หวั่นฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายที่ประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพจะดึงเด็กและเยาวชนไทยเล่นพนันฟุตบอลออนไลน์เพิ่มขึ้น 11 องค์กรจับมือออกมาตรการป้องกัน ปราบปราม และช่วยเหลือเยียวยาอย่างเป็นระบบ
เมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ หลักสี่ 11 องค์กร ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรมการปกครอง กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมสุขภาพจิต สำนักงาน กสทช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานกองทุนเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดเวทีและพิธีลงนามความร่วมมือในการป้องกันเด็กและเยาวชนจากการพนันฟุตบอลออนไลน์ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งจะแข่งขันกันระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม นี้ ณ ประเทศรัสเซีย
ความร่วมมือครั้งนี้ประกอบ 4 มาตรการ ได้แก่ 1.การสื่อสารและสร้างความตระหนักสังคม โดยเฉพาะผลกระทบจากการพนันฟุตบอลออนไลน์ต่อเด็กและเยาวชน การประชาชนสัมพันธ์สายด่วนแจ้งเบาะแส 2.มาตรการป้องกัน เพื่อลดผลกระทบจาการพนันฟุตบอลออนไลน์ สนับสนุนการทำงานของสภาเด็กและเยาวชนพร้อมเครือข่ายต่างๆในการทำกิจกรรมป้องกัน 3.มาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉาะในร้านเกม ร้านอินเตอร์เน็ต และ 4. มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการพนันฟุตบอลออนไลน์
นายแพทย์กิตติศักดิ์ กลับดี ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รัฐบาลและหน่วยงานที่ดูแลด้านเด็ก เยาวชน สื่อ และสุขภาพ มีความเป็นห่วงปัญหาการเล่นการพนันในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยเฉพาะในกลุ่มของเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตสูงที่สุดในประเทศ พบว่า ในช่วงปี 2555-2559 มีรายงานว่าเล่นการพนันผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งมักมีการนำเสนอข้อมูลชักชวนเล่น พร้อมทั้งการกระตุ้นการเล่นผ่านสื่อต่างๆ การพนันออนไลน์ที่เด็กและวัยรุ่นนิยมสูงที่สุดคือการทายผลฟุตบอลออนไลน์ รองลงมาคือคาสิโนออนไลน์
"โดยในรอบ 1 ปีระหว่างพ.ศ.2558-2559 ปรากฎว่ามีเวปไซต์เล่นพนันออนไลน์มากถึง 213,000 เวปไซต์ จึงทำให้เด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเสี่ยงใหญ่ที่จะติดพนันเนื่องจากเข้าถึงง่ายและเล่นได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงมีอุปกรณ์เช่นมือถือ แทปเล็ต และคอมพิวเตอร์ เวปไซต์ส่วนใหญ่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ ซึ่งยากต่อการควบคุม ผลสำรวจในปี 2558 มีคนไทยเล่นการพนันร้อยละ 52 หรือประมาณ 27.4 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นนักพนันที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชนประมาณ 3.1 ล้านคน และยอมรับว่าตนเองติดพนันประมาณ 207,000 คน"
"เด็กและเยาวชนที่เล่นพนันจะมีผลกระทบทั้งการเรียน ก่อหนี้สิน ไปถึงขั้นก่ออาชญากรรม มีปัญหาสุขภาพ ความเครียด จากการวิเคราะห์ปัญหาในช่วงฟุตบอลยูโร พ.ศ. 2559 เด็กที่เล่นพนันทายผลบอล มีหนี้สินเฉลี่ย 2,016 บาท ร้อยละ 21 เสียการเรียน ร้อยละ 11 มีความเครียดมาก ผู้ที่เล่นการพนันจนถึงขั้นเสพติด ถ้าไม่ได้เล่นจะรู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวาย ร่างกายอ่อนแอ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง มีภาวะซึมเศร้า เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด 6 เท่า ติดเหล้า 5 เท่า เสี่ยงสูบบุหรี่ 3-10 เท่า มีความรุนแรงและใช้อาวุธ 6 เท่า มีภาวะซึมเศร้าและโอกาสฆ่าตัวตายสูงขึ้น 4 เท่า"
ทั้งนี้ในปี 2559 ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) ได้สำรวจพฤติกรรมการรับชมและการเล่นพนันทายผลฟุตบอลยูโร 2016 ในกลุ่มนักเรียนมัธยมปลายและอาชีวศึกษา 3,832 ตัวอย่างใน 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ เชียงใหม่ พิษณุโลก ชลบุรี ราชบุรี ขอนแก่น อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยสำรวจ 2 ช่วงเวลาคือ ก่อนการแข่งขันและหลังการแข่งขัน ผลการสำรวจพบว่า ก่อนแข่งขันมีกลุ่มที่ตั้งใจเล่นการพนัน 57% แต่เมื่อเริ่มแข่งขันแล้วมีการเล่นการพนันถึง 80%
ที่น่าห่วงคือ กลุ่มตัวอย่างที่ตอนแรกจะไม่เล่นการพนันแต่หันมาเล่นการพนันมีถึง 8% เนื่องจากถูกกระตุ้นและจูงใจโดยสื่อ และยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่ง หรือร้อยละ 43.7 ยอมรับว่ามุ่งเล่นพนันแบบได้เสีย วงเงินพนันเฉลี่ยจากเดิม 1,879 บาทต่อคู่ เพิ่มขึ้นเป็น 3,123 บาทต่อคู่ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างยังยอมรับว่า ใช้ข้อมูลจากช่องทางต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก เคเบิลทีวี เว็บพนันกว่าร้อยละ 91.5 มาประกอบการเล่นพนัน ที่น่ากังวลอีกคือพฤติกรรมเสี่ยงขณะรับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ทานอาหารฟาสต์ฟูดและดื่มน้ำหวานน้ำอัดลม ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |