ปูดอีกคดีปี31‘ธรรมนัส’คุก8ด.


เพิ่มเพื่อน    

  "สมชัย" แจง กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร  ปมวุฒิปลอม "ธรรมนัส" เป็นแค่เหยื่อแก๊งค้าวุฒิการศึกษา แฉนักการเมือง นักธุรกิจ พระภิกษุถูกหลอกเสียเงินไปกับดีกรีดอกเตอร์เพียบ แต่ "เสรีพิศุทธ์" ขัดใจ! ยันไม่ใช่เหยื่อแต่เป็นตัวกลาง จงใจทำผิด
    ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม มีการประชุมคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย  ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยเชิญนายสมชัย ศรีสุทธิยากร นักวิชาการอิสระและอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาให้ข้อมูลเรื่องวุฒิปริญญาเอกปลอมของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ 
    โดยนายสมชัยชี้แจงต่อ กมธ.ตอนหนึ่งว่า มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ ร.อ.ธรรมนัสระบุว่าได้วุฒิปริญญาเอกนั้น ไม่ใช่มหาวิทยาลัย แต่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนเป็นธุรกิจประเมินวิทยฐานะ เพื่อออกใบรับรองว่าหลักฐานที่ผู้จบการศึกษาจากที่ต่างๆ ส่งไปสามารถเทียบเท่าเป็นปริญญาอะไรได้บ้าง เอกสารที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียออกให้จึงไม่ใช่ปริญญาเอก และจากการตรวจสอบพบว่ามหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาล และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนไฮสกูลที่ไม่ได้เปิดการเรียนการสอนจริง  นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยดังกล่าวยังเคยถูกรัฐแคลิฟอร์เนียฟ้องดำเนินการเรื่องการจดทะเบียนเป็นมหาวิทยาลัย เคยถูกสั่งปรับมาแล้วในศาลชั้นต้น แต่ต่อมามีการอุทธรณ์สู้คดีจนได้รับการลดหย่อนค่าปรับ
    ต่อมานายสมชัยให้สัมภาษณ์ภายหลังการให้ข้อมูลต่อ กมธ.ว่า การเดินทางมาให้ข้อมูลต่อ กมธ.ครั้งนี้ ต้องการเสนอปัญหาการค้าวุฒิการศึกษาปริญญาเอกต่างประเทศปลอมในประเทศไทย มีคนจำนวนมากทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ พระภิกษุถูกหลอกเสียเงินไปกับการซื้อปริญญาเอกปลอม เพราะอยากได้คำว่า ดร.นำหน้า ซึ่งในประเทศไทยมีขบวนการที่อ้างตัวเป็นนักวิชาการ ใช้ตำแหน่งดอกเตอร์  ศาสตราจารย์มาหลอกลวงจนมีผู้เสียหายจำนวนมาก 
    เขากล่าวว่าได้รายงานให้ กมธ.ทราบใน 2 กรณี คือ 1.กรณีรัฐมนตรีคนหนึ่งได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา โดยเข้าใจผิดว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้มาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา ทั้งที่ความจริงเป็นการจบจากมหาวิทยาลัยในหมู่เกาะแปซิฟิก ส่วนตัวเชื่อว่ารัฐมนตรีคนดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะจำเลย ไม่มีเจตนาหลอกลวงบอกกล่าวเท็จ แต่อาจเป็นผู้เสียหายที่ถูกขบวนการทำธุรกิจประเภทนี้หลอกลวง ดังนั้นควรไปแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจเอาผิดขบวนการหลอกลวง และแก้ไขวุฒิการศึกษาให้ถูกต้อง มิให้ถูกมองเป็นเรื่องการนำหลักฐานเท็จเข้าสู่ระบบราชการ 2.กรณี ส.ส.ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองเหล็กไหลระบุว่าได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยในยุโรป ซึ่งอาจไม่ได้จบจริง แต่นำหลักฐานปลอมมาเสนอต่อสาธารณชน อยากให้กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ดำเนินการจริงจังกับขบวนการหลอกลวงวุฒิการศึกษาเหล่านี้
    ผู้สื่อข่าวถามว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ระบุว่ามีใบปริญญาบัตร และ ทรานสคริปต์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียว่าจบการศึกษาปริญญาเอกจริง นายสมชัยตอบว่า ปริญญาดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารเทียบเท่า ซึ่งไม่ใช่ใบปริญญาบัตรและทรานสคริปต์ เพราะมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียนั้นไม่ใช่มหาวิทยาลัยจริง แต่เป็นบริษัทเอกชนที่มีหน้าที่ประเมินวิทยฐานะ เพื่อออกใบรับรองว่าหลักฐานที่ส่งไปเทียบเท่าได้กับปริญญาอะไรได้บ้าง แม้มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียจะถูกรับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่มีสถานะเป็นเพียงโรงเรียนอนุบาลเท่านั้น ส่วนที่ ร.อ.ธรรมนัสเคยระบุว่าได้ทำวิทยานิพนธ์และตีพิมพ์ผ่านวารสารนั้น จากการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นเพียงการตีพิมพ์ในวารสารที่ทำขึ้นปลอม
    ด้าน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์แถลงผลการประชุมว่า ร.อ.ธรรมนัสไม่ได้เป็นเหยื่ออะไร แต่ถือเป็นตัวกลาง เพราะรู้อยู่แล้วว่าได้มาโดยมิชอบ หรือไม่ได้มีการศึกษาจริง และไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยจริง ถือว่าจงใจกระทำเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามขอเวลาให้เจ้าหน้าที่ได้แปลเอกสารเพื่อที่จะรู้ข้อมูลที่ชัดเจน เพราะตนเองไม่ได้เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศเหมือนนายกรัฐมนตรี
    นายธีรัจชัย พันธุมาศ โฆษก กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ กล่าวว่า กมธ.จะทำหนังสือไปยังกระทรวงศึกษาธิการให้ดำเนินการสอบถามไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศวานูอาตู เพื่อสอบถามถึงการจัดสอนการศึกษาระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยคาลามัสที่เกี่ยวข้องกับ ร.อ.ธรรมนัส รวมถึงจะส่งหนังสือไปยังกระทรวงการต่างประเทศให้ประสานไปยังประเทศออสเตรเลีย เพื่อขอเอกสารคดีความของ ร.อ.ธรรมนัส เนื่องจากคดีที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสื่อมวลชนเป็นคดีที่เกิดขึ้นปี 2536 และตัดสินคดีปี 2538 
    เขากล่าวว่า จากการตรวจสอบของ กมธ.ยังพบว่าก่อนหน้านี้ปี 2531 ร.อ.ธรรมนัสเคยต้องคดียาเสพติด ตามความผิดกฎหมายสอดส่องเพื่อนบ้านของประเทศออสเตรเลีย กล่าวคือ ร.อ.ธรรมนัสทราบว่าละแวกบริเวณที่อาศัยอยู่มียาเสพติด แต่ไม่แจ้งข้อมูลให้ทางการรับทราบ จึงถูกลงโทษจำคุก 8 เดือน  ซึ่งเป็นคนละคดีกับที่ถูกจับกุมในปี 2536  
    อย่างไรก็ตาม คดีที่เกิดขึ้นปี 2531 นั้น กมธ.ยังต้องไปตรวจสอบหาหลักฐานเพิ่มเติมว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เพราะยังเป็นเพียงคำให้การของผู้สื่อข่าวไทยที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวมาให้ข้อมูลยืนยันต่อ กมธ.เท่านั้น ดังนั้น กมธ.จะต้องทำหนังสือไปสอบถามศาลออสเตรเลียว่า คดีของ ร.อ.ธรรมนัสมีทั้งปี 2531 และปี 2536 หรือไม่ นอกจากนี้ กมธ.จะทำหนังสือขอข้อมูลเรื่องเหล่านี้ไปยังสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยอีกทาง เพราะไม่แน่ใจว่ากระทรวงการต่างประเทศจะให้ความร่วมมือหรือไม่. 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"