับรางวัลมาอย่างต่อเนื่องเราแพ้ใครไม่ได้แม้แต่ตัวเองก็ต้องสู้ ดังนั้นเมื่อบอร์ดซึ่งรับผิดชอบในฐานะกำกับดูแลได้ให้การบ้านไปผมในฐานะเป็นผู้กำกับดูแลต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ต้องรับผิดชอบต่อสภา ในวันนี้ได้กลับมาเพื่อจับเข่าคุยกันของการทำให้การบินไทยฟื้นมาเป็นบริษัทที่ทำกำไร”นายถาวร กล่าว

นายนายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า เนื่องจากสถานะทางการแข่งขันที่รุนแรง และที่ผ่านมาประสบปัญหาการขาดทุนปีนี้ถือเป็นปีที่ยากลำบากของการบินไทย ดังนั้นจึงได้เร่งทำแผนระยะสั้นเพราะเหลือเวลาไม่ถึง3เดือนเพื่อฟื้นฟูให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เริ่มจากเรื่องรายได้เริ่มจากการขายตั๋วให้ได้มากที่สุด ซึ่งระหว่างนี้เป็นจุดเริ่มต้นของฤดูกาลท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นฝ่ายการตลาดจะไปดูเรื่องการทำการตลาดที่ตัวบุคคลและใช้เครื่องมือ ดาต้า มาเก็ตติ้ง ในการเข้ามาช่วย เพื่อทำให้บรรลุการขายตั๋วให้ได้

“เรื่องการควบคุมค่าใช้จ่าย เราจะบริหารค่าใช้จ่ายโดยค่าใช้จ่ายบางตัวที่ยังไม่มีความจำเป็นจะพิจารณาหรือยกเลิกออกไป และจะมีการหารือกับพนักงานปรับลดการทำล่วงเวลา (โอที) ของพนักงานลง 1 วัน เพื่อช่วยในเรื่องของค่าแรงโอที รวมถึงลดการจัดซื้อจัดจ้างลง 10% ส่วนสิ่งที่ได้ทำไปแล้วคือเรื่องของการลดค่าตอบแทนของผู้บริหารในบางส่วนลง ซึ่งเป็นการแสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่าเราช่วยอะไรกันได้ก็ช่วยกันทำ ส่วนเรื่องอื่นๆได้มีการพูดคุยกับฝ่ายบริหารว่าขอให้มีการ่วมมือกันอย่างเต็มที่ ยึดมั่นทำตามแผน

นายสุมธ กล่าวว่า ส่วนการจัดหาเครื่องบินจะต้องวิเคราะห์ตลาดและพิจารณาเงินทุนอย่างละเอียด โดยจะศึกษาปรับโครงสร้างของธุรกิจ จากปัจจุบันบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) เกิน 8 เท่า จะต้องปรับลดหนี้และลดสินทรัพย์ (Asset) รวมถึงพิจารณาถึงการเพิ่มทุน ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่มาก ทั้งหมดจะอยู่ในแผนฟื้นฟูองค์กรรวมถึงการเพิ่มช่องทางจำหน่ายตั๋วผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet Sale) มากขึ้น จากเดิมพึ่งพิงช่องทางเอเย่นต์เป็นหลัก โดยบริษัทจะไม่ลดความสำคัญเอเย่นต์ลง เพื่อไม่ให้การขายเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง

นอกจากนี้ยังต้องทบทวนเส้นทางการบินโดยเฉพาะเส้นทางที่ขาดทุนและมีการแข่งขันที่รุนแรงที่การบินไทยประสบปัญหา และควรทบทวนว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ขณะเดียวกันได้เน้นย้ำเรื่องของการสื่อสารกับพนักงานที่เป็นส่วนสำคัญในการกู้วิกฤติ สื่อสารกับคนภายนอกให้เกิดความเข้าใจกับการเป็นสายการบินแห่งชาติและสถานะทางการเงินของบริษัท รวมถึงการพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องกับงานเพื่อให้มีความเหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุล และสุดท้ายเรื่องของ MRO ภายในสิ้นปีนี้ บริษัท แอร์บัสมีแผนข้อเสนอเข้าไปที่ อีอีซี

ด้าน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด กล่าวว่าภายหลังรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำชับให้การบินไทยพิจารณาแผนจัดหาเครื่องบิน 38 ลำอย่างรอบคอบ พร้อมตั้งคำถามของการวางแผนจัดใช้เครื่องบิน สถานะทางการเงิน และแผนต่อสู้การแข่งขันในอุตสาหกรรม เพื่อประกอบในแผนจัดหาฝูงบินดังกล่าว บอร์ดในฐานะผู้กำกับดูแลฝ่ายบริหาร ได้พิจารณาคำถามของรัฐมนตรีช่วยฯ และมีข้อกังวลเช่นเดียวกัน เพราะพบว่าสมมติฐานในการพิจารณาแผนจัดหาเครื่องบินในขณะนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป จึงมีมติให้ฝ่ายบริหารการบินไทยทบทวนแผนจัดหาฝูงบินใหม่ และนำกลับมาเสนออีกครั้งภายใน 6 เดือน

สำหรับสมมติฐานที่บอร์ดเล็งเห็นว่ามีผลกระทบต่อการทบทวนแผนจัดหาฝูงบิน มีประเด็นหลัก เช่น การทบทวนสมมติฐานใหม่ เนื่องจากแผนจัดหาฝูงบินเดิม จัดทำในช่วงที่ไม่มีผลกระทบสงครามการค้า (เทรดวอร์) แต่ปัจจุบันมีปัจจัยดังกล่าวที่กระทบต่อการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยฐานะทางการเงินที่ต้องทบทวน ปัญหาการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบิน และเส้นทางบินที่ไม่ได้รับความนิยมแล้ว ดังนั้น การทบทวนแผนจัดหาฝูงบินใหม่นี้ ไม่ได้เป็นการชะลอแผนให้ล่าช้า แต่เป็นการทบทวนให้รอบคอบ เพราะการซื้อเครื่องบินถือเป็นการลงทุน และเป็นแผนธุรกิจในระยะยาว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"