สรท.หั่นเป้าส่งออก ปี 62 หดตัว -1.5% แจงศก.โลกผันผวน


เพิ่มเพื่อน    

1 ต.ค. 2562 นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกในเดือน สิงหาคม ปี 2562 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า มีมูลค่ารวม 21,914 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการส่งออกรูปแบบเงินบาทเท่ากับ 670,452 ล้านบาท หดตัว -11.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมุลค่า 19,862 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -14.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และการนำเข้าในรูปแบบเงินมีมูลค่า 616,736 ล้านบาท หดตัว -21.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ขณะที่ภาพรวมการส่งออกของไทยในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่าการส่งออกรวม 166,091 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปแบบเงินบาทที่ 5,206,697 ล้านบาท หดตัว -3.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 159,984 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 5,089,258 ล้านบาท หดตัว -5% อย่างไรก็ตาม สรท.ได้ปรับการคาดการณ์การส่งออกในปี 2562 หดตัวที่ประมาณ -1.5% และคาดการณ์การส่งออกในปี 2563 เติบโตที่ได้ที่ประมาณ 0-1%

สำหรับปัจจัยที่มีผลบวกต่อการส่งออกของไทย ยังคงมาจากสงครามกาค้าที่เริ่มมีท่าที่ผ่อนคลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดังจะเห็นเได้จาก สหรัฐ เลือนการขึ้นภาษีอัตราร้อยละ 30 มูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวันที่ 1 ต.ค. เป็น 15 ต.ค. และเลื่อนขึ้นภาษีสินค้าจีนกว่า 400 ชนิด ซึ่งเป็นสินค้าในวงเงิน 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าภาษีทั้งหมดที่ได้รับยกเว้นมีสัดส่วนมากเพียงไร ขณะที่ จีน ประกาศงดเว้นภาษีสินค้าสหรัฐในกลุ่ม ยา น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ มูลค่ากว่า 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนทองคำเป็นปัจจัยหลักช่วยการส่งออก ซึ่งเดือนส.ค. มีการขยายตัวกว่า 300%

ส่วนปัจจัยลบและความเสี่ยงต่อการส่งออกของไทย มาจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าเกษตรได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลง โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งและปริมาณสต๊อกสินค้าที่มีอยู่ในตลาดโลกทำให้ปริมาณการส่งออกของไทยชะลอตัวลง ขณะที่เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวทั่วโลกจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ส่งผลต่อคำสั่งซื้อที่ลดลงและปริมาณการส่งออกที่ลดลง และสถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศ ได้แก่ นำ้ท่วม สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตรในระยะสั้นและระยะยาว

ส่วนสถานการณ์ค่าเงินบาทในเดือน ก.ย. มีการเคลื่อนไหวในระดับที่ค่อนข้างผันผวนแต่ยังอยู่ในแนวโน้มที่แข็งค่า โดยอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.42-30.66 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ในขณะที่ทิศทางค่าเงินบาทของไทยนั้นสวนทางกับ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร จีน เกาหลี ออสเตรเลีย และ แอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโนบายของธนาคารกลางที่ผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน และ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจากสงครามการค้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"