"สนธิรัตน์" ดึงโมเดลเยอรมัน​ ผุดโรงไฟฟ้าขยะชุมชน​ในไทย


เพิ่มเพื่อน    

 "สนธิรัตน์" ดึงโมเดลเยอรมัน​ ผุดโรงไฟฟ้าขยะชุมชน​ในไทย โยน กฟผ.รับบทเป็นแม่งาน คุยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ อปท. หาความเหมาะสมของพื้นที่เน้นการมีส่วนร่วมและการยอมรับของประชาชน

1 ต.ค.62 - นายสนธิรัตน์​  สนธิจิรวงศ์​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน​ เปิดเผยภายหลังเข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าชุมชน GBAB โรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) ที่เป็นการหมักแบบแห้ง(Dry fermentation) ที่แรกในประเทศเยอรมนี​ ซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างในการคัดแยกปัญหาขยะ และส่งเสริมชุมชนไปในตัว ซึ่งหลังจากนี้กระทรวงพลังงานจะกลับไปหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตั้งคณะทำงานศึกษาความเป็นไปได้​ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าขยะชุมชน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ซึ่งเป็นดูแลและจัดการขยะและมีความใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด ทั้งนี้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย​ (กฟผ.)​ เป็นผู้ดูแลโครงการดังกล่าว

"เราต้องไปเลือกสถานที่ที่มีความพร้อม และคนในชุมชนเห็นด้วยที่จะมีส่วนร่วมกับโครงการ ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลในเร็ว ๆ นี้โดยคณะทำงานดังกล่าวจะมีบทบาทในการร่วมจัดตั้ง และบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ ซึ่งจากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ชุมชนจะมีความพร้อมด้านเชื้อเพลิงแต่ขาดความรู้ในการจัดการช่วงเริ่มต้น​ เราจะต้องเข้าไปให้ความรู้และพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะเรื่องระบบจัดเก็บคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพ​ เพราะปัญหาใหญ่ของไทย​ คือ​ การคัดแยกขยะ"นายสนธิรัตน์​ กล่าว

ทั้งนี้การมาศึกษาโมเดลของโรงไฟฟ้า GBAB นั้นไม่ได้การันตีว่าจะสามารถนำไปใช้กับประเทศไทยได้ทั้งหมด เนื่องจากความแตกต่างกันทั้งเรื่องภูมิประเทศ หรือการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากโรงไฟฟ้า GBAB นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสถาพแวดล้อมเป็นป่า จึงทำให้เชื้อเพลิงส่วนใหญ่มาจากไม้ และผลิตไฟฟ้าเพื่อต้มเป็นน้ำร้อนส่งไปยังบ้านเรือนโดยรอบ แต่ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นขยะในครัวเรือน จึงต้องไปศึกษาแนวทางที่จะพัฒนาว่าจะใช้รูปแบบใด และเชื้อเพลิงชนิดใดเป็นหลัก

นายสนธิรัตน์​ กล่าวว่าโรงไฟฟ้าชุมชน GBAB มีกระบวนการในการนำของเสียอินทรีย์ไปหมักย่อยเพื่อให้เกิดเป็นก๊าชชีวภาพ ซึ่งจะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าต่อไป​ โดยใช้เศษวัสดุและขยะชีวภาพ ของเมืองอาสชาเฟนเบิร์ก​(Aschaffenburg)​ ปริมาณ 15,000 ตันต่อปี สามารถผลิตก๊าชชีวภาพได้ประมาณ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อปีและนำไปผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 3 ล้านหน่วยต่อปี

สำหรับการเยี่ยมครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างของการพัฒนาโรงไฟฟ้าชุมชนที่เน้นใช้วัสดุทางการเกษตรในท้องถิ่นเป็นเชื้อเพลิงการผลิต​ ​โดยชุมชนจะมีรายได้จากการจัดหาเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้า สร้างอาชีพ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในชุมชนตามนโยบายพลังงานเพื่อเศรษฐกิจฐานรากของไทย

"เราจะได้รับทราบข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพและการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ รวมถึงข้อดี​ ข้อจำกัด​ในการนำพืชชีวมวลหรือเศษวัสดุชีวภาพเหลือใช้จากการเกษตรของแต่ละพื้นที่มาผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในชุมชนตนเอง รวมถึงการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ซึ่งจากการเยี่ยมชมครั้งนี้พิสูจน์แล้วว่าการผลิตไฟฟ้าจากขยะในเขตชุมชนมีความปลอดภัย และช่วยลดปริมาณขยะ​ นอกจากนี้ยังให้ชุมชนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์ร่วมกันอีกด้วย​"นายสนธิรัตน์กล่าว 

อย่างไรก็ตามสำหรับ GBAB เป็นกิจการร่วมระหว่างเมืองและเขตอาสชาเฟนเบิร์ก โดยได้ดำเนินการเป็นโรงคัดแยกขยะในเขต อาสชาเฟนเบิร์ก มาตั้งแต่ปี 2001 และในปี 2011 ก็ได้เริ่มดำเนินการเป็นศูนย์ขนถ่ายขยะและเป็นโรงหมักย่อยขยะแบบแห้ง ตั้งแต่ปี 1993 นอกจากนี้​ GBAB ยังมีธุรกิจขนส่งมวลชน ธุรกิจรับจ้างขนขยะ ธุรกิจรับซื้อขายไฟฟ้า ธุรกิจบริการชุมชน สระว่ายน้ำ เป็นต้น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"