เฮ!คนไทยจะหลุดพ้นจากเผด็จการทรราชย์'ปิยบุตร'เปิดตัวหนังสือ'การเมืองแห่งความหวัง'


เพิ่มเพื่อน    


27ก.ย.62-นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความผ่าน เพจเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล  เรื่อง การเมืองแห่งความหวัง : รวมบทปราศรัย สัมภาษณ์ และอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร มีเนื้อหาดังนี้
เมื่อครั้งอยู่ในแวดวงวิชาการ ผมพยายามบังคับตนเองให้มีผลงานหนังสือออกมาให้ได้อย่างน้อยปีละ 1 เล่ม ผมได้วางโครงการการเขียนหนังสือไว้ทุก 5 ปี จะมีงานอะไรออกมาบ้าง
ก่อนเข้าสู่แวดวงการเมือง ผมตั้งใจจะออกหนังสือเป็น Series รวม 3 เล่ม ได้แก่
1. รัฐธรรมนูญ
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้อความคิด อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ และการเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญ
2. ศาลรัฐประหาร
เกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของศาล และความสัมพันธ์ของศาลกับรัฐประหารและเผด็จการ
3. รัฐประหาร
เกี่ยวกับข้อความคิดเรื่องรัฐประหาร ตั้งแต่รากศัพท์ ความเป็นมา ประวัติศาสตร์ เทคนิควิธี ผลทางกฎหมาย และระบอบเผด็จการ
ปรากฏว่าผมทำได้เพียงสองเล่ม เล่มแรก ออกมาในปี 2559 เล่มที่สองออกมาในปี 2560 ส่วนเล่มที่สาม มีต้นฉบับเรียงรออยู่ แต่ผมไม่มีเวลาไปปรับปรุงเรียบเรียง และใส่เชิงอรรถให้สมบูรณ์ เนื่องจากตัดสินใจออกจากแวดวงวิชาการเข้าสู่แวดวงการเมืองแทน
ผมยังมีโครงการเขียนหนังสือต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ, ประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส, ปฏิวัติฝรั่งเศส แต่ทั้งหมดนี้ต้องยุติลงไปทั้งหมด อย่างน้อยๆก็เป็นการชั่วคราว จนกว่าผมจะออกจากวงการเมือง
แม้ผมจะเปลี่ยนเส้นทางชีวิต จากอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ใช้ทักษะทั้งการอ่าน การพูด การเขียน การฟัง มาเป็นอาชีพนักการเมืองที่ใช้ทักษะการพูดและการฟังมากกว่าการอ่านและการเขียนก็ตาม แต่ผมตั้งใจไว้เสมอว่า จะไม่ทิ้งเรื่องการอ่านและการเขียน
ทุกวันนี้ แม้ผมจะมีเวลาอ่านและเขียนน้อยลงไปมาก แต่ก็พยายามบังคับตนเองให้อ่านหนังสือทุกวัน อย่างน้อยที่สุด 1-2 ชั่วโมงก่อนนอน และบนรถหรือเครื่องบินเวลาเดินทางไปจังหวัดอื่น ในส่วนการเขียนนั้น แม้ผมจะหาเวลานั่งนิ่งๆสักสัปดาห์ละ 1-2 วัน เพื่อเขียนหนังสือ แทบไม่ได้เลย แต่อย่างน้อยที่สุด ผมก็พยายามทดแทนด้วยการเขียนสั้นๆลงเฟสบุ๊ค และการเขียนบทปราศรัย บทอภิปรายของตนเอง ผมตั้งใจไว้ตั้งแต่เริ่มต้นเข้าสู่การเมืองว่า หากเวลายังคงอำนวย ผมจะเตรียม คิด และเขียนบทปราศรัยทางการเมือง และบทอภิปรายในสภา ด้วยตนเองทั้งหมด ซึ่งผ่านมาปีเศษจนถึงปัจจุบัน ผมยังทำได้อยู่
ความตั้งใจที่จะมีหนังสือออกมาปีละเล่ม ผิดพลาดขาดหายไปเมื่อปีที่แล้ว มาปีนี้ หากจะพลาดไปอีก ก็คงรู้สึกผิดไม่มากก็น้อย ในขณะที่ผมไม่มีเวลาในการเขียนหนังสือใหม่ทั้งเล่ม ดังนั้น การนำบทสัมภาษณ์ บทปราศรัย บทอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ผมเข้าสู่วงการเมือง มารวมเล่มตีพิมพ์ ก็คงเป็นวิธีทดแทนแก้ไขได้อยู่บ้าง
หนังสือชื่อ "การเมืองแห่งความหวัง" นี้ จัดพิมพ์โดยพรรคอนาคตใหม่ รายได้ที่ผมได้รับทั้งหมดจะบริจาคให้กับพรรคอนาคตใหม่
กำหนดวางแผงในวันที่ 5 ตุลาคม 2562 ที่บู๊ทของสำนักพิมพ์มติชน และอีกหลายสำนักพิมพ์
ระหว่างนี้ ขอนำคำนำมาเผยแพร่ให้อ่านกันก่อนครับ
...
คำนำผู้เขียน
การพบกันระหว่างการเมืองและประวัติศาสตร์เป็นประเด็นปัญหาใหญ่ การเมืองกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าทางประวัติศาสตร์ได้ก็เฉพาะในสถานการณ์พิเศษอย่างยิ่ง ซึ่งผมเรียกมันว่า “เหตุการณ์การเมือง” (l’événement politique) กล่าวคือ เหตุการณ์ที่สร้างมาตราส่วนขนาดใหญ่ให้แก่ประชาชนในการไปสู่ความเป็นไปได้แบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ... แต่แม้ว่าความเป็นไปได้ในลักษณะดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น เราก็ต้องรู้จักที่จะทำงานสร้างมาตราส่วนขนาดเล็กลงมา สำนึกทางการเมืองต้องดำรงอยู่ และเรารู้ดีว่าถ้ามันดำรงอยู่ในมาตราส่วนขนาดเล็ก มันจะกลายเป็นมาตราส่วนขนาดใหญ่ตามมาได้นับตั้งแต่ที่เหตุการณ์นั้นถูกยึดกุมและถูกขับเคลื่อนด้วยจำนวนของประชาชนมหาศาล สิ่งที่ผมคิด ก็คือ การเมืองคืนกลับมาเพื่อหล่อเลี้ยงให้ความคิดดำรงอยู่ในสถานการณ์ เพื่อทำการเมืองให้บังเกิดขึ้น ต้องไม่เพียงแค่มีวิสัยทัศน์ที่ผ่านการไตร่ตรองและผ่านการถกเถียงอย่างกว้างขวางในประเด็นที่ว่าสังคมสามารถเป็นแบบใดและต้องเป็นแบบใด แต่ทำการเมืองยังรวมถึงการทดลองความคิดเหล่านี้ วิสัยทัศน์เหล่านี้ ในมาตราส่วนขนาดใดก็ตาม ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เท่าที่เราสามารถทำมันได้
Alain Badiou, Eloge de la politique, 2017, pp.20-21.
การเมือง มีสองความหมาย นอกจากมีความหมายเกี่ยวกับอำ นาจแล้ว ยังเกี่ยวกับการมีและใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม เพื่อไปสู่ความผาสุกและชีวิตที่ดีกว่าเดิม
การทำการเมือง คือ การสร้างความเป็นไปได้
การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ การสร้างความเป็นไปได้ในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในชีวิตให้แก่ประชาชน หรือที่ Alain Badiou เรียกว่า “l’événement politique” อาจเกิดได้ยาก
ในช่วงชีวิตหนึ่ง เราอาจไม่เคยได้เห็นมัน
แต่ความเป็นไปได้เช่นว่า ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีวันมาถึง
เมื่อมันยังไม่เกิด เมื่อมันยังมาไม่ถึง หรือแม้กระทั่งเมื่อยังมองแทบไม่เห็นหนทางที่มันจะมาถึง ก็ไม่ได้หมายความว่า เราควรนั่งเฉยๆ และรอให้มันมาถึง
ตรงกันข้าม ยิ่งมันยังมาไม่ถึง ก็ต้องยิ่งลงมือทำ เพื่อให้มันมาถึงสักวัน
การเมือง คือ ความเป็นไปได้
การเมือง คือ การทำให้ประชาชนจำนวนมหาศาลเปล่งศักยภาพของตนเพื่อเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
ไม่มีอะไรที่จะหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้ ขอเพียงแต่เราช่วยกันลงมือ
...
ผมตัดสินใจลาออกจากอาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลาออกจากอาชีพที่ผมรักที่สุดในชีวิต ยุติการบรรยายในห้องเรียน ยุติการควบคุมดูแลการทำ วิทยานิพนธ์ของนักศึกษา เข้าสู่แวดวงการเมือง ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ก็ด้วยความเชื่อมั่นในความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
ท่ามกลางความมืดมิดของสังคมไทย
ท่ามกลางสถานการณ์เผด็จการมารครองเมือง
ผมยังคงเชื่อมั่นเสมอว่า ความเปลี่ยนแปลงจักต้องมาถึงสักวันหนึ่ง
ขอเพียงแต่มีความหวัง
หล่อเลี้ยงความเป็นขบถไว้ในจิตใจ
มุ่งมั่นทำงานทางความคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดจิตใจของผู้คน
ก้าวเดินอย่างรอบคอบประกอบการประเมินสถานการณ์
หนังสือเล่มนี้ คือ การรวบรวมบทปราศรัยในเวทีต่างๆ บทสัมภาษณ์ และบทอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรของผม โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ผมเริ่มต้นชีวิตนักการเมือง ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ จนถึงการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 โดยตั้งชื่อหนังสือว่า “การเมืองแห่งความหวัง” ด้วยความหวังว่าประชาชนคนไทยผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศจะตัดสินใจร่วมเดินบนเส้นทางแห่งความหวังนี้ ไปกำหนด “อนาคตใหม่” ด้วยกัน
ผมขอขอบคุณ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์, สังคม จิรชูสกุล, นฤมล กระจ่างดารารัตน์, พรเฉลิม รัตนไตรภพ ที่ช่วยเข็นหนังสือเล่มนี้ออกมาได้สำเร็จ
ผมขอขอบคุณ ธนภรณ์ สาลีผล ที่ช่วยเหลือผมในงานทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ผมเข้าสู่แวดวงการเมือง และยังช่วยถอดเสียงมาเป็นตัวหนังสืออีกด้วย, เชตวัน เตือประโคน ที่เดินทางไปรณรงค์หาเสียงกับผมในหลายพื้นที่ สรุปเนื้อหาการอภิปราย พร้อมๆ กับมีเกร็ดความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาเล่าให้ฟังเสมอ, ศิริโชค เลิศยะโส และตะวัน พงศ์แพทย์ ที่เก็บภาพสวยและทรงพลัง, ศรันย์ สุธรรมดิเรกลาภ ผู้ถอดเสียงออกมาเป็นตัวหนังสือ, วรวุฒิ บุตรมาตร, ศุภชัย เสียงจันทร์, วชิรวิทย์ คงคาลัย, วรยุทธ มูลเสริฐ, คณวัช รอดแก้ว, ธนบรรฎ อิสระดำรงกุล, พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ที่ตัดสินใจร่วมก่อร่างสร้างอนาคตใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น
ผมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่พรรค เพื่อน ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ทีมงานจังหวัด และอาสาสมัครของพรรคอนาคตใหม่ ทุกคนมีส่วนร่วมในความสำเร็จเบื้องต้นของพรรคอนาคตใหม่
สุดท้าย ผมขอมอบคำขอบคุณสำหรับ ศรายุทธิ์ ใจหลัก, ชัยธวัช ตุลาธน, ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ตัดสินใจออกจากพื้นที่อันสะดวกสบายของแต่ละคน มาเผชิญหน้ากับอุปสรรคและความยากลำบาก เพื่อสร้าง “อนาคตใหม่” ด้วยกัน
ใน ยัญพิธีเชือดแพะ นวนิยายเลื่องชื่อของมาริโอ บาร์กัส โยซา (Mario Vargas Llosa) มีตอนหนึ่งที่ อูราเนียได้ไปพบกับพ่อของเธอที่ล้มป่วยหนักจากเส้นเลือดในสมองแตก
แกไม่เข้าใจหรอก อูราเนีย มีหลายสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับยุคสมัยนั้นที่แกมาเข้าใจเอาในภายหลัง ในตอนแรก เรื่องบางอย่างไม่มีวันทำความเข้าใจได้เลย แต่หลังจากฟัง สืบค้น และคิด แกก็เข้าใจได้ว่าคนหลายล้านคนที่ถูกโหมกระหน่ำด้วยโฆษณาชวนเชื่อและขาดข้อมูลข่าวสาร ซ้ำเติมด้วยการปลูกฝังยัดเยียดความคิดความเชื่อและการแยกตัวจากสังคมอื่น ปราศจากจำนงเสรีหรือกระทั่งความสงสัยใคร่รู้ ด้วยเหตุจากความกลัวและความเคยชินในการยอมตนเยี่ยงทาสและประจบสอพลอนั้น สามารถเทิดทูนบูชาตรูฆิโยได้อย่างไร ไม่ใช่แค่กลัวเขาแต่รักเขา เหมือนลูกรักพ่อแม่ผู้ใช้อำนาจเผด็จการได้ในท้ายที่สุด โดยทำให้ตนเองเชื่อว่าการโบยตีนั้นทำไปเพื่อประโยชน์ของตัวพวกเขาเอง แต่สิ่งที่แกไม่เคยเข้าใจก็คือ ชาวโดมินิกันที่ได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด ปัญญาชนในประเทศ นักกฎหมาย แพทย์ วิศวกร คนที่จบจากมหาวิทยาลัยดีๆ ในสหรัฐฯ หรือยุโรป คนที่ละเอียดอ่อนได้รับการกล่อมเกลามาอย่างดี มีประสบการณ์ อ่านมาก มีความคิด และน่าจะมีความสำนึกชัดเจนต่อความไร้สาระพวกนี้ คนที่มีความรู้สึกและความละอายแก่ใจ จะยอมให้ตัวเองถูกกดขี่ข่มเหงอย่างป่าเถื่อน (ทุกคนล้วนแล้วแต่โดนกันถ้วนหน้า ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง)
สักวันหนึ่ง คนไทยจะหลุดพ้นจากเผด็จการทรราชย์ ...

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"