อีอีซีเกิดแน่ แต่การจะดึงนักลงทุนให้มามากก็ต้องให้เยอะกว่าเวียดนาม แต่จะให้อะไรได้มากกว่า อาจจะให้เงินอุดหนุน หรือร่วมลงทุน ให้ใช้พื้นที่ยาวนานมากกว่า เพื่อให้ความมั่นใจในการลงทุนระยะยาว ใส่โครงสร้างสร้างพื้นฐานเต็มที่ การเข้ามาลงทุนในไทยแพงกว่าแน่นอน แต่หากต้องการที่จะได้ฝีมือแรงงานและการสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องมาลงทุนที่เมืองไทย
อุดช่องโหว่ดูดลงทุนอีอีซี
การลงทุนขนาดใหญ่จากผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ย่อมทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าหนึ่งในโครงการของรัฐบาลที่พยายามขับผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง คงเป็นโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ซึ่งต้องยอมรับว่าก็มีทั้งปัจจัยบวกที่จะช่วยขับเคลื่อนให้โครงการฯ เกิดขึ้นได้จริง แต่ขณะเดียวกันก็ย่อมมีความท้าทายที่จะดึงนักลงทุนเข้ามาในเมืองไทยอยู่เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเนื้อหอมของประเทศเพื่อนบ้าน ที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยเข้าไปสร้างฐานการผลิตมากขึ้น
(ณัฐพล คำถาเครือ)
อีอีซีเกิดแน่
นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บริษัท หลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เรื่องของเขตเศรษฐกิจจะมีสองเงื่อนไขเข้ามาเกี่ยวข้อง ประการแรกเลยจะเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานว่าตอบโจทย์มากน้อยเพียงไร ประการต่อมาคงหนีไม่พ้นเรื่องของแรงงานที่สามารถรองรับได้เพียงพอต่อความต้องการหรือเปล่า และระดับค่าแรงเป็นเช่นไร ซึ่งดูแล้วประเทศไทยอาจจะยังไม่ตอบโจทย์เรื่องของแรงงานมากนัก เนื่องจากมีการจ้างงานที่ค่อนข้างแพง ขณะเดียวกันหลังจบการศึกษาก็มักจะเห็นว่าประชากรเรียนมาแล้วไม่ตอบโจทย์กับที่ตลาดต้องการ ทำให้ภาครัฐพยายามพูดเรื่องการศึกษาที่ต่อไปอาจไม่เน้นดีกรีแล้ว แต่เน้นที่เรียนแล้วจบมามีงานทำแน่นอน
แม้ว่าเรื่องแรงงานอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน แต่โครงสร้างพื้นฐานต้องมาก่อน ถามว่าโครงสร้างพื้นฐานตอนนี้ของประเทศไทยรองรับการลงทุนในเขตอีอีซีไหม ก็ต้องบอกว่าสามารถตอบโจทย์ได้ในระดับหนึ่ง แต่หากว่านักลงทุนเข้ามาเยอะก็ต้องขยายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง ทางด่วนที่จะเชื่อมไปที่หน้านิคมอุตสาหกรรม หรือสนามบินอู่ตะเภา น่าจะเห็นการอนุมัติทันในรัฐบาลชุดนี้
“รัฐบาลได้เดินหน้าอีอีซีมาแล้ว และขึ้นชื่อว่าเป็นของเขา ก็คงไม่อยากให้ตกไปอยู่ในมือคนอื่น ก็คงต้องเสร็จในรัฐบาลชุดนี้ หมายถึงว่ามีอะไรต้องทุ่มให้หมด นั่นเป็นที่มาว่าเวียดนามให้อะไร ต้องให้มากกว่า แต่มองว่าคงให้มากกว่าไม่ได้ เนื่องจากเวียดนามมีค่าแรงราคาถูกกว่าเมืองไทยครึ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันเวียดนามมีเอฟทีเอ แต่ประเทศไทยโดนตัดสิทธิ์ หน้าที่เราคือการไปขอใหม่เป็นรายประเทศ โดยเวียดนามใช้ระยะเวลา 5 ปีในการไล่ขอแต่ละประเทศ ซึ่งเมืองไทยก็คงไม่แตกต่างกัน แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการที่ลงทุนอยู่แล้ว จะยังคงไม่ไปไหน โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ ก็คงจะมีเม็ดเงินการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากให้สิทธิประโยชน์ที่มากขึ้น หากให้เลือกระหว่างให้เขาย้ายฐานกับอยู่ที่เดิมแต่ได้สิทธิมากขึ้น ที่แม้จะแพงกว่าเดิมนิดหน่อย เชื่อว่าเขาเลือกที่เดิม”
หากมองในแง่สิทธิประโยชน์ที่ให้แก่นักลงทุนเท่ากันระหว่างประเทศไทยและเวียดนาม ก็ต้องมาดูในเรื่องภูมิศาสตร์ อย่างประเทศเวียดนามมีเขตติดกับประเทศจีน แต่หากมองลงมาด้านล่างจะพบว่าประเทศได้เปรียบ เพราะได้ประเทศอินเดียด้วย หากมองเส้นที่เชื่อมกันวันเบลต์ วันโรด สุดท้ายต้องมีมาทางประเทศไทยบ้าง การจะจูงใจให้ย้ายจากเวียดนามมาในทันที มองว่าอาจจะยากนิดหนึ่ง ต้องให้สิทธิประโยชน์เยอะมาก และเรื่องของที่ดินก็คงยาก ซึ่งเดิมทีเมืองไทยเคยให้ดีกว่า หรือสามารถมาลงทุนแล้วซื้อ ส่วนของเวียดนามต้องเช่าระยะยาว แต่ตอนนี้ได้เปิดสิทธิ์ให้ซื้อได้ ดังนั้นตอนนี้เรื่องของที่ดินก็ไม่ได้แตกต่างกัน แต่ต่างกันที่ค่าแรง ซึ่งไม่สามารถลดได้
สร้างจีดีพีโตดึงนักลงทุน
ณัฐพล กล่าวว่า การขยายตัวจีดีพีของเวียดนามตอนนี้ดีกว่าประเทศไทย ซึ่งเมืองไทยต้องทำให้การบริโภคภายในประเทศกลับมา เพื่อทำให้จีดีพีขยายตัว เพราะนักลงทุนที่จะเข้ามาตั้งฐานการผลิต ไม่ได้มองว่าจะส่งออกอย่างเดียว แต่ต้องมองตลาดในประเทศว่ามีกำลังซื้อมากพอไหมอีกด้วย ก่อนหน้าประเทศไทยเคยมีกำลังซื้อ ตอนนี้ลดลงไป
สำหรับข้อได้เปรียบของไทยเมื่อเทียบกับเวียดนาม อย่างแรกเลยคือโครงสร้างพื้นฐานของไทยที่สามารถเชื่อมโยงไปทางเหนือที่ติดต่อกับประเทศจีน หรือลงไปใต้ รวมถึงท่าเรือ และถนนดีกว่า ขณะที่ทักษะฝีมือแรงงานดีกว่า งานละเอียด ซึ่งจริงๆ แล้วกำลังซื้อในประเทศเฉพาะอุตสาหกรรมหนักก็ไม่แย่ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบ แต่จีดีพีก็ยังอยู่ระดับ 2-3% เพราะเป็นเมืองนักท่องเที่ยว อยู่ได้ด้วยตัวเองที่ไม่ได้พึ่งข้างนอกมากนัก ส่วนข้อเสียเปรียบคือค่าแรงและสิทธิประโยชน์เรื่องการเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปยังประเทศอื่น แน่นอนว่าค่าแรงของไทยแก้ไม่ได้ แต่สุดท้ายค่าแรงของเวียดนามจะต้องขึ้นมาเช่นเดียวกัน เนื่องจากการที่ไม่เคยเป็นแหล่งผลิตแล้วมาเป็นแหล่งผลิต ซึ่งกำลังแรงงานเวียดนามเยอะมาก ผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนคือต้องการแรงงานรองรับการผลิต แต่พอเข้าไปเยอะ แรงงานก็ต้องถูกซื้อตัว และใครให้มากกว่าก็จะถูกเลือก
“รัฐบาลพยายามให้เราเป็นประเทศศูนย์กลางทางการเงินและแหล่งผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้มองสินค้าธรรมดา ต้องเป็นสินค้าที่เหมาะกับค่าแรง การลดภาษีในตอนนี้คือการรักษาผู้ประกอบการที่ลงทุนในไทยอย่าเพิ่งไป ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มมีไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มที่มาร์จิ้นน้อยในคอนซูเมอร์โปรดักต์ หาทางรอดไม่ได้นอกจากการลดต้นทุนอย่างเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า”
ณัฐพล กล่าวเสริมอีกว่า อีอีซีเกิดแน่ แต่การจะดึงนักลงทุนให้มามากก็ต้องให้เยอะกว่าเวียดนาม แต่จะให้อะไรได้มากกว่า อาจจะให้เงินอุดหนุน หรือร่วมลงทุน ให้ใช้พื้นที่ยาวนานมากกว่า เพื่อให้ความมั่นใจในการลงทุนระยะยาว ใส่โครงสร้างสร้างพื้นฐานเต็มที่ การเข้ามาลงทุนในไทยแพงกว่าแน่นอน แต่หากต้องการที่จะได้ฝีมือแรงงานและการสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องมาลงทุนที่เมืองไทย
มุมมองเศรษฐกิจไทย
สถานการณ์ในปีนี้คงคาดหวังลำบาก เนื่องจากครึ่งปีแรกใช้เวลาเลือกตั้งพอสมควร ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐิจของภารรัฐที่ออกมา กว่าจะเห็นผลคงเป็นไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้จีดีพีที่เห็นครึ่งปีแรก 2.6% โอกาสจะไปถึง 3%% ค่อนจ้างยาก แต่คงไม่หลุดจากตรงนี้ หรืออยู่ที่ประมาณ 2.8-3% ซึ่งไตรมาส 3 น่าจะดีขึ้นจากไตรมาส 2 นิดหน่อย จะเห็นการฟื้นตัวแบบเร่งตัวขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นวีเชฟ จะยังคงเป็นลักษณะยูเชฟมากกว่า
ด้านภาคการบริโภคต้องบอกว่ายังชะลอตัวอยู่ ยอดการปล่อยสินเชื่อก็เติบโตลดลง และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ต่ำสุดในรอบ 33 เดือน นับเป็นตัวสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจน ส่วนภาคการลงทุนยังขยับอะไรมากไม่ได้ เนื่องจากติดเรื่องของงบประมาณประจำปี 2563 ซึ่งอาจจะล่าช้ากว่าปกติ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะยอมเสียวินัยทางการคลังไหม การที่จะออกบอนด์และก่อหนี้เพิ่ม ซึ่งระดับ 40% ของจีดีพีไม่ได้เยอะมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ถ้าหากทำแล้วก็เกรงว่าอาจจะเป็นรัฐบาลชุดแรกที่หนี้สูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย แต่หากยอมนิดหน่อยเรื่องการลงทุนต่างๆ ก็คงไม่ต้องรอไปถึงปีหน้า เพราะตอนนี้ติดเรื่องงบประมาณที่กว่าจะใช้ได้ก็ปลายเดือน ม.ค.2563 การลงทุนต่างๆ จะล่าช้า หุ้นกลุ่มรับเหมา การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ก็จะชะลอตัวลงไปในช่วงนี้
ณัฐพล กล่าวว่า การส่งออกหลายคนอาจจะมองลบ แต่ส่วนตัวแล้วไม่ได้มองลบมาก เพราะเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐคิดว่าจบไปแล้ว สุดท้ายจะมีการผ่อนปรนเป็นรายสินค้า เพื่อมีผลต่อการเลือกตั้ง เชื่อว่าปีหน้าการส่งออกจะดีกว่าปีนี้ อย่างน้อยคอนเทนต์เอเชียจะเริ่มเกิด เนื่องจากการที่จีนจะส่งสินค้าไปอเมริกาและนำเข้าจากอเมริกา ก็ยังมีการขัดแข้งกันอยู่ บางส่วนที่ยังคงติดเรื่องของภาษี สินค้าบางอย่างก็ต้องซื้อในราคาแพงขึ้น จากเดิมที่ถูกกว่านี้ การค้าขายในภูมิภาคนี้จะดีขึ้น จะทำให้ยอดการส่งออกที่ติดลบเยอะปี 2562 นี้ มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นในปีหน้า
การท่องเที่ยวก็เชื่อว่าภาครัฐมีกระสุนที่ยังไม่ทำ ในเรื่องของฟรีวีซ่า แม้ว่าการต่อ visa on arrival ก็ฟรีเหมือนกัน แต่ต้องยุ่งยากเมื่อมาหน้าด่านให้ตรวจสอบ หรืออยากให้เป็นเหมือนที่คนไทยไปประเทศญี่ปุ่น จากก่อนหน้าคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นปีละ 3 แสนคน พอปีที่แล้วเป็นล้านคน ขณะที่เรื่องค่าเงินของไทยเองก็แพงกว่าในภูมิภาค 7% แต่เมื่อเทียบกับหยวนแพงกว่า 10% ซึ่งหากจ่ายแพงกว่า 10% ก็อาจจะไปเวียดนามดีกว่า
“นโยบายรัฐและค่าเงินจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นท่องเที่ยว แต่ธรรมชาติของเศรษฐกิจ เมื่อคนมาเที่ยวไม่เยอะ การส่งออกของประเทศไทยติดลบ สุดท้ายค่าเงินทนไม่ได้ก็ต้องอ่อนลงโดยธรรมชาติ บ้านเราเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะขายแบบไหน หากค่าเงินเริ่มกลับสู่จุดสมดุล ปีหน้าก็น่าจะมีเรื่องฟรีวีซ่าและอเมซิ่งไทยแลนด์ที่ต้องกลับมา ต้องทำเป็นอภิมหาโปรเจ็กต์ ตอนนี้เราอยู่ในจุดที่ว่าดีก็ได้ เพราะแม้มันจะแย่แต่ก็สามารถเตรียมตัวทำอะไรให้ดีได้”
อย่างไรก็ดี ไตรมาสแรกปีหน้าเงินถึงจะหมุนเวียนมาสู่ประชาชน เริ่มมีการใช้จ่ายมากขึ้น และการที่เอกชนจะมีการลงทุนตามมา สรุปแล้วประเทศไทยอยู่ในช่วงที่เป็น Bottom ของเศรษฐกิจ เพราะตลาดหุ้นเองก็ใกล้เช่นกัน ซึ่งตลาดหุ้นจะเกิดปฏิกิริยาก่อนเศรษฐกิจ เลยมองว่าหุ้นต่อจากนี้จนถึงไตรมาส 4 ก็จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น และพอมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มคุยกับประเทศไทยมากขึ้น จากเดิมยุโรปและอเมริกาอาจจะไม่เจรจากับไทย หันไปคุยกับเวียดนามแทน เมืองไทยได้แค่คุยกับจีน ตอนนี้ทั้งสองทวีปน่าจะเปิดใจคุยกับประเทศไทยมากขึ้น.
07n066 รายงานอีอีซี หน้า 6 ออกวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562
ดึงโปรย ๐ อีอีซีเกิดแน่ แต่การจะดึงนักลงทุนให้มามากก็ต้องให้เยอะกว่าเวียดนาม แต่จะให้อะไรได้มากกว่า อาจจะให้เงินอุดหนุน หรือร่วมลงทุน ให้ใช้พื้นที่ยาวนานมากกว่า เพื่อให้ความมั่นใจในการลงทุนระยะยาว ใส่โครงสร้างสร้างพื้นฐานเต็มที่ การเข้ามาลงทุนในไทยแพงกว่าแน่นอน แต่หากต้องการที่จะได้ฝีมือแรงงานและการสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องมาลงทุนที่เมืองไทย
อุดช่องโหว่ดูดลงทุนอีอีซี
การลงทุนขนาดใหญ่จากผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ย่อมทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าหนึ่งในโครงการของรัฐบาลที่พยายามขับผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง คงเป็นโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ซึ่งต้องยอมรับว่าก็มีทั้งปัจจัยบวกที่จะช่วยขับเคลื่อนให้โครงการฯ เกิดขึ้นได้จริง แต่ขณะเดียวกันก็ย่อมมีความท้าทายที่จะดึงนักลงทุนเข้ามาในเมืองไทยอยู่เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเนื้อหอมของประเทศเพื่อนบ้าน ที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยเข้าไปสร้างฐานการผลิตมากขึ้น
อีอีซีเกิดแน่
นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บริษัท หลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เรื่องของเขตเศรษฐกิจจะมีสองเงื่อนไขเข้ามาเกี่ยวข้อง ประการแรกเลยจะเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานว่าตอบโจทย์มากน้อยเพียงไร ประการต่อมาคงหนีไม่พ้นเรื่องของแรงงานที่สามารถรองรับได้เพียงพอต่อความต้องการหรือเปล่า และระดับค่าแรงเป็นเช่นไร ซึ่งดูแล้วประเทศไทยอาจจะยังไม่ตอบโจทย์เรื่องของแรงงานมากนัก เนื่องจากมีการจ้างงานที่ค่อนข้างแพง ขณะเดียวกันหลังจบการศึกษาก็มักจะเห็นว่าประชากรเรียนมาแล้วไม่ตอบโจทย์กับที่ตลาดต้องการ ทำให้ภาครัฐพยายามพูดเรื่องการศึกษาที่ต่อไปอาจไม่เน้นดีกรีแล้ว แต่เน้นที่เรียนแล้วจบมามีงานทำแน่นอน
แม้ว่าเรื่องแรงงานอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน แต่โครงสร้างพื้นฐานต้องมาก่อน ถามว่าโครงสร้างพื้นฐานตอนนี้ของประเทศไทยรองรับการลงทุนในเขตอีอีซีไหม ก็ต้องบอกว่าสามารถตอบโจทย์ได้ในระดับหนึ่ง แต่หากว่านักลงทุนเข้ามาเยอะก็ต้องขยายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง ทางด่วนที่จะเชื่อมไปที่หน้านิคมอุตสาหกรรม หรือสนามบินอู่ตะเภา น่าจะเห็นการอนุมัติทันในรัฐบาลชุดนี้
“รัฐบาลได้เดินหน้าอีอีซีมาแล้ว และขึ้นชื่อว่าเป็นของเขา ก็คงไม่อยากให้ตกไปอยู่ในมือคนอื่น ก็คงต้องเสร็จในรัฐบาลชุดนี้ หมายถึงว่ามีอะไรต้องทุ่มให้หมด นั่นเป็นที่มาว่าเวียดนามให้อะไร ต้องให้มากกว่า แต่มองว่าคงให้มากกว่าไม่ได้ เนื่องจากเวียดนามมีค่าแรงราคาถูกกว่าเมืองไทยครึ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันเวียดนามมีเอฟทีเอ แต่ประเทศไทยโดนตัดสิทธิ์ หน้าที่เราคือการไปขอใหม่เป็นรายประเทศ โดยเวียดนามใช้ระยะเวลา 5 ปีในการไล่ขอแต่ละประเทศ ซึ่งเมืองไทยก็คงไม่แตกต่างกัน แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการที่ลงทุนอยู่แล้ว จะยังคงไม่ไปไหน โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ ก็คงจะมีเม็ดเงินการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากให้สิทธิประโยชน์ที่มากขึ้น หากให้เลือกระหว่างให้เขาย้ายฐานกับอยู่ที่เดิมแต่ได้สิทธิมากขึ้น ที่แม้จะแพงกว่าเดิมนิดหน่อย เชื่อว่าเขาเลือกที่เดิม”
หากมองในแง่สิทธิประโยชน์ที่ให้แก่นักลงทุนเท่ากันระหว่างประเทศไทยและเวียดนาม ก็ต้องมาดูในเรื่องภูมิศาสตร์ อย่างประเทศเวียดนามมีเขตติดกับประเทศจีน แต่หากมองลงมาด้านล่างจะพบว่าประเทศได้เปรียบ เพราะได้ประเทศอินเดียด้วย หากมองเส้นที่เชื่อมกันวันเบลต์ วันโรด สุดท้ายต้องมีมาทางประเทศไทยบ้าง การจะจูงใจให้ย้ายจากเวียดนามมาในทันที มองว่าอาจจะยากนิดหนึ่ง ต้องให้สิทธิประโยชน์เยอะมาก และเรื่องของที่ดินก็คงยาก ซึ่งเดิมทีเมืองไทยเคยให้ดีกว่า หรือสามารถมาลงทุนแล้วซื้อ ส่วนของเวียดนามต้องเช่าระยะยาว แต่ตอนนี้ได้เปิดสิทธิ์ให้ซื้อได้ ดังนั้นตอนนี้เรื่องของที่ดินก็ไม่ได้แตกต่างกัน แต่ต่างกันที่ค่าแรง ซึ่งไม่สามารถลดได้
สร้างจีดีพีโตดึงนักลงทุน
ณัฐพล กล่าวว่า การขยายตัวจีดีพีของเวียดนามตอนนี้ดีกว่าประเทศไทย ซึ่งเมืองไทยต้องทำให้การบริโภคภายในประเทศกลับมา เพื่อทำให้จีดีพีขยายตัว เพราะนักลงทุนที่จะเข้ามาตั้งฐานการผลิต ไม่ได้มองว่าจะส่งออกอย่างเดียว แต่ต้องมองตลาดในประเทศว่ามีกำลังซื้อมากพอไหมอีกด้วย ก่อนหน้าประเทศไทยเคยมีกำลังซื้อ ตอนนี้ลดลงไป
สำหรับข้อได้เปรียบของไทยเมื่อเทียบกับเวียดนาม อย่างแรกเลยคือโครงสร้างพื้นฐานของไทยที่สามารถเชื่อมโยงไปทางเหนือที่ติดต่อกับประเทศจีน หรือลงไปใต้ รวมถึงท่าเรือ และถนนดีกว่า ขณะที่ทักษะฝีมือแรงงานดีกว่า งานละเอียด ซึ่งจริงๆ แล้วกำลังซื้อในประเทศเฉพาะอุตสาหกรรมหนักก็ไม่แย่ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบ แต่จีดีพีก็ยังอยู่ระดับ 2-3% เพราะเป็นเมืองนักท่องเที่ยว อยู่ได้ด้วยตัวเองที่ไม่ได้พึ่งข้างนอกมากนัก ส่วนข้อเสียเปรียบคือค่าแรงและสิทธิประโยชน์เรื่องการเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปยังประเทศอื่น แน่นอนว่าค่าแรงของไทยแก้ไม่ได้ แต่สุดท้ายค่าแรงของเวียดนามจะต้องขึ้นมาเช่นเดียวกัน เนื่องจากการที่ไม่เคยเป็นแหล่งผลิตแล้วมาเป็นแหล่งผลิต ซึ่งกำลังแรงงานเวียดนามเยอะมาก ผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนคือต้องการแรงงานรองรับการผลิต แต่พอเข้าไปเยอะ แรงงานก็ต้องถูกซื้อตัว และใครให้มากกว่าก็จะถูกเลือก
“รัฐบาลพยายามให้เราเป็นประเทศศูนย์กลางทางการเงินและแหล่งผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้มองสินค้าธรรมดา ต้องเป็นสินค้าที่เหมาะกับค่าแรง การลดภาษีในตอนนี้คือการรักษาผู้ประกอบการที่ลงทุนในไทยอย่าเพิ่งไป ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มมีไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มที่มาร์จิ้นน้อยในคอนซูเมอร์โปรดักต์ หาทางรอดไม่ได้นอกจากการลดต้นทุนอย่างเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า”
ณัฐพล กล่าวเสริมอีกว่า อีอีซีเกิดแน่ แต่การจะดึงนักลงทุนให้มามากก็ต้องให้เยอะกว่าเวียดนาม แต่จะให้อะไรได้มากกว่า อาจจะให้เงินอุดหนุน หรือร่วมลงทุน ให้ใช้พื้นที่ยาวนานมากกว่า เพื่อให้ความมั่นใจในการลงทุนระยะยาว ใส่โครงสร้างสร้างพื้นฐานเต็มที่ การเข้ามาลงทุนในไทยแพงกว่าแน่นอน แต่หากต้องการที่จะได้ฝีมือแรงงานและการสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องมาลงทุนที่เมืองไทย
มุมมองเศรษฐกิจไทย
สถานการณ์ในปีนี้คงคาดหวังลำบาก เนื่องจากครึ่งปีแรกใช้เวลาเลือกตั้งพอสมควร ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐิจของภารรัฐที่ออกมา กว่าจะเห็นผลคงเป็นไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้จีดีพีที่เห็นครึ่งปีแรก 2.6% โอกาสจะไปถึง 3%% ค่อนจ้างยาก แต่คงไม่หลุดจากตรงนี้ หรืออยู่ที่ประมาณ 2.8-3% ซึ่งไตรมาส 3 น่าจะดีขึ้นจากไตรมาส 2 นิดหน่อย จะเห็นการฟื้นตัวแบบเร่งตัวขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นวีเชฟ จะยังคงเป็นลักษณะยูเชฟมากกว่า
ด้านภาคการบริโภคต้องบอกว่ายังชะลอตัวอยู่ ยอดการปล่อยสินเชื่อก็เติบโตลดลง และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ต่ำสุดในรอบ 33 เดือน นับเป็นตัวสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจน ส่วนภาคการลงทุนยังขยับอะไรมากไม่ได้ เนื่องจากติดเรื่องของงบประมาณประจำปี 2563 ซึ่งอาจจะล่าช้ากว่าปกติ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะยอมเสียวินัยทางการคลังไหม การที่จะออกบอนด์และก่อหนี้เพิ่ม ซึ่งระดับ 40% ของจีดีพีไม่ได้เยอะมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ถ้าหากทำแล้วก็เกรงว่าอาจจะเป็นรัฐบาลชุดแรกที่หนี้สูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย แต่หากยอมนิดหน่อยเรื่องการลงทุนต่างๆ ก็คงไม่ต้องรอไปถึงปีหน้า เพราะตอนนี้ติดเรื่องงบประมาณที่กว่าจะใช้ได้ก็ปลายเดือน ม.ค.2563 การลงทุนต่างๆ จะล่าช้า หุ้นกลุ่มรับเหมา การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ก็จะชะลอตัวลงไปในช่วงนี้
ณัฐพล กล่าวว่า การส่งออกหลายคนอาจจะมองลบ แต่ส่วนตัวแล้วไม่ได้มองลบมาก เพราะเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐคิดว่าจบไปแล้ว สุดท้ายจะมีการผ่อนปรนเป็นรายสินค้า เพื่อมีผลต่อการเลือกตั้ง เชื่อว่าปีหน้าการส่งออกจะดีกว่าปีนี้ อย่างน้อยคอนเทนต์เอเชียจะเริ่มเกิด เนื่องจากการที่จีนจะส่งสินค้าไปอเมริกาและนำเข้าจากอเมริกา ก็ยังมีการขัดแข้งกันอยู่ บางส่วนที่ยังคงติดเรื่องของภาษี สินค้าบางอย่างก็ต้องซื้อในราคาแพงขึ้น จากเดิมที่ถูกกว่านี้ การค้าขายในภูมิภาคนี้จะดีขึ้น จะทำให้ยอดการส่งออกที่ติดลบเยอะปี 2562 นี้ มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นในปีหน้า
การท่องเที่ยวก็เชื่อว่าภาครัฐมีกระสุนที่ยังไม่ทำ ในเรื่องของฟรีวีซ่า แม้ว่าการต่อ visa on arrival ก็ฟรีเหมือนกัน แต่ต้องยุ่งยากเมื่อมาหน้าด่านให้ตรวจสอบ หรืออยากให้เป็นเหมือนที่คนไทยไปประเทศญี่ปุ่น จากก่อนหน้าคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นปีละ 3 แสนคน พอปีที่แล้วเป็นล้านคน ขณะที่เรื่องค่าเงินของไทยเองก็แพงกว่าในภูมิภาค 7% แต่เมื่อเทียบกับหยวนแพงกว่า 10% ซึ่งหากจ่ายแพงกว่า 10% ก็อาจจะไปเวียดนามดีกว่า
“นโยบายรัฐและค่าเงินจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นท่องเที่ยว แต่ธรรมชาติของเศรษฐกิจ เมื่อคนมาเที่ยวไม่เยอะ การส่งออกของประเทศไทยติดลบ สุดท้ายค่าเงินทนไม่ได้ก็ต้องอ่อนลงโดยธรรมชาติ บ้านเราเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะขายแบบไหน หากค่าเงินเริ่มกลับสู่จุดสมดุล ปีหน้าก็น่าจะมีเรื่องฟรีวีซ่าและอเมซิ่งไทยแลนด์ที่ต้องกลับมา ต้องทำเป็นอภิมหาโปรเจ็กต์ ตอนนี้เราอยู่ในจุดที่ว่าดีก็ได้ เพราะแม้มันจะแย่แต่ก็สามารถเตรียมตัวทำอะไรให้ดีได้”
อย่างไรก็ดี ไตรมาสแรกปีหน้าเงินถึงจะหมุนเวียนมาสู่ประชาชน เริ่มมีการใช้จ่ายมากขึ้น และการที่เอกชนจะมีการลงทุนตามมา สรุปแล้วประเทศไทยอยู่ในช่วงที่เป็น Bottom ของเศรษฐกิจ เพราะตลาดหุ้นเองก็ใกล้เช่นกัน ซึ่งตลาดหุ้นจะเกิดปฏิกิริยาก่อนเศรษฐกิจ เลยมองว่าหุ้นต่อจากนี้จนถึงไตรมาส 4 ก็จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น และพอมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มคุยกับประเทศไทยมากขึ้น จากเดิมยุโรปและอเมริกาอาจจะไม่เจรจากับไทย หันไปคุยกับเวียดนามแทน เมืองไทยได้แค่คุยกับจีน ตอนนี้ทั้งสองทวีปน่าจะเปิดใจคุยกับประเทศไทยมากขึ้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |