ฉัฐรินทร์ ธรรมชัยโรจน์ สาธิตการชงกาแฟดอยคุง พันธุ์ใหม่ ที่ต้องมีกรรมวิธีการชงช้าๆเพื่อดึงรสชาติออกมาให้มากที่สุด
กว่า 30 ปี ที่โครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เข้าไปพัฒนาพื้นที่ดอยตุง จังหวัดเชียงรายจากสภาพป่าเสื่อมโทรมให้กลับมีสภาพที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง พร้อมกับแก้ไขปัญหาความยากจน สุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ ที่สำคัญ ยังเป็นการแก้ไขปัญหาการปลูกฝินพื้นที่บนดอยอีกด้วย พร้อมกับแนะนำให้ประชาชนมีทางรอดหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิดแทน และหนึ่งในนั้นคือ "กาแฟ "ซึ่งปัจจุบันสามารถสร้างรายได้และอาชีพให้กับคนในพื้นที่อย่างเป็นกอบเป็นกำ และกาแฟบนดอยตุง ได้กลายเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง
ความพิเศษของกาแฟดอยตุง อยู่ที่ระดับความสูงของพื้นที่เพาะปลูกและการพัฒนาสายพันธุ์ที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เข้าไปวิจัยและพัฒนาเอง รวมทั้ง ยังใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ นับตั้งแต่การศึกษาพื้นที่เพาะปลูก ออกแบบแปลงให้เหมาะสม การเลือกช่วงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งเลือกเฉพาะผลที่สุกกำลังดีด้วยมือเพื่อให้ได้ความหวานของกาแฟ รวมทั้งยังพิถีพิถันในขั้นตอนการแปรรูป การหมัก การสีเปลือก และการคั่ว เพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟพร้อมบริโภคที่มีคุณภาพ
จากการพัฒนาวิจัยมาอย่างยาวนาน ล่าสุดโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้เปิดตัว กาแฟเกรด “Specialty” 4 สายพันธุ์ ได้แก่ คาติมอร์(Catimor) ทิปิกา(Typica) กาโย(Gayo) และจาวา(Java) เป็นครั้งแรก โดยมีบาริสต้ามือโปรของคาเฟ่ดอยตุงและนักชิมกาแฟชั้นแนวหน้าของเมืองไทย มาร่วมเปิดประสบการณ์ เหล่าคอกาแฟ หรือคอฟฟี เลิฟเวอร์ ภายใต้แนวคิด Experience the Story of Doitung Coffee กับเรื่องราวกว่าจะเป็นกาแฟดอยตุงจากต้นจนจิบ ในงาน Thailand Coffee Fest 2018 ที่บูธ L30 และL31 ห้องแพลนารี ฮอลล์ 1-3 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันนี้ถึง 11 มีนาคม 2561
กาแฟเกรด Specialty 4 สายพันธุ์ มีความแตกต่างอย่างไร จากกาแฟแบรนด์ดอยตุงที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยมาแล้ว
กาแฟ 4สายพันธุ์ใหม่ของดอยตุง
ความแตกต่างนั้นเริ่มตั้งแต่ การเลือกพื้นที่ในการเพาะปลูก ซึ่งจะให้ผลผลิตที่มีรสชาติ กลิ่น แตกต่างไปจากเดิม
สายพันธุ์แรก"คาติมอร์" พันธุ์จากประเทศปอร์ตุเกส ที่นำมาจากหมู่บ้านท่าหิน สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด จังหวัดเชียงใหม่ มาวิจัยพัฒนาต่อยอด เนื่องจาก กาแฟสายพันธุ์นี้ต้องปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900-1150 เมตร หลังจากได้ผลผลิตแล้ว ก็จะเลือกเก็บเฉพาะเมล็ดที่สุก หลังจากนั้นนำมาผ่านกระบวนการแปรรูปแบบ Double Washed หรือการล้าง 2 ครั้ง นับว่ามีความพิถีพิถันสุดๆ ก่อนจะได้กาแฟรสชาติสะอาดใสแบบ Clean Cup นุ่มละมุล ให้กลิ่นอายคล้ายถั่วเฮเซลนัท
สายพันธุ์ที่สอง "ทิปิกา" ซึ่งได้นำเมล็ดมาวิจัยและพัฒนาต่อยอดจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก(ดอยมูเซอ) จังหวัดตาก มาลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,420 เมตร ผ่านกระบวนการแปรรูปแบบ Semi washed หรือกระบวนการล้างเพียงครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่เก็บเมล็ดเชอรี่สุก ซึ่งจะทำให้ได้รสชาติกาแฟที่ดื่มแล้วรู้สึกถึงความหอมหวานใสๆ ได้กลิ่นถึงดอกไม้ในกลุ่มจัสมินเบาๆ แต่หลังจากดื่มเสร็จที่ได้อารมณ์แบบ Black Tea ในลำคอ
สายพันธุ์ที่สาม "กาโย" ซึ่งได้นำเมล็ดมาวิจัยและพัฒนาต่อยอดจากประเทศอินโดนีเซีย ปลูกบนพื้นที่สูงระดับน้ำทะเล 1,380 เมตร ผ่านกระบวนการแปรรูปแบบ Semi washed หรือกระบวนการล้างเพียงครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่เก็บเมล็ด คั่วจนได้รสชาติกาแฟแตกใหม่แบบผลไม้ให้อารมณ์ฮันนี ไลค์และเชอร์รี่สุก ที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น
สายพันธุ์ที่สี่ "จาวา" ที่ต้นทางเป็นพันธุ์จากประเทศอินโดนีเซียนำเมล็ดมาวิจัยและพัฒนาต่อยอดจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์(เขาค้อ) จังหวัดเพชรบูรณ์ เพาะปลูกบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,420 เมตร ผ่านกระบวนการแปรรูปแบบ Honey หรือการคงไว้ซึ่งเมือกของเมล็ดเชอรี่ เพื่อเพิ่มความหวานในเมล็ดกาแฟ กาแฟที่ได้จะมีรสชาติแบบผลไม้สุกฉ่ำ หวานละมุนครีมมี่ในป่ก มีกลิ่นอายถั่วคั่วและคาราเมล ทำให้มีรสชาดซับซ้อนชวนค้นหา
ดริปกาแฟสกัดให้ได้รสชาติที่ลงตัว
ฉัฐรินทร์ ธรรมชัยโรจน์ Coffee Specialist Consultant กล่าวว่า จากการพัฒนาการแฟดอยตุงทั้ง 4 สายพันธุ์ ใช้เวลานานกว่า 3 ปี โดยทดลองปลูกกาแฟอาราบิก้าแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทางโครงการไม่เคยปลูกมาก่อนแ ละผ่านกระบวนการแปรรูปที่ทดสอบแล้วว่าเหมาะสมที่สุดในการดึงรสชาติและความโดดเด่นของแต่ละสายพันธุ์ออกมา และมีความพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสถานที่ปลูกบนความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ต่างกัน แปลงเพาะพันธุ์ไม่ปะปนสายพันธุ์อื่น ดูแลเก็บเกี่ยวเฉพาะผลที่สุกด้วยมือ ผ่านกระบวนการแปรรูปที่เอาใจใส่และเหมาะสม เพราะบางสายพันธุ์มีความต้านทานโรคต่ำ สภาพอากาศต้องเหมาะสม และมีโอกาสรอดที่ยาก ทำให้สามารถผลิตได้จำนวนจำกัดเพียง 70 กิโลกรัม พร้อมให้คอกาแฟได้ลองรสชาติแบบใหม่ของดอยตุง
“ 4 สายพันธุ์นี้จะเด่นกว่ากาแฟทั่วไปในตลาด ด้วยการเลือกวิธีการชงแบบดริป ที่ทำให้ดื่มง่าย สัมผัสง่าย สามารถซื้อกลับไปชงเองได้ด้วย ซึ่งรสชาติกาแฟทั่วไปที่ทุกคนดื่ม อาจจะชินกับรสขม เข้ม หวานมัน หากได้มาลองกาแฟทั้ง 4 รสชาตินี้อาจจะสร้างประสบการณ์ใหม่ เพราะมีทั้งรสชาติที่คล้ายน้ำหอม คล้ายถั่ว ทำให้เกิดการไปเสาะหารสชาติใหม่ๆเพิ่มขึ้น และพบเรื่องราวความเป็นมาของกาแฟมากขึ้นด้วย ที่สำคัญยังเป็นการยกระดับกาแฟไทยให้เทียบเท่าสากล เพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านด้วย” ฉัฐรินทร์ กล่าว
กว่าจะได้เป็นกาแฟดอยตุงต้องพิถีพิถันทุกขั้นตอน
ด้าน วัลลภ ปัสนานนท์ นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย กล่าวว่า กาแฟทั้ง 4 สายพันธุ์พิเศษที่ดอยตุงได้พัฒนาขึ้ย ถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาสายพันธุ์กาแฟของไทย ซึ่งคนที่ได้มาชิมหรือได้มาชม นอกจากจะได้รสชาติที่แปลกใหม่ ยังได้เข้าใจถึงที่มาเรื่องราวกว่าจะได้ออกมาเป็นเมล็ดกาแฟนั้นเป็นอย่างไร และยิ่งใช้วิธีการชงแบบดริป ที่มีความช้า เพื่อสกัดให้ได้รสชาติกาแฟที่ต้องการ ก็ยิ่งทำให้เข้าถึงศาสตร์ของการชง การควบคุมรสชาติที่เหมาะสม ได้เห็นกระบวนการทำ ซึ่งการดื่มกาแฟก็เหมือนกับการพบเจอเรื่องราวต่างๆของกาแฟ ยิ่งหากใครที่ชอบดื่มกาแฟดริปอาจจะถูกใจถูกปากด้วย
บอกเล่าความเป็นมากว่าจะเป็นกาแฟดอยตุง
นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมอาทิชมกาแฟดิบเกรดโดยบาริสต้าของกาแฟดอยตุงเรียนรู้และทดลองคัดแยกเมล็ดกาแฟตามคุณภาพสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องของกาแฟสามารถจองทริปแบบ Exclusive 3 วัน 2 คืนบนดอยตุงไปสัมผัสกาแฟตั้งแต่ปู่เก็บผลกาแฟในไร่จนถึงการแปรรูปเป็นต้นอย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรม esperance the story of ดอยตุงคอฟฟีกับกาแฟดอยตุงได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 11 มีนาคม 2560 ที่บูธเอว 30 และเอว 31 ห้องเพลนารี Hall 1-3 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์.
บรรยากาศในงานที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |