หลังจากรัฐบาลสั่งเดินหน้ามาตรการ “ชิมช้อปใช้” ด้วยวงเงินดำเนินการ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อหวังกระตุ้นการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวภายในประเทศให้คึกคักมากขึ้น โดยเริ่มเปิดให้ผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ ที่สนใจเข้าร่วมมาตรการ ทยอยลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค.2562 จนถึง 15 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่า มีกว่า 1.7 แสนร้านค้าที่เข้าร่วมมาตรการดังกล่าว
ขณะที่ในส่วนของประชาชนได้เปิดให้ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ รับเงิน 1,000 บาท ผ่านเว็บไซต์ www.ชิมช้อปใช้.com ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย.-15 พ.ย.2562 โดยเงื่อนไขคือ เปิดให้ลงทะเบียนได้วันละ 1 ล้านคนเท่านั้น โดยจะให้ลงต่อเนื่องทุกวันจนครบ 10 ล้านคน ต้องเป็นบุคคลสัญญาติไทย มีบัตรประจำตัวประชาชน มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันลงทะเบียน มีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต และมี e-mail ของตัวเอง โดยสามารถลงทะเบียนตามขั้นตอน เพื่อรับสิทธิ์ตามมาตรการชิมช้อปใช้
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า มีผู้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ตามมาตรการชิมช้อปใช้ครบจำนวนทุกวัน โดยตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค.2562 เป็นต้นมา ได้เปิดให้มีการลงทะเบียนรอบเก็บตกตามสิทธิ์ที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งล่าสุดมีผู้ได้รับสิทธิ์ใกล้ครบจำนวน 10 ล้านรายแล้ว โดยการตรวจสอบสิทธิ์ผู้ลงทะเบียน 14 วันแรกเสร็จสิ้นแล้ว มีผู้ได้รับสิทธิ์ 9,939,590 ราย ซึ่งผู้ลงทะเบียน 13 วันแรกได้รับ SMS ยืนยันสิทธิ์แล้วจำนวน 9,693,845 ราย ทั้งนี้ มีผู้เข้ายืนยันตัวตนในแอปพลิเคชันเป๋าตังแล้ว 8,854,072 ราย โดยยืนยันตัวตนสำเร็จ 7,934,311 ราย และมีผู้ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแอปพลิเคชัน 839,773 ราย
ขณะที่การใช้จ่าย 12 วันแรก มีผู้ใช้สิทธิ์จำนวน 4,535,561 ราย มีการใช้จ่ายรวม 4,296 ล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 1 ประมาณ 4,254 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายที่ร้านช้อป ซึ่งเป็นร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งร้านธงฟ้าประชารัฐ 2,416 ล้านบาท ส่วนร้านชิม หรือร้านอาหารและเครื่องดื่มมียอดใช้จ่าย 583 ล้านบาท ร้านใช้ เช่น โรงแรม โฮมสเตย์ เป็นต้น มียอดใช้จ่าย 55 ล้านบาท และร้านค้าทั่วไป มียอดใช้จ่าย 1,200 ล้านบาท และจากการตรวจสอบพบว่ามีการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาประมาณ 817 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนลดลงต่อเนื่องจาก 22% ในช่วงเริ่มต้น เป็น 19% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมด
ส่วนการใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 2 มีผู้ใช้สิทธิ์แล้ว 15,027 ราย มียอดใช้จ่ายประมาณ 42 ล้านบาท หรือเฉลี่ยรายละ 2,782 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ภายใน 5 วัน โดยเป็นการใช้จ่ายที่ร้านช้อป 27 ล้านบาท ส่วนร้านชิม มียอดใช้จ่าย 9 ล้านบาท และร้านใช้ มียอดใช้จ่าย 6 ล้านบาท
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ได้ประเมินเกี่ยวกับมาตรการชิมช้อปใช้ ว่า คาดว่าครัวเรือนไทยเกิน 1 ใน 3 หรือ 43% วางแผนที่จะใช้จ่ายมากกว่า 1,000 บาท เฉลี่ยอยู่ที่ 3,300 บาท ซึ่งครัวเรือนกลุ่มนี้มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยส่วนใหญ่วางแผนที่จะไปท่องเที่ยวและใช้จ่ายในชลบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ ขณะที่ครัวเรือนอีก 54.7% ที่ทำการสำรวจวางแผนใช้จ่ายในงบ 1,000 บาทตามสิทธิ์ที่ได้รับ
และจากการสำรวจพบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่กว่า 79.1% ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการสำเร็จ มีรายได้อยู่ในระดับปานกลางไปถึงระดับสูง ขณะที่ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย 2.7% สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการสำเร็จ ไม่เพียงเท่านี้ มองว่าผลบวกของมาตรการดังกล่าวยังคงกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่ โดยครัวเรือนไทยกว่า 38.6% มีจุดมุ่งหมายในการใช้เงิน 1,000 บาทในพื้นที่กรุงเทพฯ กับการซื้อสินค้าและบริการในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อที่เข้าร่วมมาตรการ
อย่างไรก็ดี ครัวเรือนไทยมากกว่า 78.3% ที่ทำการสำรวจ ยังมองว่ามาตรการชิมช้อปใช้ มีส่วนช่วยในการบรรเทาภาระค่าครองชีพได้ แต่ครัวเรือนส่วนใหญ่ยังอยากให้รัฐบาลมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อมุ่งแก้ปัญหาปากท้องประชาชน โดยจากการสำรวจพบว่า 31.5% ของครัวเรือนที่ทำการสำรวจอยากให้รัฐบาลช่วยลดภาระค่าครองชีพ “ด้วยวิธีการปรับลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต” และ “การช่วยพยุงค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโดยสารสาธารณะ รวมไปถึงราคาพลังงานในประเทศ)” อีกด้วย.
ครองขวัญ รอดหมวน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |