มติเอกฉันท์คณะทำงาน 4 ฝ่าย 9 ต่อ 0 ยกเลิก 3 สารเคมีเกษตรตั้งแต่ 1 ธ.ค.62 "มนัญญา" ปลื้มแจกของขวัญปีใหม่คนไทยล่วงหน้า "สุริยะ" สั่ง คกก.วัตถุอันตรายเร่งถกสัปดาห์นี้หรือต้นสัปดาห์หน้า หนุนลงมติเปิดเผย ทีมเศรษฐกิจ ปชป.ยัน "เฉลิมชัย"-พรรคไม่เอาสารพิษ ขอโทษแจงช้าไป
ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาความเห็นของส่วนรัฐ ผู้นำเข้า เกษตรกร และผู้บริโภคต่อการยกเลิกสารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต, คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติ 9 ต่อ 0 ให้แบนสารเคมีทั้งสาม โดยจะเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาให้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดซึ่งอยู่ในบัญชีประเภทที่ 3 ไปอยู่ในบัญชีประเภทที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.62 ซึ่งจะเป็นผลให้ห้ามครอบครอง ห้ามจำหน่าย ห้ามนำเข้า ห้ามผลิต
โดยหลังจากนี้จะนำมติให้กรรมการทุกคนลงนามรับทราบผลประชุม เพื่อแจ้งนายกรัฐมนตรีภายใน 1-2 วันนี้ และหลังจากนั้นนำเสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งเดิมมีกำหนดประชุมวันที่ 27 ต.ค. แต่เมื่อคณะทำงาน 4 ฝ่ายมีข้อยุติในวันนี้ คาดว่าคณะกรรมการฯ อาจเลื่อนการประชุมชี้ขาดเร็วขึ้น
น.ส.มนัญญากล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายจะมีการพิจารณาลงมติไม่ว่าจะเปิดเผยหรือโดยลับก็ตาม แต่ในส่วนของผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมเปิดเผยชื่อแสดงตัวต่อสาธารณะ เพราะฉะนั้นเรื่องที่จะไปละเมิดการลงมติไม่ได้เป็นประเด็น ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรมีรายละเอียดครบสมบูรณ์ในเรื่องสารทดแทน วิธีการทำเกษตรทดแทน ซึ่งต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยยังมีสารเคมีอีกหลายชนิดที่ยังใช้กันอยู่ทั่วไป เพียงแต่วันนี้เราพบว่า 3 สารนี้เป็นพิษร้ายแรงอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม จึงยกเลิกการใช้ทันที และหากในอนาคตพบว่าสารเคมีตัวอื่นที่มีอยู่ในท้องตลาดหลายยี่ห้อมีความเป็นพิษสูงก็จะเสนอยกเลิกตามลำดับไป
ส่วนสารทดแทนหรือวิธีการทดแทนมีผลกำจัดศัตรูพืช เพียงแต่ไม่รวดเร็วทันใจที่ราดหญ้าฆ่าแมลงแล้วตายทันทีเหมือน 3 สารนี้ โดยสารตัวอื่นอาจจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย กว่าจะตายอาจช้าไป 3-5 ชั่วโมง แต่ไม่เป็นอันตรายไม่มีความเป็นพิษสูงเท่า 3 ตัวนี้ ทั้งนี้เกษตรกรก็รู้วิธีแบบดั้งเดิมทำอย่างไร และรู้ว่ามีสารอะไรให้ใช้แทนอยู่แล้ว ถ้าไม่มีพาราควอต, ไกลโฟเซต, คลอร์ไพริฟอส เพราะฉะนั้นเรื่องต้นทุนจึงไม่เป็นปัญหา
รมช.เกษตรฯ ยังปฏิเสธว่าไม่มีการเปิดทางให้นายทุนพรรค หรือมีนายทุนรายใหญ่ที่จะรอนำเข้าสารทดแทนตัวใหม่เข้ามาในประเทศไทย เหมือนที่มีการกล่าวหาพรรคภูมิใจไทย อีกทั้งกระบวนการขอนำเข้าสารทำไม่ได้ในทันที เพราะต้องมีระยะการพิสูจน์พิษวิทยาและการขออนุญาตทำตามกฎหมายของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วัตถุอันตราย ดังนั้นอย่าห่วงเรื่องเจ้าสัวนำเข้าสารตัวใหม่ และไม่มีการตัดตอนบริษัทนำเข้า 3 สาร เพราะทั่วโลกแบนกัน 58 ประเทศแล้ว
"มติครั้งนี้ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทยทั้งประเทศ ซึ่งปกติของขวัญปีใหม่เป็นวันที่ 1 ม.ค. แต่ในวันนี้รัฐบาลให้เป็นของขวัญกับประชาชนทันที เพราะต่อไปตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. คนไทยไปเที่ยวที่ไหน มีพืชพันธุ์ธัญญาหารปลอดภัย อากาศบริสุทธิ์ให้กับสุขภาพคนไทย ในเรื่องนี้อธิบดี คณะกรรมการ ไม่ต้องกลัวว่าต้องขึ้นศาล เพราะถ้าต้องขึ้นดิฉันจะไปด้วย เพราะเราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งในวันนี้ดิฉันมีความพอใจระดับหนึ่ง แต่หน้าที่ยังไม่จบ ต้องอีก 3-4 วันถึงจะสำเร็จ ถือเป็นชัยชนะของคนไทยร่วมกัน" น.ส.มนัญญาระบุ
สำหรับคณะกรรมการเป็นการตั้งตามคำบัญชานายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย น.ส.มนัญญา ประธานคณะทำงาน, นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ ประธานคณะที่ปรึกษา รมช. เป็นกรรมการ, น.ส.เสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร, นายอัคคพล เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร, แพทย์หญิงสุมณี วัชรสินธุ์ รักษาการนายแพทย์เชี่ยวชาญ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, แพทย์หญิงศุลีกร ธนธิติกร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กรมควบคุมโรค, น.ส.บุญยืน ศิริธรรม นายกสมาคมสหพันธุ์องค์กรผู้บริโภค, น.ส.สุภาวดี ทับทิม ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ สังกัดนิคม ชะอำ เพชรบุรี, น.ส.เสาวลักษณ์ พรกุลวัฒน์ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย, นางวิไลวรรณ พรหมคำ ผอ.สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชกรมวิชาการเกษตร, นายมนตรี ปาป้อง นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการ กรมส่งเสริมสหกรณ์, น.ส.นัชชา ช่อมะลิ เลขานุการคณะที่ปรึกษา รมช.เกษตรฯ ทั้งนี้สมาคมอารักขาพืชได้มีหนังสือแจ้งที่ประชุมว่าไม่ได้เข้าร่วม ติดภารกิจต่างประเทศ และไม่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะทำงาน 4 ฝ่ายใช้เวลาในการประชุมกว่า 2 ชั่วโมง โดยไม่ให้สื่อเข้าร่วมด้วย โดยระบุว่าจะเชิญเข้ามาตอนประชุมเสร็จเพื่อให้มาสังเกตการคณะทำงานคนไหนโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หลังการประชุม น.ส.มนัญญาได้ให้ที่ประชุมแสดงความเห็นต่อหน้าสื่อและโหวตเรียงบุคคล อย่างไรก็ตาม สื่อจับตาเป็นพิเศษกับท่าทีของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรที่ก่อนหน้านี้ระบุต้องยืนตามหลักวิชาการ แต่สุดท้ายก็โหวตเห็นด้วย
ทางด้านนายสุริยะ? จึง?รุ่งเรือง?กิจ? รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม? กล่าวก่อนการประชุมคณะทำงาน 4 ฝ่ายว่า กระทรวงอุตสาหกรรม?และผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม?ที่อยู่ในคณะกรรมการ?วัตถุอันตรายชัดเจนว่าต้องการให้ยกเลิกการใช้? ซึ่งหากผลการประชุมของคณะทำงาน 4 ฝ่ายออกมาอย่างไร จะให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม?ในฐานะประธานคณะกรรมการ?วัตถุ?อันตราย?นำเรื่องเข้าที่ประชุมและลงมติ? โดยหากมีมติเสนอให้ยกเลิกการใช้ภายในวันนี้และเสนอมายังกระทรวงอุตสาหกรรม?ในวันที่? 8? ต.ค.? คาดว่าภายในสัปดาห์นี้หรืออย่างช้าต้นสัปดาห์หน้าจะสามารถประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพื่อพิจารณา?เรื่องดังกล่าวได้? ยืนยันไม่มีการดึงเรื่อง?และเชื่อว่าคณะกรรมการฯ ?จะมีมติยกเลิกการใช้?
ส่วนที่นายอนุทิน? ชาญ?วี?รกูล? รองนายก?รัฐมนตรี?และ ?รมว.?สาธารณสุข? อยากให้คณะกรรมการฯ ลงมติอย่างเปิดเผยนั้น? ไม่มีปัญหาอะไร?เรื่องนี้ไม่มีวาระซ่อนเร้น? การเปิดเผยจึงเป็นเรื่องที่ดี? เชื่อมั่นว่า?การยกเลิกการใช้สารเคมีครั้งนี้?จะสำเร็จ
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ แถลงว่า พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายและยืนยันตั้งแต่ต้นว่าเห็นด้วยในการยกเลิกสารเคมีเกษตรทั้ง 3 ชนิด ซึ่งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ก็เห็นด้วย อีกทั้งยังไปไกลกว่าการยกเลิกแล้ว เพราะเรามีแนวคิดทำเกษตรอินทรีย์ และจะใช้สารออร์แกนิกทดแทนสารเคมีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การที่นายเฉลิมชัยไม่ออกมาพูดให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น เพราะเมื่อแบ่งงานของกระทรวง โดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตรให้ น.ส.มนัญญาไปแล้ว จึงไม่อยากทำอะไรที่เป็นการก้าวก่ายหรือล้วงลูก เพราะหากนายเฉลิมชัยต่อต้านคงคัดค้านเรื่องนี้ตั้งแต่แรก แต่ความจริงนายเฉลิมสนับสนุนให้ น.ส.มนัญญาทำงาน
ทั้งนี้จากการพูดคุยกับนายเฉลิมชัยเกี่ยวกับสารที่ต้องนำมาทดแทน หากยกเลิก 3 สารดังกล่าวแล้วจะต้องมีการเยียวยาเกษตรกร โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเป็นผู้ดำเนินการ คือการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ รวมถึงเครื่องมือที่จะนำมาขจัดวัชพืชทดแทนสารเคมี ซึ่งขณะนี้มีบริษัทที่ได้ทำการทดลองสารทดแทนแล้ว 32 ตัว แต่ยอมรับว่าสารที่จะนำมาทดแทนนั้นมีราคาแพงกว่าสารที่ใช้ในปัจจุบันสองเท่า ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ต้องรับไปดำเนินการว่าจะชดเชยหรือเยียวยาอย่างไร
"ขอยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนและเห็นด้วยที่ให้มีการยกเลิกสารพิษทั้ง 3 ชนิด แต่ก็ขอโทษที่ออกมาชี้แจงช้าไป เพราะเราคิดว่าการกระทำสำคัญกว่าการพูด และคิดว่าจะพูดเมื่อผลสำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วที่นายเฉลิมชัยเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายลงคะแนนอย่างเปิดเผย" นายปริญญ์ระบุ
ที่รัฐสภา นพ.อำพล จินดาวัฒนะ และนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ส.ว.แถลงจุดยืนและเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกสารเคมีเกษตรทั้ง 3 ชนิด โดย นพ.อำพลกล่าวว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลตัดสินใจอย่างเป็นเอกภาพในการยกเลิก 3 สารดังกล่าวที่ยืดเยื้อมาหลายปี โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาสารเคมีป้องกันจำกัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยง เคยเสนอให้ยกเลิกตั้งแต่เดือน เม.ย.60 แล้ว จากข้อมูลเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้ไม่ใช่แค่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม ในผลิตภัณฑ์เกษตรอาหารการกินเท่านั้น แต่ยังเข้าสู่ทารกในครรภ์มารดาส่งผลเสียถึงผู้คนในรุ่นต่อๆ ไปด้วย
นายสังศิตกล่าวว่า ในช่วงบ่ายตนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมลํ้า จะขอมติของคณะกรรมาธิการฯ ให้อนุกรรมาธิการศึกษาเรื่องนี้ทันที ซึ่งได้ผลักดันเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2540 หากรัฐบาลไม่ใช้ความกล้าหาญหยุดเรื่องนี้ ประเทศจะเสียหายไม่มีที่สิ้นสุด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |