5 ต.ค. 2562 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า ภายหลังการที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันนี้ (4 ต.ค. 2562)ว่า สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือ ถึงบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ยกเลิกสัญญา ทีโอที ชนะประมูลโครงการนี้ 3 สัญญาวงเงินรวม 6,486,399,926 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ประกอบด้วย1. โครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบหมู่บ้านในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) กลุ่มที่ 2 (ภาคเหนือ 2) ส่วนที่ 1 ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) วงเงิน 2,103,800,000 บาท
2. โครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบหมู่บ้านในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) กลุ่มที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ส่วนที่ 1 ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet Service) วงเงิน2,492,599,999 บาท
3. โครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบหมู่บ้านในพื้นที่ชายขอบ (Zone C+) กลุ่มที่ 1 (ภาคเหนือ 1) ส่วนที่ 2 การจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ วงเงิน 1,889,999,927 บาท
อย่างไรก็ให้ทีโอทีมาดำเนินการกำหนดค่าเสียหายที่สำนักงาน กสทช.สามารถตรวจรับงานให้กับ ทีโอที ได้ ส่วนงานใดที่ ทีโอที ได้ส่งมอบมาแล้ว แต่เป็นงานที่คณะกรรมการตรวจรับได้ ก็จะมีการตรวจรับและเสนอเพื่อที่จะอนุมัติเงินงวดให้กับทีโอที ต่อไป
ขณะเดียวกันส่วนงานใดที่เสนอมาแล้ว แต่ไม่สามารถตรวจรับได้ สำนักงาน กสทช.จะไปดำเนินการออกประกาศประกวดราคาใหม่ เพื่อที่จะให้บริษัทใหม่ เข้ามาดำเนินการทำงานในส่วนสัญญาดังกล่าวต่อไป โดยถ้ามีการประกวดราคาเพิ่มเติมแล้ว ถ้ามีงบประมาณที่เกินจากสัญญา ทีโอทีจะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนงบประมาณดังกล่าวต่อไป
อย่างไรก็ตามในพื้นที่ ป่าสงวน ถ้าเกิดทีโอที ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ก็เป็นจากผู้ส่งมอบงานไม่สามารถส่งมอบงานได้ ส่วนนี้ไม่อยู่ในเงื่อนไข ที่จะถูกปรับตามสัญญา เนื่องจากผู้ว่าจ้างไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ในเขตป่าสงวนได้ ดังนั้นพื้นที่ที่ ทีโอที สามารถเข้าไปดำเนินการได้แล้วไม่แล้วเสร็จ งานแล้วเสร็จแต่ดำเนินการผิดตามเงื่อนไขที่กำหนด (ทีโอที) การใดที่ไม่ผิดทีโอที แต่ถูกต้อง ก็จะมีการจ่ายเงินให้กับทีโอที ต่อไป
ขณะเดียวกันให้ทีโอที ตั้งคณะทำงาน เข้ามาดำเนินการร่วมกับสำนักงาน กสทช.เพื่อที่จะกำหนดงวดงานใดบ้างที่จะสามารถดำเนินการจ่ายเงินใหักับทีโอที ได้ งวดงานใดบ้างที่ผิดทีโอที และงวดงานใดที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ สำนักงาน กสทช.จะเร่งหาผู้รับจ้างรายใหม่ เพื่อที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้งานของประชาชนในเขตพื้นที่ทุกพื้นที่ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการใช้งานของประชาชน ซึ่งเราตั้งเป้าหมาย ภายในปีนี้หรือต้นปี2563 ไม่ว่าจะเป็นโครงการ เน็ตประชารัฐในพื้นที่ทุรกันดาร และเน็ตประชารัฐในพื้นที่ชนบทที่ กสทช.ดำเนินการ เป็นผืนเดียวกัน ไปรวมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จำนวน 24,700 หมู่บ้าน ก็จะเป็นผืนเดียวกันในการให้บริการทั่วประเทศทั้งหมด
“วันนี้ สำนักงาน กสทช.คงไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น ก็คงต้องยกเลิกสัญญาส่วนที่ ทีโอทีไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ นำไปประกวดราคาใหม่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่รัฐบาลเองต้องการให้เห็นการใช้งานเกี่ยวกับประชาชนในการดำเนินการนี้ถ้าเค้าไปแก้ไขสัญญา ไฟเบอร์ อันไหนที่ถูกต้อง กสทช.ก็จะดำเนินการตรวจจ้างให้ ปรับปรุงเสร็จ ก็ต้องตรวจ ” นายฐากร กล่าว
ทั้งนี้สำนักงาน กสทช.จะเปิดเป็นอีบิดดิ้งไป บ.ไหนเข้ามา ชนะก็รับในส่วนนั้นไป อาจจะใช้เวลาอีก 4-5 เดือน ซึ่งผมอยากเห็นภาพที่เกิดขึ้น เดือน กุมภาพันธ์หรือมีนาคม เมื่อเมีการประมูลคลื่น 5G ที่เกิดขึ้น เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในครบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 7หมื่นกว่าหมู่บ้านทั้งหมด จะทำให้โครงการเราสำเร็จ เราไม่ได้มีอะไรกับทีโอที แต่เราปล่อยในลักษณะนี้ต่อไปไม่ได้ แต่จะทำให้การทำงานของเรา 3,920 หมู่บ้านจะถูกดึงทั้งหมด ทำให้กระบวนการเปิดให้บริการในพื้นที่ อย่างเช่น ที่เราบอกว่าจะมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 200บาท ต่อคน ต่อครัวเรือน ปัจจุบันเรายังไม่สามารถดำเนินการได้เลย ก็ยังให้บริการไม่ได้ นี่คือปัญหาที่ตามมา สิ่งพวกนี้ที่รัฐบาลเอง กสทช.รับปากกับพี่น้องประชาชนไว้แล้ว
“ถ้าในพื้นที่ที่เปิดให้บริการได้ แต่ในพื้นที่ ที่ทีโอที ดำเนินการไม่สามารถให้บริการได้ เราไม่สามารถจะบอกประชาชนได้ เอาเฉพาะภาคเหนือ ไปก่อน ภาคอีสานเปิดไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมาโดยตลอด และเป็นสิ่งที่ผมวิตกกังวลมาก ประชาชนแจ้งมาว่าเค้าเข้านิยามครัวเรือนที่มีรายได้น้อย” นายฐากร กล่าว
อย่างไรก็ตามสำนักงาน กสทช.จะทำคู่ขนานกับการเจรจากับทีโอที 15 วัน ก็เร่งรัดให้สำนักงาน กำหนดทีโออาร์ ในการเปิดประมูลใหม่ ซึ่งทั้งหมดเมื่อเซ็นสัญญากับแล้วคงจะกำหนดในทีโออาร์ให้แล้วเสร็จ
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า กรณีการยกเลิกสัญญาเน็ตชายขอบ ระหว่าง ทีโอที และ กสทช.นั้นเบื้องต้นได้เคยหารือกับ กสทช.แล้วและรับทราบปัญหามาโดยตลอด ซึ่งทีโอทีในฐานะเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของกระทรวงดีอีเอส ทีโอทีจะต้องกลับมาทบทวนถึงสาเหตุการยกเลิกสัญญาดังกล่าว
“ผมได้รับฟังมาบ้างแล้วจาก กสทช.เป็นปัญหาของทีโอทีที่ต้องมาทบทวนการดำเนินงานทำไมไม่สามารถดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามทีโออาร์ ดูเหตุผลการยกเลิกสัญญา ทีโอทียังไม่ได้ดำเนินการใดๆ มันก็จะไปถ่วงเค้าให้เค้าเปิดให้บริการไม่ได้ ผมคงไม่เจรจา เป็นปัญหาของทีโอที เป็นสิ่งที่ทีโอทีต้องรับผิดชอบไม่ใช่องค์กรเล็กๆ การทำงานต้องมีประสบการณ์มากพอสมควร ที่ผ่านมาเข้าใจกสทช.พยายามให้โอกาสและขยายระยะเวลา ผมคงไม่เข้าข้างใคร” รมว.ดีอีเอส กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |