26ก.ย.62-กรณีบินไปศัลยกรรมเสริมก้นถึงประเทศเกาหลี ของ “น้ำเพชร น้ำเพชร ฏีญาภาร์”แต่เกิดติดเชื้อมีแผลกว้างกว่า 2 นิ้ว หนองไหลทะลัก ต้องรักษาแผลนานกว่า 2 เดือน ซึ่งเจ้าตัวเปิดเผยเรื่องราวเพื่อเป็นอุทาหรณ์กับผู้อื่น เกือบเอาชีวิตไม่รอด ในเรื่องดังกล่าว นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง และผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงาม รพ.บางมด ได้ให้คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเองภายหลังการศัลยกรรมอย่างถูกวิธีว่า
“สิ่งสำคัญสำหรับการทำศัลยกรรม คือเรื่องความปลอดภัย ซึ่งการทำศัลยกรรมให้ปลอดภัยมีอยู่ 3 ส่วนหลัก ข้อแรกคือ ก่อนผ่าตัดควรตรวจวิเคราะห์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการผ่าตัด เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและพอดีกับรูปร่าง ข้อสอง คือ เทคนิคการผ่าตัด แพทย์ต้องมีเทคนิคการผ่าตัดที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดผลแทรกซ้อนภายหลัง และข้อสุดท้าย เป็นประการสำคัญที่มักจะลืมกันคือ การดูแลตนเองหลังผ่าตัด คนไข้ต้องดูแลตนเองอย่างดีด้วย แม้ก่อนทำการผ่าตัดจะมีการวิเคราะห์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีเทคนิคการผ่าตัดที่ดีแล้ว แต่หลังการผ่าตัดหากคนไข้ดูแลตนเองไม่ดีแล้ว อาจเกิดผลแทรกซ้อนภายหลังได้
สำหรับการเสริมสะโพก หรือเสริมก้น ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ควรระวังคือ อาจมีโอกาสติดเชื้อได้สูง เนื่องจากการเสริมสะโพก หรือเสริมก้นด้วยถุงซิลิโคน แผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณร่องก้น และอยู่ใกล้กับรูก้น เพราะฉะนั้น ถ้ามีการฉีดน้ำชำระล้าง หรือการทำความสะอาดไม่ดี ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ นอกจากนี้ หลังการผ่าตัดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แพทย์จะไม่แนะนำให้นั่งหรือนอนทับโดยตรง เนื่องจากในช่วงแรกแผลยังไม่หายดี เมื่อเกิดการกดทับ อาจส่งผลให้แผลเกิดการแยกได้ และอาจตามมาด้วยการติดเชื้อ ทำให้เกิดปัญหาภายหลังได้
ดังนั้น การศัลยกรรมเสริมสะโพก หรือเสริมก้น ถือเป็นการผ่าตัดที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี สำหรับผู้ที่ไม่มีสะโพกหรือก้น เพียงแต่การดูแลหลังผ่าตัด ต้องใช้ความระมัดระวังหลังการผ่าตัดมากกว่าการศัลยกรรมทั่วไป โดยสองข้อห้ามหลักที่ต้องระมัดระวังคือ ในช่วง 1 สัปดาห์แรก ไม่ควรนั่งทับโดยตรง เพราะแรงกดทับที่เกิดโดยตรง อาจทำให้แผลตึงและแยกได้ แต่สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ เช่น การเดิน ส่วนการนอน ควรเป็นท่านอนคว่ำก่อน นอกจากนี้ ต้องทานยาฆ่าเชื้อ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ และข้อสำคัญ งดการใช้สายฉีดชำระ ควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาด โดยทิศทางการทำความสะอาดควรมาด้านหน้า ไม่ย้อนไปด้านหลัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีรอยแผลผ่าตัด ทั้งนี้ โดยทั่วไปการดูแลตนเองหลังการผ่าตัดเสริมสะโพก หรือเสริมก้น แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลตนเองอย่างละเอียด เพื่อไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อหรือผลแทรกซ้อนตามมาภายหลัง
แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดการติดเชื้อเพียงแค่บริเวณผิวหนัง วิธีการรักษา คือ การทานยาฆ่าเชื้อ หรือให้ยาฆ่าเชื้อผ่านทางเส้นเลือด ก็สามารถรักษาได้ แต่หากเกิดการติดเชื้อลามเข้าสู่โพรงด้านในที่มีการใส่ซิลิโคน มีหนอง การรักษาที่ถูกต้องคือ การนำถุงซิลิโคนออกและรักษาอาการติดเชื้อให้หาย โดยมากใช้ระยะเวลาในการรักษา 3-6เดือน หลังจากนั้น สามารถเสริมสะโพก หรือเสริมก้น ได้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะปลอดภัยสูงสุด”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |