คุ้นหน้าคุ้นตากันดีในแวดวงงานเสวนาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ สำหรับ นพ.อุทัย จินดาพล อดีตแพทย์สาธารณสุข จ.พังงา วัย 85 ปี ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสาขาสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย งานนี้เจ้าตัวบอกว่าถึงแม้เกษียณอายุราชการมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ทว่าก็ยังทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับการเป็นที่ปรึกษาด้านการให้ความรู้ โดยแนะนำให้คนสูงวัยหันมารักษาสุขภาพ เพื่อที่จะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลานและสังคม
ส่วนหนึ่งเพราะจบแพทย์ทางด้านสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2505 ดังนั้นงานเกี่ยวกับการลงพื้นที่ให้ความรู้กับชาวบ้านเป็นเรื่องที่อยู่ในสายเลือด แม้ว่าจะเป็นภารกิจที่ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากต้องทำงานอยู่ในถิ่นทุรกันดาร เพราะต้องการอุทิศตัวในการช่วยเหลือชาวบ้าน กระทั่งล่าสุดเจ้าตัวได้รับรางวัลนักวิชาการสาธารณสุขดีเด่น ประเภทผู้นำชุมชน สำหรับรางวัลชัยนาทนเรนทร ประจำปี 2561 และช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้ก็มีคิวเพื่อเข้าไปพบนักเรียนแพทย์รุ่นน้องจบใหม่จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้คำแนะนำในการทำหน้าที่แพทย์อย่างดีที่สุด ในด้านการบริการประชาชน และเสียสละต่อบ้านเมืองและประเทศชาติ.. เรียกได้ว่าเป็นวัยเก๋าที่มีคุณภาพ ที่ควรเอาแบบอย่างทั้งเรื่องการทำงานเพื่อส่วนรวม และการดูแลสุขภาพ ในฐานะที่เจ้าตัวเกษียณอายุจากการเป็นแพทย์ออกหน่วยเคลื่อนที่ กระทั่งได้นำความรู้จากการรักษาผู้ป่วยมาดูแลสุขภาพตัวเองควบคู่กันไป
นพ.อุทัย ให้ข้อมูลว่า แม้ตอนนี้ผมอายุ 85 ปีแล้ว ก็ได้นำความรู้ถ่ายทอดไปสู่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั้งบทบาทการเป็นแพทย์สาธารณสุข และที่ปรึกษาเกี่ยวกับหน่วยงานด้านการให้ความรู้กับผู้สูงอายุต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพภายใต้หลัก 3 อ. มาปรับใช้กับตัวเองด้วยเช่นกัน
“ทุกวันนี้ผมก็ดูแลสุขภาพภายใต้หลัก 3 อ. ที่ได้นำข้อมูลดังกล่าวไปอบรม เผยแพร่ และบอกกล่าวให้กับพี่น้องทางภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด สำหรับดูแลสุขภาพของตัวเอง ที่เริ่มจากอันที่ 1 คือ “อาหาร” ก็จะลด ละ เลิกอาหารหวาน มัน และเค็ม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่สำคัญก็จะเน้นการบริโภคผักให้ได้อย่างน้อยให้ได้มากกว่า 3 กรัมขึ้นไป เพราะทุกวันนี้คนไทยกินผักวันละไม่ถึง 3 กรัม ทั้งที่ความจริงแล้วเราต้องรับประทานผักให้ได้ประมาณครึ่งกิโลกรัมต่อวันด้วยซ้ำ นอกจากนี้ก็จะลดการบริโภคเนื้อติดมันลง ส่วน อ.ที่ 2 คือ “อารมณ์” โดยส่วนตัวผมจะเน้นการทำสมาธิ อีกทั้งผมจะไปวัดทุกวันพระอยู่แล้วครับ ทำมา 30 ปี ประกอบกับงานที่ทำเกี่ยวกับการเป็นที่ปรึกษาหน่วยงานให้ความรู้ผู้สูงวัย เช่น โรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งตรงนี้เราจะมีเครือข่ายของศูนย์ปฏิบัติธรรมจากพระอาจารย์ชื่อดังให้กับผู้สูงอายุทั้งภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งเป็นอีกช่องทางในการทำสมาธิเพื่อปรับอารมณ์ที่แจ่มใสให้กับตัวเองได้เช่นกัน ส่วน อ.สุดท้ายอย่าง “การออกกำลังกาย” ผมเลือกเดินเร็วสลับกับการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานทุกวัน เพราะถือว่าการเอกเซอร์ไซส์ที่ไม่หนักจนเกินไปสำหรับผู้สูงอายุ และจากการที่ผมดูแลตัวเองเป็นอย่างดีนั้น ทำให้ไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังใดๆ ทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงก็ไม่มีครับ”
อัพเดตถึงการทำงานในปัจจุบันเมื่อเข้าวัย 85 ปี ที่เจ้าตัวบอกให้ฟังว่า หลังอายุ 60 ปีก็ยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะงานด้านที่ปรึกษา โดยการให้แนะนำการดูแลสุขภาพกับประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ และเป็นประธานยุทธศาสตร์เกี่ยวกับผู้สูงอายุ รวมถึงการเป็นกรรมการงานด้านผู้สูงอายุให้กับองค์กรต่างๆ ฯลฯ และจะยังคงทำไปจนถึงอายุ 90 ปีอย่างแน่นอน
“ผมทำงานอยู่ตลอดเวลาครับ แม้ว่าตอนนี้จะอายุ 85 ปี แล้ว และตั้งแต่จบการศึกษาแพทย์ด้านสาธารณสุข ผมไม่ขอรับตำแหน่งที่อยู่เมือง จึงได้ขอย้ายกลับมาทำงานที่บ้าน คือพื้นที่ภาคใต้ โดยเริ่มงานแรกคือ จ.ชุมพร พังงา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง จากนั้นก็ได้ไปทำงานแถบภาคอีสานอย่าง จ.บุรีรัมย์ และภาคกลางคือ จ.พระนครศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งที่ผมเลือกทำงานต่างจังหวัดมาโดยตลอด เนื่องจากเราต้องการอุทิศตัวในการช่วยเหลือชาวบ้านที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล จึงตัดสินใจเรียนแพทย์ด้านสาธารณสุข เนื่องจากเป็นสายงานที่ต้องลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้านเป็นหลักอยู่แล้ว ทั้งนี้ สิ่งที่ผมได้คือนอกจากการดูแลคนยากไร้แล้ว ความรู้ที่ผมมียังใช้ดูแลตัวเองควบคู่กันไป และยังได้นำองค์ความรู้ดังกล่าวเผยแพร่ให้กับชาวบ้านอีกด้วยครับ”
ทิ้งท้ายกันที่ข้อคิดดีๆ ที่ใช้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรชายวัย 44 ปี ซึ่งผู้ปกครองรวมถึงเด็กและเยาวชนยุคใหม่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตและการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องของความซื่อสัตย์ ที่ นพ.อุทัย บอกว่า “ส่วนตัวผมมีลูก 1 คน ซึ่งตอนนี้อายุ 44 ปีแล้ว ที่สำคัญเขามีหน้าที่การงานที่มั่นคง ผมจึงไม่ได้ห่วงเรื่องนี้ แต่ถ้าพูดถึงคำสอนที่ผมใช้ในการสอนลูกคือ เรื่องของความซื่อสัตย์ ที่สำคัญผมจะสอนให้ลูกรักบริษัทหรือที่ทำงานให้เสมือนเป็นบริษัทของตัวเอง เวลามาทำงานให้มาก่อนเวลา โดยต้องถึงบริษัทตอน 7 โมงเช้า และให้กลับบ้านตอน 1 ทุ่ม ที่สำคัญโอทีหรือค่าล่วงเวลาห้ามเบิก เพราะส่วนตัวผมเองก็ไม่เคยเบิกค่าโอทีเลย ผมทำงานเหมือนกับว่าที่ทำงานเป็นของผมเอง และที่สำคัญต้องไม่รับอามิสสินจ้างใดๆ”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |