"ดุริยางคศิลป์ มหิดล "สร้างที่ยืนนักดนตรีไทยในเวทีระดับโลก                


เพิ่มเพื่อน    

             

ว.ดุริยางคศิลป์ มหิดล มาตรฐานทัดเทียมสถาบันดนตรีชั้นนำระดับโลก      
                                      
    การเรียนการสอนด้านดนตรี  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ ที่นักเรียนผู้มีความฝันจะเติบโตเป็นนักดนตรี หรือมีงานทำในแวดวงดนตรี ปักธงเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา  ปัจจุบันวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นสถาบันดนตรีแห่งแรกของประเทศไทยและแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่านการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานสถาบันดนตรีในยุโรป ล่าสุดหลักสูตรระดับปริญญาตรีได้รับการรับรองจาก MusiQue    ซึ่งเป็นมาตรฐานทัดเทียมสถาบันดนตรีชั้นนำระดับโลก

 

บรรยากาศการเรียนการสอน

     ทางวิทยาลัยจัดกิจกรรมเปิดบ้าน ทำให้มีโอกาสเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยดุริยางศิลป์ถึงห้องเรียน Private class เรียนแบบตัวต่อตัวระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  ที่อาคารภูมิพลสังคีต  จากนั้นไปห้องแสดงดนตรีชื่อห้องพระเจนดุริยางค์  ศึกษากำลังฝึกซ้อมแบบรวมวงดนตรีคลาสสิค ช่วยส่งเสริมทักษะการแสดงดนตรีของสมาชิกวง คอนดักเตอร์ผู้ควบคุมวงดนตรีเป็นนักศึกษาปริญญาโท เท่านั้นยังไม่พอเดินชมลานวงรี พื้นที่แสดงดนตรีกลางแจ้ง นักศึกษาและอาจารย์มักใช้เป็นสถานที่แสดงเดี่ยว รวมถึงจัดเทศกาลดนตรีสำคัญๆ ทั้งแจ๊ส ป๊อป หรือจะเป็นดนตรีไทย ที่นี่ยังมีหอแสดงดนตรีขนาด 353 ที่นั่ง สำหรับนักศึกษาทุกสาขาวิชาแสดงคอนเสิร์ต แสดงละคร และละครเพลง บางครั้งใช้เป็นห้องเรียนสำหรับคลาสใหญ่มากๆ ได้ด้วย 

    รศ.ดร.ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รักษาการอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก  โดยกำหนดเกณฑ์ประเมินและตัวชี้วัดที่เหมาะสมสะท้อนคุณภาพการดำเนินงาน โดยเริ่มนำเกณฑ์ AUN-QA (Asian University Network - Quality Assessment ) มาใช้ปี 2554 ซึ่งเป็นเกณฑ์ระดับอาเซียน แต่สถาบันมีหน้าที่สร้างบัณฑิตคุณภาพ จึงมีการประเมินคุณภาพทางการศึกษาเฉพาะทางในสาขาวิชาดนตรี Music Quality Enhancement (MusiQue ) มาตรฐานการศึกษาด้านดนตรีของสหภาพยุโรป เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับในระดับสากล 

ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์


    ความพยายามสู่การเป็นสถาบันดนตรีมาตรฐานนานาชาติ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ  คณบดีวิทยาลัยดุริยางศิลป์ ม.มหิดล ให้ข้อมูลว่า วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้รับการรับรองหลักสูตรจาก MusiQue เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 โดยได้รับรองระดับสถาบัน แต่เท่านั้นยังไม่พอ ทางสถาบันยังมุ่งให้ได้รับการรับรองระดับหลักสูตรด้วย  โดยเสนอให้รับรองหลักสูตรระดับปริญญาตรีก่อนเป็นลำดับแรก ปี 2561  ซึ่งจะต้องผ่านการประเมินตนเอง 8 ด้าน ได้แก่ เป้าหมายหลักสูตร กระบวนการด้านการศึกษา ข้อมูลนักศึกษา บุคลากรสายวิชาการ สิ่งอำนวยความสะดวก การสื่อสารองค์กร  วัฒนธรรมองค์กร ฯลฯ  


     การทำงานของคณะกรรมการตรวจประเมิน จะต้องเข้าชม สังเกตการณ์การสอนและการซ้อม ตรวจสอบคุณภาพเอกสารทางวิชาการ เข้าร่วมชมการแสดงดนตรีของวง Thailand Philharmonic Orchestra  และได้สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหาร นักศึกษา คณาจารย์ในหลักสูตร ตัวแทนจากบริษัทดนตรี     การประเมินที่เข้มข้นดังกล่าว  ทำให้ในที่สุดหลักสูตรดังกล่าว ก็ได้รับการรับรองจาก MusiQue วันที่ 28 มิถุนายน 2562 ถือเป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การรับรองมีผลถึงปี 2568  ซึ่งแผนขั้นต่อไปอยู่ระหว่างเตรียมการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อให้ที่นี่ผ่านการรับรองครบทุกหลักสูตรภายในสามปีนี้  

เรียนดนตรีเพื่อค้นหาตัวเอง

 

    " เราใช้การรับรองนี้ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรไปสู่ระดับสากลต่อไป  และสร้างนักศึกษาพร้อมทำงานระดับโลก   ที่สำคัญเปิดตลาดให้กว้างขึ้น บัณฑิตมีศักยภาพในการแข่งขันออกไปหางานที่ดีทำได้ทั่วโลก  ที่ผ่านมามีนักศึกษาออกไปทำงานต่างประเทศ  บางคนเป็นนักร้องโอเปราที่เวียนนา อยู่โรงละครโอเปร่าที่เยอรมัน บางคนประกอบอาชีพนักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ในต่างประเทศ ไทยต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมดนตรีอย่างจริงจัง ตลาดนี้ไม่เคยเล็กลง รัฐบาลต้องใช้ศิลปวัฒนธรรมสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจ  สร้างศิลปินนักหรือดนตรีดึงเงินเข้าประเทศอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ปัจจุบันนักดนตรีเป็นอาชีพที่มั่นคง เข้ากับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ยุคไทยแลนด์ 4.0  " ดร.ณรงค์ กล่าว 

ซ้อมวง

 

    สำหรับการเรียนการสอนระดับปริอญญาตรีมี  9 วิชาเอก คือ ดนตรีคลาสสิก ,ดนตรีแจ๊ส,ดนตรีสมัยนิยม, ละครเพลง,ดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก,การประพันธ์ดนตรี, ธุรกิจดนตรี ,ดนตรีศึกษาและการสอน  สุดท้ายเทคโนโลยีดนตรี เรียนเบื้องหลังการทำดนตรี 


    "การเรียนการสอนมุ่งเน้นค้นหาตัวเองให้เจอ ส่วนความเลิศทางวิชาการนั้นเป็นเรื่องเทคนิค ผู้สอนจะสนับสนุนเรื่องนี้อยู่แล้ว เราไม่เคี่ยวเข็ญให้ฝึกซ้อมเยอะ  แต่เรียนเพื่อค้นพบจุดเด่นของตัวเองถ้ามีเป้าหมายเป็นศิลปินที่ดี ประสบความสำเร็จในเส้นทางต่างๆ  ในอนาคต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์กำลังเดินหน้าเรื่องธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)  ให้กับบุคคลทั่วไป นักศึกษาคณะต่างๆจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น รวมถึงเด็กด้อยโอกาส ทั้งออทิสติก ดาวน์ซินโดรม หูหนวกตาบอด เพื่อเรียนในเวลาของตัวเองได้ เป็นการพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง "คณบดีกล่าว

บรรยากาศการเรียนการสอน


    ด้านนักศึกษา น้องโฟม-อรจิรา อุดมจันยา นักศึกษาชั้นปี 2 เอกดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก  บอกว่า การที่หลักสูตรผ่านการรับรอง MusiQue มีส่วนสนับสนุนเรื่องการมีงานทำในระดับสากล มั่นใจว่าการเรียนที่นี่จะพัฒนาอาชีพของตัวเอง เพราะสร้างความเป็นสากลในหลักสูตร ไม่ใช่แค่วิชาการ เชิญอาจารย์ระดับปรมาจารย์มาสอน เพิ่มแรงบันดาลใจ  ทั้งยังได้รู้วิถีชีวิตนักดนตรีจริงๆ  ยิ่งกว่านั้น มีกิจกรรมในวิทยาลัยที่สนับสนุนให้รู้จักธุรกิจดนตรีตั้งแต่เบื้องหน้าถึงเบื้องหลัง มีโอกาสแสดงคอนเสิร์ตเดี่ยวของตนเอง เห็นได้ว่า สร้างโอกาสการพัฒนาตัวเองและมีดีกรีเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเป็นอย่างดี

สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันในการเรียนการสอนดนตรี


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"