เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมานางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยเน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการใช้เงินอยู่ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลัง ซึ่งแผนการบริหารหนี้ดังกล่าว แบ่งเป็น 1. แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 8.9 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล วงเงิน 7.4 แสนล้านบาท จะเป็ฯการกู้มาเพื่อบริหารสภาพคล่องของเงินคงคลัง จำนวน 9 หมื่นล้านบาท เพื่อให้เพียงพอรองรับการเบิกจ่ายเป็นครั้งคราว รวมถึงรองรับการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐระยะสั้นของรัฐบาล ในช่วงไตรมาส 1-2 ของปีงบประมาณ 2563 โดยการออกตั๋วเงินคงคลังระยะสั้น ไม่เกิน 120 วัน
นอกจากนี้ รัฐบาลกู้มาใช้โดยตรง จำนวน 5.7 แสนล้านบาท มาจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ เป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ปี 2563 และเงินกู้ต่างประเทศเพื่อมาใช้ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งนี้ รัฐบาลกู้ในประเทศมาเพื่อให้กู้ต่อ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ จำนวน 8.5 หมื่นล้านบาท โดยเป็นโครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 5 โครงการ วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 9 โครงการ วงเงิน 6.5 หมื่นล้านบาท
สำหรับการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 13 แห่ง วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 8.7 หมื่นล้านบาท เช่น การเคหะแแห่งชาติ 4 พันล้านบาท การประปาส่วนภูมิภาค 6 พันล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 หมื่นล้านบาท บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินโครงการและเสริมสภาพคล่อง 5.6 หมื่นล้านบาท และ รฟท. อีก 1.4 หมื่นล้านบาท
2. แผนการบริหารหนี้เดิม จำนวน 8.3 แสนล้านบาท ประกอบด้วยหนี้เดิมของรัฐบาล (หนี้ในประเทศทั้งหมด) วงเงิน 6 แสนล้านบาท และหนี้เดิมของรัฐวิสาหกิจ (ทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศ) วงเงิน 2.2 แสนล้านบาทและ3.แผนการชำระหนี้ วงเงินรวม3.9 แสนล้านบาท
นางสาวรัชดา กล่าวอีกว่า แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 นั้น อยู่ภายในกรอบพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ที่กำหนดไว้ว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ต้องไม่เกิน 60% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 42.76% และสัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ ต้องไม่เกิน 35% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 18.48% รวมถึงสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด ต้องไม่เกิน 10% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 2.86% และสัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ ต้องไม่เกิน 5% ซึ่งการดำเนินงานปี 2563 อยู่ที่ 0.15%
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่ต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็น โดยกระบวนการรับฟังความคิดเห็นนี้ สำนักงบประมาณได้จัดประชุมให้ภาคส่วนต่างๆ แสดงความคิดเห็นกับกรอบวงเงินที่จัดสรรให้ไป รวมทั้งเปิดกว้างให้ประชาชนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ด้วย
"ข้อเสนอของภาคส่วนต่าง ๆ ในภาพรวม มีความห่วงใยต่อการบูรณาการการทำงานของกระทรวงต่าง ๆ ที่ต้องการเห็นการสอดประสานกันมากขึ้น และยึดยุทธศาสตร์ชาติเป็นหลักในการทำงาน ซึ่งข้อคิดเห็นต่างๆ นั้น สำนักงบประมาณได้จัดทำข้อชี้แจงกลับไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่ตั้งข้อสังเกตไว้แล้ว" นางสาวรัชดา กล่าว
อย่างไรก็ดี หลังจากนี้คาดว่าจะมีการนำเสนอร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2563 เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้ในวันที่ 17 ต.ค. นี้ และคาดว่าจะมีการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ได้ในวันที่ 28-29 ม.ค. 2563 และหลังจากนั้นในช่วงปลายเดือน ม.ค. 2563 จะมีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |