อนาคตโรงเรียนเล็กในชนบท : อย่าใช้นโนบาย ‘ตัดเสื้อโหล’


เพิ่มเพื่อน    

 

          ผมไปฟังเสียงโรงเรียนเล็กๆ ในชนบทของจังหวัดศรีสะเกษมาครับ

                คุณครู, นักเรียน, ผู้อำนวยการและผู้ปกครองของโรงงเรียนห่างไกลปืนเที่ยงเหล่านี้ต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการฟังเสียงของพวกเขา

                เลิกนโยบาย “ตัดเสื้อโหล” และะหันมาปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจังด้วยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแนวทางการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง

                ผมทำรายการ “ฟังเสียงประเทศไทย คำตอบอยู่ในหมู่บ้าน” กับไทยพีบีเอสมาประมาณสองปีแล้ว มีโอกาสได้สัมผัสกับชุมชนในต่างจังหวัดทุกภาคที่สะท้อนถึงความรู้สึก, ความมุ่งหวัง, ความฝันและความมุ่งมั่นของคนไทยในต่างจังหวัดอย่างน่าประทับใจยิ่ง

                หากนักการเมืองและคนวางนโยบาของประเทศได้นั่งลงฟังชาวบ้านอย่างตั้งใจและถ่อมตนก็จะเรียนรู้ “ความเป็นจริงของประเทศไทย” ที่ไม่อาจจะหาได้จากรายะงานทางราชการหรือนักวิชาการที่ยึดทฤษฎีนำตำราเป็นหลักคิดและปฏิบัติ

                วันนี้คำว่า “คนต่างจังหวัด” ไม่ได้มีความหมายเหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียได้ทำให้คนในชนบทสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

                คนในเมืองยังคิดผิดๆ แบบเดิมว่าคนชนบทไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ และรัฐบาลกับหน่วยราชการส่วนกลางยังมีวิธีคิดแบบ “สั่งการลงไป” แทนที่จะ “ฟังเสียงชาวบ้านเพื่อหาคำตอบระดับชาติ”

                เพราะ “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” เป็นของจริงที่เกิดจากประสบการณ์แท้ๆ และพิสูจน์ว่าสามารถนำมาแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง

                แต่ “หลักคิดจากส่วนกลาง” ต่างหากที่เป็นปัญหา เพราะผู้วางนโยบายจะกำหนดนโยบายลงไปในระดับทั่วประเทศ ด้วยวิธีวัดผลแบบเดียวกัน ใช้ไม้วัดเดียวกัน และแม้กระทั่งฟอร์มสำหรับกรอกเพื่อประเมินผลก็เป็นฟอร์มเดียวกันหมด

                ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดที่มีนักเรียนหลายพันคน หรือเป็นโรงเรียนหมู่บ้านที่มีนักเรียนเพียง 20 คน และมีครูคนเดียวที่ต้องสอนทุกวิชา

                ผู้อำนวยการโรงเรียนของจังหวัดศรีสะเกษที่ผมได้นั่งพูดคุยด้วยเมื่อเร็วๆ นี้ต่างยืนยันเรียกร้องให้รัฐมนตรีศึกษาท่านใหม่ลงมานั่งฟังความเห็นและประสบการณ์จริงๆ ของพวกเขา

                ความคิดที่จะ “ควบ, รวม, ยุบ” โรงเรียนต่างจังหวัดที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คนนั้นไม่มีใครรู้ว่ามาจากไหน เป็นกระแสข่าวที่ชุมชน, ครู, พ่อแม่ผู้ปกครองทั่วประเทศได้รับรู้มาหลายปีแล้ว แต่ไม่มีใครรู้ว่านี่เป็น “นโยบาย” หรือเป็น “แนวความคิด” หรือเป็นเพียง “กระแส”

                เพราะถามแล้วก็ไม่มีใครตอบได้

                พอรัฐมนตรีศึกษาเปลี่ยนคน (ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมาก) ก็จะมีแนวทางใหม่ๆ เสมอ ไม่มีใครรู้ว่าแนวคิดนี้จะนำไปสู่การปฏิบัติหรือไม่ จะทำอย่างไร และใครจะเป็นคนมาฟังปัญหาของชุมชนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนในทุกระดับของประเทศ

                รัฐมนตรีศึกษาธิการคนไหนได้ลงไปนั่งฟังผู้นำชุมชนและผู้ปกครองในชนบทหรือไม่ ไม่แน่ชัด

                แต่ที่แน่ๆ คือโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งของ “บวร” หรือ “บ้าน, วัด, โรงเรียน” ซึ่งเป็นเสาหลักของสังคมที่จะสร้างให้เกิดความเข้มแข็งให้กับสังคมทุกระดับชั้น

                หากโรงเรียนถูกแยกออกจากบ้านและวัด, สิ่งที่จะตามมาก็คือ ความยุ่งยากและล่มสลายของโครงสร้างสังคมชนบท

                ผมได้รับทราบจากผู้นำชุมชนหลายแห่งว่าพวกเขาไม่ยอมให้ยุบ, ควบหรือรวมโรงเรียนเล็กๆ เพราะฝ่ายต่างๆ พร้อมจะเสียสละและทำงานร่วมกันเพื่อรักษาไว้ซึ่งโรงเรียนเอาไว้ ไม่ว่าจะเล็ก, กลางหรือใหญ่

                แต่เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการระดับเขตและจังหวัดบางคนก็ยังพยายามจะหว่านล้อมให้โรงเรียนเล็กบางแห่งยอมปิดตัวเองเพื่อไปควบรวมกับโรงเรียนอื่น ทั้งๆ ที่ไม่มีคำตอบว่าจะแก้ปัญหาที่ตามมาอย่างไร

                ผู้อำนวยการโรงเรียนเล็กๆ หลายแห่งที่ผมคุยด้วยยืนยันว่า พวกเขาพร้อมจะต่อสู้เพื่อปกปักรักษาสถาบันการศึกษาของชุมชนเอาไว้

                “เมื่อทางการไม่มีงบประมาณให้ เราก็หาวิธีของเราเอง คือระดมความช่วยเหลือจากสมาชิกชุมชนด้วยการจัดงานทอดผ้าป่าเพื่อเอาเงินมาจ้างครูให้มาสอนวิชาที่นักเรียนผู้ปกครองอยากได้...” หนึ่งในผู้อำนวยการโรงเรียนเล็กๆ ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คนบอกผม 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"