หมอเตือนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในเวลาสั้นๆ อันตรายถึงตาย เริ่มจากเกิดอาการสับสน พูดไม่ชัด อาเจียน หายใจผิดปกติหรือช้าลง ตัวเย็น ผิวหนังซีดหรือกลายเป็นสีม่วง หมดสติหรือรู้สึกตัวแต่ไม่อาจตอบสนอง
นพ.ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในช่วงปี 2561 พบผู้เข้ารับการบำบัดรักษาอาการติดสุราของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) มากเป็นอันดับที่ 2 ของประเภทยาเสพติดที่ใช้เสพ โดยมีจำนวน 1,050 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 16.94 ของผู้ป่วยทั้งหมด แบ่งเป็นเพศชาย 937 คน คิดเป็นร้อยละ 89.24 และเพศหญิง 113 คน คิดเป็นร้อยละ 10.76 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 40-44 ปี รองลงมา ได้แก่ ช่วงอายุระหว่าง 45-49 ปี และช่วงอายุระหว่าง 35-39 ปี
การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะถูกดูดซึมและกระจายไปทุกส่วนของร่างกายภายในเวลา 5 นาที จะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง มีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย การดื่มแอลกอฮอล์ช่วงแรกจะทำให้ร่างกายมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดอยู่ที่ประมาณ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เมื่อมากกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะทำให้ผู้ดื่มเกิดอาการสับสน มากกว่า 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดอาการง่วง สับสน ซึม มึนงง และถ้ามากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป อาจทำให้สลบ และทำให้เสียชีวิตได้
นพ.สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กล่าวว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในระยะเวลาสั้นๆ อาจทำให้เกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษเฉียบพลัน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งอาจมีสัญญาณบ่งบอกและอาการเตือนภาวะสุราเป็นพิษ เช่น เกิดอาการสับสน พูดไม่ชัดหรือพูดไม่รู้เรื่องอย่างหนัก อาเจียน จังหวะการหายใจผิดปกติหรือหายใจช้าลง ตัวเย็นผิดปกติ ผิวหนังซีดหรือกลายเป็นสีม่วง หมดสติ ไม่รู้สึกตัว หรือรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถตอบสนองการรับรู้ได้ ในกรณีที่ภาวะสุราเป็นพิษรุนแรงอาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการโคม่า สมองถูกทำลาย และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
"หากพบเพื่อนหรือบุคคลอื่นๆ มีอาการอาการดังกล่าว ให้รีบโทร.แจ้ง 191 หรือ 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ หรือนำส่งโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์อย่างเร่งด่วน และสามารถให้การดูแลเบื้องต้นโดยการพยายามปลุกให้ตื่นและพยุงให้อยู่ในท่านั่ง ให้ดื่มน้ำเปล่าในกรณีที่สามารถดื่มได้ พยายามทำให้ร่างกายอบอุ่น หากผู้ป่วยเป็นลมหมดสติ ให้จัดนอนในท่านอนตะแคง คอยสังเกตอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมารับ" นพ.สรายุทธ์กล่าว
ด้าน นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า การใช้สารกดประสาทร่วมกันและเกินขนาด ทำให้ส่วนของสมองที่คุมการปั๊มหายใจถูกกดจนทำให้สั่งงานไม่ได้ ดังมีสัญญาณอันตรายของภาวะกดทางเดินหายใจดังต่อไปนี้ คือ มึนงง สับสน, เพลียหมดแรง, คลื่นไส้-อาเจียน, มีเสียงเฮือกหรือถอนหายใจ, ซีดหรือเห็นสีม่วงที่ริมฝีปาก-นิ้วมือหรือนิ้วเท้า, หายใจตื้น, หายใจช้าลง, หยุดหายใจ ภาวะหายใจล้มเหลว ดังนั้นสิ่งที่พึงระวังคือการใช้สารต่อไปนี้ที่มีสิทธิเสี่ยงทำให้หยุดหายใจ คือ
1.ยานอนหลับ-ยาระงับอาการวิตกกังวล เช่น ยากลุ่มเบนโซไดอะเซพีนส์ หรือยากลุ่มบาร์บิทูเรตส์ (Barbiturates) ที่ใช้คลายกังวล (sedative hypnotic) หรือใช้เป็นยากันชัก แต่มีผลข้างเคียงได้ 2.ยาที่ใช้ทางวิสัญญีวิทยา 3.ยากันชัก อย่างฟีโนบาร์บิทัล 4.เอทานอล หรือแอลกอฮอล์ ก็คือเมรัยในแก้วดื่มทั้งหลาย หากเอามาผสมกับยานอนหลับ หรือยาที่มีฤทธิ์ให้หลับอื่นๆ เช่น ยากลุ่มบาร์บิทูเรต หรือคลอรัลไฮเดรต (Chloral hydrate) 5.ยาแก้ปวด ฝิ่น, อนุพันธ์ฝิ่น, มอร์ฟีน, ทรามาดอล, เฟนตานิล, เฮโรอีน 6.สารเสพติด เช่น ยาบ้า, โคเคน, ยาเสียสาว (Gamma Hydroxy Butyrate, GHB).
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |