'ผู้พิพากษา'เปิดศึก'ประธานกสม.'เหตุไม่แต่งตั้งกรรมการสิทธิฯชั่วคราว


เพิ่มเพื่อน    

3 ต.ค 62 -  จากกรณีเมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้มอบหมายให้ผู้แทนเข้ายื่นคำกล่าวหา ขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาดำเนินการไต่สวนและดำเนินการอื่นๆ ต่อนายชีพ จุลมนต์ อดีตประธานศาลฎีกา ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งวันสุดท้ายก่อนหมดวาระ ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอของนายวัสในฐานะประธาน กสม.ที่ต้องการให้ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งผู้ทำการแทนกรรมการ กสม. ที่ลาออกจากตำแหน่ง จนในปัจจุบันมีกรรมการเหลืออยู่เพียง 2-3 คน ทำให้ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งนายวัสเองได้พยายามร้องขอให้ประธานศาลฎีกาตั้งกรรมการชั่วคราว เพื่อทำงานแทนกรรมการที่ลาออกไป แต่นายชีพ ประธานศาลฎีกาขณะนั้นไม่ดำเนินการตามที่นายวัสต้องการ จึงเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์กล่าวโทษ

นายศรีอัมพร ศาลิคุปต์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ ให้ความเห็นถึงเรื่องนี้ว่า เรื่องการแจ้งความร้องทุกข์ของนายวัสครั้งนี้ น่าจะเกิดจากความไม่เข้าใจและความสับสนในข้อกฎหมาย ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่บัญญัติขึ้นเพื่อกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการ กสม. แม้จะมีบทบัญญัติว่ากรณีที่กรรมการที่ทำหน้าที่ได้ลดน้อยลง จนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการชั่วคราวขึ้นมาทำหน้าที่แทนกรรมการที่ขาดไป ตามกฎหมายข้อนี้ นายวัสจึงนำมากล่าวอ้างว่าเป็นหน้าที่ของประธานศาลฎีกาที่จะต้องแต่งตั้งกรรมการชั่วคราวขึ้นทำหน้าที่แทนกรรมการที่ขาดองค์ประชุม แต่ความจริงแล้วในเรื่องนี้ นายวัสยังมีความสับสนและเข้าใจผิดในข้อกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายนี้มิได้กำหนดบังคับว่าประธานศาลฎีกาจะต้องมีหน้าที่ในการแต่งตั้งกรรมการชั่วคราวแทนตำแหน่งที่ว่างลง กฎหมายนี้ เพียงแต่เปิดช่องให้ประธานศาลฎีกาอาจใช้ดุลพินิจแต่งตั้งกรรมการชั่วคราวเพื่อทำหน้าที่แทน แต่ไม่ได้หมายความว่าคำร้องขอของนายวัสเมื่อมีไปยังประธานศาลฎีกาแล้ว ประธานศาลฎีกาจะต้องทำตามคำร้องขอของนายวัสทุกกรณี

นายศรีอัมพร กล่าวต่อไปว่า หากนายวัสได้ศึกษากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอย่างถ่องแท้ หรือปรึกษาผู้ที่มีความรู้ดีในเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายมหาชนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนการศึกษาระบอบการเมืองการปกครองของต่างประเทศ ก็คงจะเข้าอกเข้าใจในระบอบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างแน่แท้ เนื่องจากโครงสร้างรัฐธรรมนูญของไทยซึ่งถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ประธานศาลฎีกาเป็นประมุขของฝ่ายตุลาการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภารกิจบางอย่างเป็นหน้าที่โดยตรง หรือต้องทำตามคำร้องขอของผู้ที่ต้องการให้ประธานศาลฎีกาดำเนินการ
 
เพราะประธานศาลฎีกายังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการที่จะดำเนินการหรือไม่ดำเนินการ โดยคำนึงถึงเหตุผลความเหมาะสม สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Contextual ซึ่งดุลพินิจเช่นนี้ เป็นอำนาจเด็ดขาดของประธานศาลฎีกา เมื่อมีการใช้ดุลพินิจเช่นนี้แล้ว ก็ไม่อาจมีผู้ใดที่จะมีสิทธิมาร้องโทษหรือกล่าวโทษแต่อย่างใด จึงขอเตือนสติในวัสว่า การกระทำใดๆ ในฐานะองค์กรอิสระควรใช้ความระมัดระวังและความรอบคอบในการดำเนินการต่างๆ หากไม่เข้าอกเข้าใจและไม่ศึกษาโดยถ่องแท้ถึงกฎหมายภายในประเทศ กฎหมายต่างประเทศ ที่มาที่ไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตลอดจนถึงกรอบแนวความคิดหรือที่เรียกว่า Conceptual Framework ในระบอบประชาธิปไตย ก็คงเข้าใจและไม่ทำในสิ่งที่ผิดพลาด ด้วยการไปร้องทุกข์ให้ ป.ป.ช.ดำเนินคดีกับประธานศาลฎีกา

“ซึ่งผมเห็นว่าการกระทำของนายวัสในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกขององค์กรอิสระ ที่มีการประพฤติปฏิบัติในลักษณะล่วงเกินประธานศาลฎีกา ในฐานะประมุขของผู้ใช้อำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและน่าตำหนิเป็นอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายตุลาการซึ่งถือเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก็คงไม่ถือสาและให้อภัยในความไม่รู้เท่าถึงการณ์ หรือที่เรียกว่า Ignorance“ นายศรีอัมพร กล่าว 

นายศรีอัมพร ยังกล่าวด้วยว่า มีข้อน่าสังเกตว่าขณะนี้น่าจะมีสิ่งผิดปกติในองค์กรอิสระ ที่มี กสม.จำนวนมากได้ลาออกจากตำแหน่งไปจนเกือบหมด คงเหลือแต่ประธานและกรรมการอีก 1-2 คนเท่านั้น แต่ก็ไม่เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการบริหารงาน หรือความด้อยประสิทธิภาพของคณะกรรมการชุดนี้หรือไม่ เนื่องจากในการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ก็มีการลดอันดับความน่าเชื่อถือของคณะกรรมการชุดนี้ลงให้อยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไปของโลก  ดังนั้นถึงประธานศาลฎีกาใช้ดุลพินิจและแต่งตั้งกรรมการชั่วคราวขึ้นทำหน้าที่แทนไปพลางก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่าการแต่งตั้งกรรมการชั่วคราวดังกล่าวขึ้นมาจะเป็นผลดีหรือผลเสียแก่การดำเนินงานของกรรมการชุดนี้ ถึงมีการแต่งตั้งกรรมการชั่วคราวขึ้นมาก็ไม่แน่ว่า กรรมการชุดนี้จะมีผลงานในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้จริง ดังคำกล่าวอ้างของประธานกรรมการชุดนี้หรือไม่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"