"หมอเลี๊ยบ"เผย "หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" รัฐบาลทักษิณ คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญของมวลมนุษยชาติ


เพิ่มเพื่อน    

เวลา 08.00 น.วันที่ 6 ต.ค.62 ที่ ประวัติศาสตร์"ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย" มหาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดงานรำลึก"ครบรอบ 43" ปี 6 ตุลาคม 2519 เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์และไว้อาลัยต่อวีรชนผู้สูญเสีย โดยมีผู้เข้าร่วมงานอาทิ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงษ์ลี อดีตผู้นำนักศึกษาหลัง  “6 ตุลา พ.ศ. 2519” อดีตรองนายกรัฐมนตรี นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงค์ อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ตัวแทนจากพรรคไทยรักไทย 
รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นอกจากนี้ยังมีผู้แทนองค์กรต่างๆเข้าร่วมมหาลัยธรรมศาสตร์ ,มูลนิธิปรีดีพนมยงค์,คณะกรรมการญาติวีรชน 6 ตุลาคม,สมาคมญาติและวีรชน 14 ตุลาคม,การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อดีต 18 ผู้ต้องหา 6 ตุลาคม,ชมรมโดมรวมใจผู้แทนพรรคการเมือง, สหภาพและสหพันธ์แรงงานสมัชชาคน,จนมูลนิธินิคมจันทรวิทุรทูล, เครือข่ายเดือนตุลาคมในที่ 14 ตุลาคม,คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาคม 35

ในงานรำลึก 43 ปี 6 ต.ค.ช่วงเช้ามีการตักบาตรพระสงฆ์ 19 รูป ต่อด้วยการ อ่านรายชื่อผู้วายชนม์ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม และพิธีวางพวงมาลาและดอกไม้

โดย รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ  อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า แม้เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 จะผ่านมาแล้ว 43 ปีแต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อสังคมไทยในหลายๆระดับ ซึ่งมหาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักดีถึงความสำคัญและยอมรับความจริงในบาดแผลทางประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่ การสรุปบทเรียนเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวขึ้นอีกในอนาคต

"เราจะร่วมกันจดจำรำลึกสืบทอดวัฒนธรรมคุณความดีและจิตวิญญาณของผู้วายชนม์เหล่านี้ไว้ร่วมกับแปลความสูญเสียความโศกเศร้าให้เป็นพลังสร้างสรรค์และร่วมกันจุดความสว่างไสวให้กับสังคมไทย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" รองศาสตราจารย์เกศินีกล่าว

รองศาสตราจารย์เกศินี กล่าวต่ออีกว่า นับตั้งแต่สถาปนามหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบัน ธรรมศาสตร์มีบทบาท ในการประสิทธิ์ประสาทปัญญาชนคนยุคใหม่ให้เป็นผู้นำทางสังคมและพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของสายธารประชาธิปไตยผ่านเหตุการณ์สำคัญและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายยุคหลายสมัย ทั้งนี้การสร้างพื้นที่ประวัติศาสตร์ให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยจึงนับเป็นหนึ่งในภารกิจของธรรมศาสตร์ โดยที่ผ่านมามีการดำเนินการจัดสร้างชิ้นงานประติมานุสรณ์ 6 ตุลาคม 2519 ขึ้นในปี 2543 เพื่อเป็นอนุสรณ์ของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ซึ่งจะถ่ายทอดและสะท้อนความทรงจำ 6 ตุลา ให้แทรกอยู่ในทุกพื้นที่ทุกตารางนิ้วของมหาวิทยาลัย

ด้าน น.พ.สุรพงษ์ อดีตผู้นำนักศึกษาหลัง"6 ตุลา พ.ศ.2519" ได้กล่าวปาฐกถารำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ว่า ตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ชีวิตหนุ่มสาวเปลี่ยนแปลงเป็นหลายคน ซึ่งผมก็เช่นเดียวกัน เช้าวันที่ 5 ตุลาคม ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่ เมื่อกลับมาจากมหาลัยมหิดลมาที่ท้องสนามหลวง ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีผู้คนยืนมุงดูอยู่ประมาณ 100 คน ได้กลิ่นไหม้ของยางรถยนต์ เมื่อเดินเข้าไปใกล้ต้องเมินหน้าหนี พบร่าง 2-3 รายอยู่ที่กองยางรถยนต์ มองไปไกลอีกเล็กน้อยพบร่างถูกแขวนไว้ที่ใต้ต้นมะขาม โดยมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งยืนมุงดูอยู่ไม่ห่าง เวลา 15 นาทีที่สนามหลวงวันนั้นผมไม่เคยลืมจนถึงวันนี้

หลังจากนั้นได้กลับต่างจังหวัดหมกตัวอยู่แต่ในบ้านเป็นเดือน ไม่รู้จะทำยังไงต่อไปพยายามติดตามข่าวของผู้ร่วมชุมนุมแต่ก็ถูกปิดกั้นทั้งทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ มีแต่ข่าวพบอาวุธและอุโมงค์ที่ธรรมศาสตร์ และการติดตามจับกุมนิสิตนักศึกษา ต้นเดือนพฤศจิกายนมหาลัยเปิดแต่บรรยากาศในมหาลัยไม่เหมือนเดิม หม่นหมองเงียบเหงา แต่ละวันผ่านไปยังซึมเศร้า นักศึกษาเรียนเสร็จรีบกลับบ้านไม่มีการจับกลุ่มพูดคุยกันอีก หลังจากนั้นมีรุ่นพี่มาติดต่อว่าอยู่ที่เมืองไม่ปลอดภัยไปหลบที่ป่าดีไหม จึงตัดสินใจว่าการเป็นอยู่ในป่าเป็นหนทางเดียว จึงเตรียมกาย เตรียมใจ เตรียมความคิด ให้พร้อมเสมอเมื่อได้รับการนัดหมาย

จนกระทั่งได้รับแจ้งให้ออกเดินทางไปพร้อมเพื่อนนักศึกษาแพทย์อีกคนหนึ่ง แต่เมื่อถึงวันเดินทาง ผมละอายใจตัดสินใจไม่ร่วมเดินทางไปกับเขา ในใจยอมรับคำการวิจารณ์ แต่ผิดพลาด เขาก็บอกว่าไม่เป็นไร เข้าใจ แต่ขออย่างเดียว อย่าลืมเพื่อนของเราที่เสียชีวิตในวันที่ 6 ตุลาคม

น.พ.สุรพงษ์ กล่าวต่อว่า จึงตัดสินใจว่าต่อจากนี้จะไม่ใช่แค่เรียนหนังสืออย่างเดียว ใช้เวลาที่เหลืออยู่ทำตามความฝันอย่างมุ่งมั่น หยุดซึมเศร้าและก้าวต่อไป ผู้ที่อยู่ในเมืองก็ทำตามเงื่อนไขของผู้ที่อยู่ในเมือง ผมนัดพบพูดคุยกับเพื่อน ที่อยู่ในเมือง มหาวิทยาลัย หรือไปตามบ้านของเพื่อน เริ่มเผยแพร่ความจริง 6 ตุลา และข้อเขียนของ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ทำหนังสือพิมพ์เผยแพร่ ให้กำลังใจกับผู้ต้องหาคดี 6 ตุลาคม เมื่อสถานการณ์ เริ่มผ่อนคลาย หลังรัฐประหารวันที่ 20 ตุลาคม 2520 เริ่มพบปะพูดคุยฟื้นบทบาท ของสโมสรนักศึกษา ติดต่อนัดหมายระหว่างเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยท่ามกลางกระแสข่าวขัดแย้งของผู้ที่อยู่ในป่าเขา กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ส่งต่อกันมา แต่เราไม่ได้สนใจ เพราะความใฝ่ฝันของพวกผมจะทำอย่างไรกลุ่มเพื่อนๆ จะได้กินดีอยู่ดีมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเลือกผู้บริหารของประเทศด้วยตัวเราเอง

หลังจากจบการศึกษาผมผ่านประสบการณ์หลากหลาย ไปเป็นแพทย์ ชนบท เป็นรัฐมนตรี เป็นผู้ต้องขังในเรือนจำ ชีวิตมีขึ้นมีลงหลายครั้ง สูงสุดคืนสู่สามัญ แต่ผมไม่เคยลืมภาพจำวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทุกครั้งที่มีความทุกข์ความเศร้าเข้ามาเกาะกุมหัวใจ ผมไม่เคยท้อนึกถึงเพื่อนนึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว จากชีวิตสุขสบายไปอยู่ป่าเขา บางคนไม่ได้กลับมา จึงบอกกับตัวเองว่าต้องลุกขึ้นและก้าวต่อไป อย่างมีสติ และมีปัญญารู้เท่าทัน

ผ่านมาถึงวันนี้หลังจากการก้าวเดิน สรุปบทเรียน ได้ 6 ประการ 1. ไม่มีใครอยากตาย แต่มีบางคนพร้อมเผชิญหน้ากับความตาย เพื่อแลกกับอุดมการณ์ที่ตนใฝ่ฝัน 2. จงมีความสุขที่ได้ทำตามความฝัน และอยากให้ทุกคนยกย่องและจดชื่อจดจำตัวตนของเรา คนอาจจำได้ในสิ่งที่เราทำ โดยไม่ใส่ใจเลยสักนิดว่าใครทำ มีเรื่องราวอีกมากมายในบันทึกนี้โลกใบนี้ที่จดจำไม่หมดเพราะอีก 100ปี 1,000 ปีข้างหน้าก็จะไม่มีใครจดจำรายละเอียดนี้ได้ 3. ฝันที่ยิ่งใหญ่เดินไปทีละก้าว ใช้ชีวิตแต่ละวันอย่างมีความสุขทำตามความฝันไปเรื่อยๆไม่หยุดเหนื่อยก็พักหายเหนื่อยก็ลุกขึ้นมาใหม่ ใครคิดเก่งช่วยคิด ใครพูดเก่งช่วยพูด ใครมีแรงก็ช่วยแรง ใครมีเงินก็ช่วยเงิน ไม่สำเร็จไม่เป็นไรเดี๋ยวคนรุ่นหลังก็มาช่วยทำอีก  4.คำถามว่า โลกพระศรีอาริย์หรือยูโทเปียเป็นอย่างไร แล้วเป็นไปได้จริงหรือ ไม่มีผลต่อการไฝ่ฝันของผม 

นักวิชาการบางคนเคยบอกว่าประวัติศาสตร์สิ้นสุดแล้ว เรามีการเมืองประชาธิปไตยแล้ว เรามีสังคมอุดมคติแล้ว มาวันนี้นักวิชาการบางคนบอกว่า ประชาธิปไตยตายแล้ว เสรีนิยมล้มเหลว โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจนิยม หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์พลังงานสีเขียวและเทคโนโลยีมากมายกำลังเข้ามาเปลี่ยนชีวิตของเรา แต่สำหรับผม ไม่ว่าการพลิกผันมากเพียงใด เมื่อคิดย้อนกลับไปยังจุดตั้งต้น ขอให้เพื่อนร่วมสังคมกินดีอยู่ดีมีชีวิตเท่าเทียมกันมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเลือกผู้บริหารประเทศด้วยตัวของเราเอง ดังนั้นผมจึงเปิดใจกว้างรับทฤษฎีใหม่ๆ ไม่จำกัดเฉพาะความรู้ดังเดิมของตัวเอง

อดีตผู้นำนักศึกษาหลัง 6 ต.ค. พ.ศ.2519 เผยต่อว่า 5.สรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจจังทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลง เมื่อทุกอย่างพร้อมการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น เช่นตัวอย่างเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่คือเรื่อง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วันที่ 6 มกราคม 2544 ด้วยปัจจัย 5 อย่างที่สะสมมาทีละเล็กทีละน้อยจนมาครบถ้วนในวันนั้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ระบบสาธารณสุข ที่ทะเยอทะยานครั้งหนึ่งที่สุดของมวลมนุษยชาติ ปัจจัยที่ 1 ผู้ศึกษาเรื่องประกันสุขภาพ ช่วยสร้างระบบประกันสังคมสุขภาพตั้งแต่ปี 2535 ปัจจัยที่ 2 รัฐธรรมนูญ ที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ 2540 นำไปสู่ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ที่ทำให้ระบบการเมืองเข้มแข็งรัฐบาลเข้มแข็ง ปัจจัยที่ 3 มีการเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทยหัวหน้าพรรคไทยรักไทยทักษิณ ชินวัตร ผิดหวังจากการปรับเปลี่ยนพรรคพลังธรรม จึงสร้างพรรคการเมืองแบบใหม่และเขามีภาวะผู้นำที่สั่งสมมาจาก ธุรกิจ ปัจจัยที่ 4 ระบบมาตรฐานในกระทรวงสาธารณสุข ที่ปลูกรากฐานมา 3 ทษวรรต บุคลากรส่วนใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุขมีอุดมการณ์ เพื่อผู้ป่วยและณ.เวลานั้นมีปลัดกระทรวงคือนายแพทย์มงคล ณ.สงขลา มีการเปลี่ยนแปลงสาธารณสุขครั้งใหญ่ก่อนการเกษียณอายุ ปัจจัยที่ 5 อาจารย์ใจอึ้งภากรณ์ สานต่อความฝัน ของบิดา ด้วยการเตรียมพัฒนารณรงค์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ปัจจัยทั้ง 5 ประการนี้มาบรรจบวันที่ 6 มกราคม 2544 แล้วนำไปสู่จุดที่ตัดที่สำคัญ คือเสียงของประชาชน ที่มาเลือกตั้งในระบบใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 2540 ทำให้พรรคไทยรักไทยได้รับการเลือกตั้งถึง 248 ที่นั่ง มากเป็นประวัติการณ์ครั้งแรกของการเมืองไทย และได้รับฉันทานุมัติ ในการขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

จากวันนั้น วันที่ 6 มกราคม 2544 การสาธารณสุขไทยและการเมืองไทย ก็เปลี่ยนไปไม่มีวันจะกลับไปเหมือนเดิมได้อีกดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจังการเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดร์ ดังนั้นผมสรุปกับตัวเองว่าสิ่งที่ตัวเองทำได้ทำไปเรื่อยๆทำไม่หยุด ณ.จุดตัดของกาลเวลาการแข่งขันของเราย่อมเป็นจริง 6.เรียนรู้จักสุภาษิตของทิเบตที่กล่าวว่า พรุ่งนี้หรือชาติหน้าไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะมาถึงก่อน วันนี้เรายังยังลืมตาอยู่แต่วันพรุ่งนี้เราอาจจะหลับไปตลอดกาล วันนี้เราจะอยู่อย่างมีสติ  เวลา 43 ปี อาจจะยาวนานสำหรับบางคนแต่พวกเราผมเชื่อว่าเหมือนผ่านไปเมื่อวานนี้เอง เราเสียใจเพื่อนอุดมการณ์ต้องจากไปก่อนวัยอันสมควรเราขอคาระวะความกล้าหาญ การเสียสละของเพื่อนที่จากไป ให้เพื่อนรับรู้ว่าเพื่อนยังอยู่ในใจของเรา ทำให้พวกเราก้าวมาถึงวันนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะเดียวกัน ในงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ได้มีพิธีมอบรางวัล จารุพงษ์ทองสินธุ์เพื่อประชาธิปไตย ให้กลับ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว ผู้ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จนมีคดีติดตัวอยู่หลายคดีด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"