คุมเข้มออกใบขับขี่บิ๊กไบค์


เพิ่มเพื่อน    

 

                หลังจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาแสดงความกังวลว่า ปัจจุบันไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก และพบว่าสถิติอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตจากจักรยานยนต์บนท้องถนนมีมากถึง 74% ร้อนถึงกระทรวงคมนาคมเรียกประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เร่งรัดให้แก้ไขปัญหาและออกมาตรการความปลอดภัย เพื่อลดสถิติอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตจากจักรยานยนต์อย่างเร่งด่วน

                เบื้องต้นที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะกรรมการย่อยขึ้นมา 3 ชุด มอบให้ไปจัดทำมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และนำไปเปิดรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จ และนำกลับมาเสนอคณะทำงานเฉพาะกิจภายใน 30 วัน จากนั้นจะเสนอให้นายศักดิ์สยามพิจารณาเห็นชอบ และเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป

                สำหรับคณะทำงานย่อย 3 ชุด ประกอบด้วย คณะทำงานด้านยานพาหนะ, ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านการบังคับใช้กฎหมายและการประชาสัมพันธ์ คาดว่าจะสามารถนำมาตรการมาบังคับใช้ได้ภายในปีนี้เลย ซึ่งจะเป็นมาตรการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการต้องรอการแก้ไขหรือออกกฎหมาย โดยคณะทำงานย่อยจะต้องกลับไปออกมาตรการ โดยต้องยึดตามกรอบมาตรการ 7 ด้านที่คณะทำงานเฉพาะกิจเห็นชอบ

                ทั้งนี้ ในส่วนของแนวทางการนำไปปฏิบัติในการเพิ่มความเข้มงวดเรื่องการสอบภาคปฏิบัติเพื่อออกใบขับขี่ โดยเฉพาะบิ๊กไบค์ที่ต้องจัดทำสนามสอบภาคปฏิบัติใหม่ ควบคู่ไปกับการนำระบบจำลองสถานการณ์จริง (Simulator) ​มาใช้ร่วมกับบททดสอบภาคปฏิบัติ เช่นเดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่น ใช้การทดสอบระดับนี้ในการวัดจิตสำนึกความปลอดภัย (Safety Mindset) มาเป็นหนึ่งในเกณฑ์ให้คะแนนผู้ขับขี่ด้วย เหตุการณ์จำลองเสมือนจริง อาทิ การขับบนสภาพฝนตกถนนลื่น สถานกรณ์มีรถหรือวัตถุพุ่งตัดหน้า สถานการณ์กลับรถและสถานการณ์คับขันเมื่อรถกำลังจะชน เป็นต้น

                ขณะที่รถขนาดเล็กอาจมีการติดตั้งเบรกระบบ ABS เป็นต้น รวมทั้งกำหนดให้ผู้ผลิตแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงขนาดความจุกระบอกสูบบนตัวรถ เพื่อให้สามารถแบ่งแยกประเภทของรถได้ 4.มาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับการขับขี่จักรยานยนต์ โดยมีแนวคิดให้จัดทำเลนรถจักรยานยนต์เฉพาะแยกออกจากเลนรถยนต์

                เบื้องต้นมอบให้กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ไปศึกษาความเหมาะสมและจัดทำโครงการนำร่องในถนนที่เห็นว่าเหมาะสมกลับมาเสนอ รวมทั้งไปถึงการจัดทำสะพานลอยเฉพาะรถจักรยานยนต์ และทบทวนจุดกลับรถจักรยานยนต์ เพื่อแยกรถจักรยานยนต์ออกจากรถยนต์ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุได้

                สำหรับด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นการปรับถนนให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้ขับขี่ โดยจะเริ่มเส้นทางนำร่องที่จะแยกช่องจราจรสำหรับรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะ เพื่อแบ่งช่องจราจรกับรถยนต์ทั่วไปเลย ซึ่งจะมีการนำร่องทั่วถนนในต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ ส่วนในพื้นที่เมืองหลวงในจุดที่อันตรายอย่างสะพานข้ามแยกที่มีลักษณะแคบหรืออุโมงค์นั้น จะต้องเข้มงวดห้ามรถจักรยานยนต์ใช้ทางดังกล่าวโดยเด็ดขาด เช่น ถนนทางหลวงขนาดใหญ่หรือมอเตอร์เวย์ที่มีช่องถนนหลักและมีทางคู่ขนานขนาบข้าง ซึ่งจะปรับทางคู่ขนานให้รถวิ่งสวนทางกันได้ พร้อมติดตั้งป้ายจราจรและแสงไฟส่องสว่างให้ชัดเจน หวังแก้ปัญหาการขับรถย้อนศรแบบผิดกฎหมาย

                จะเห็นได้ว่าหลักการทั้งหมดที่กระทรวงคมนาคมได้มีการสรุปออกมาว่าจะดำเนินการในรูปแบบไหนในการปฏิรูปใบขับขี่บิ๊กไบค์ครั้งใหญ่ ถือเป็นการคุมกำเนิดไม่ให้ออกใบขับขี่ได้ง่าย มีทั้งเพิ่มเครื่องทดสอบทักษะและความยากของสนามสอบ มีเรื่องที่สังคมส่วนใหญ่น่าจะเห็นด้วย แถมยังจะมีกฎหมายคล้ายญี่ปุ่น คือผู้ที่ให้ยืมรถไปกระทำผิด จะต้องมีความผิดด้วย ก็ต้องมารอลุ้นว่าหลังจากนี้หลักการที่ว่ามาจะสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่. 

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"