"สหพันธรัฐ" กับ "ราชอาณาจักร"


เพิ่มเพื่อน    

              ขอใช้สิทธิ์ถูกพาดพิง!

                ศาสตราจารย์เกษียร เตชะพีระ เขียนในเฟซบุ๊ก Kasian Tejapira จั่วหัวว่า

                "นสพ.ไทยโพสต์สับสนมั่วซั่วเรื่อง "สหพันธรัฐ" กับ "ราชอาณาจักร""

                พร้อมคำธิบายว่า....

                ....ข้อเสนอเรื่องรูปแบบรัฐแบบ "สหพันธรัฐ" (Federal State) กับการที่รัฐนั้นเป็น "ราชอาณาจักร" (Kingdom) เป็นคนละเรื่องกันและมิได้ขัดแย้งกัน การเสนอข่าวของไทยโพสต์ตั้งอยู่บนความไม่รู้และเข้าใจไขว้เขวสับสนทางวิชารัฐศาสตร์ https://www.thaipost.net/main/detail/47012…

                ตัวอย่างราชอาณาจักรที่เป็นสหพันธรัฐอย่างชัดเจน ได้แก่ ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) ซึ่งได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ในเว็บไซต์ทางราชการของประเทศ  https://www.belgium.be/…/federa…/king/new_structure_of_state

                ส่วนสหราชอาณาจักร (The United Kingdom) ก็มีแนวโน้มการปรับเปลี่ยนรูปแบบรัฐไปเป็นสหพันธรัฐมากขึ้นตามลำดับนับแต่มีการโอนอำนาจของส่วนกลางให้แก่ท้องถิ่น (devolution) ได้แก่ เวลส์ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ ในสมัยรัฐบาลนายกฯ โทนี แบลร์ เป็นต้นมา จนมีการวิเคราะห์โต้แย้งทางวิชาการกันเรื่องนี้ และโดยทั่วไปพิจารณาว่าสหราชอาณาจักรเป็น "กึ่งสหพันธรัฐ" (quasi-federal state)

https://www.mytutor.co.uk/…/Gov…/Is-Britain-a-Federal-State/

                ข้อเสนอต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรงยืดเยื้อในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงควรได้รับการพินิจพิเคราะห์อย่างถูกต้องเที่ยงตรงตามหลักวิชาการ แทนที่จะฉวยมาบิดเบือนกล่าวหากันอย่างมักง่าย....

                ครับ...ในมุมของศาสตราจารย์เกษียรมองว่า การตั้งคำถามไปยัง "ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์" ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ประเทศไทยอาจจะไม่จำเป็นต้องมีรัฐเดี่ยวหรือแบบรวมศูนย์ แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ต้องการเปลี่ยนราชอาณาจักรเป็นสหพันธรัฐใช่หรือไม่ คือการวิเคราะวิจารณ์อย่าง "มักง่าย"

                ก็ต้องเคารพในภูมิของศาสตราจารย์ทางรัฐศาสตร์

                เพียงแต่มีข้อกังขาบางประการ

                คำอธิบายข้างต้นคือ การอธิบายในหลักการเล็กเพื่อล้างหลักการใหญ่หรือไม่

                หลักการใหญ่คืออะไร 

                ระบอบสหพันธรัฐเป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรัฐเดี่ยว

                แต่ลึกลงไปอาจแยกย่อยอย่างที่ยกตัวอย่างคือเบลเยียม

                และถ้ารู้จักเบลเยียม ก็จะรู้ว่าทำไมถึงเป็นราชอาณาจักรพันธุ์ทาง

                เบลเยียมมีความคล้ายสวิตเซอร์แลนด์ มีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ชายแดนติดประเทศไหน ประชาชนก็พูดภาษานั้น

                มีทั้งภาษาดัตช์ ฝรั่งเศส เยอรมัน ระบบการปกครองของเบลเยียมจึงซับซ้อน

                กรณีประเทศไทยก็อาจเป็นราชอาณาจักรกึ่งสหพันธรัฐได้ หากคนภาคเหนือ ตะวันตก พูดเขียนเป็นภาษาพม่า ใช้เป็นภาษาราชการ ภาคอีสานใช้ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ ภาคตะวันออกใช้ภาษากัมพูชาเป็นภาษาราชการ ภาคใต้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการ

                แต่เราไม่ใช่

                รูปแบบการปกครองแต่ละประเทศ เป็นผลมาจากการเมือง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เป็นสำคัญ

                ในทางวิชาการจึงไม่อาจอธิบายแบบมักง่ายได้เลย. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"