ในหลวงร.9 ทรงมีพระราชดำริให้คนกับช้างสามารถอยู่ร่วมกันได้
เมื่อช่วง 20กว่าปีก่อน ช้างป่าที่กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กับคนในพื้นที่กลายเป็นศัตรูเข่นเคี่ยวกัน เพราะช้างออกจากป่ามาทำลายพืชไร่ กินสับปะรดที่ชาวบ้านปลูก สร้างความเสียหายให้ชาวไร่ จนปี . 2540ช้างป่าจำนวน 2 ตัว เสียชีวิต หนึ่งตัวได้รับสารพิษจากการทำไร่สับปะรดบริเวณพื้นที่บ้านรวมไทยหมู่ที่ 7 ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี และอีก 1 ตัว ถูกยิงเสียชีวิตและ ยังถูกเผาทิ้งด้วยยางรถยนต์บริเวณบ้านพุบอน หมู่ที่ 8 ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรีเนื่องจากเข้ามากินสับปะรดที่ชาวบ้านปลูกไว้
เหตุการณ์ช้างป่าเสียชีวิตทั้ง 2ตัว ทำให้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร" ในหลวง ร. 9 ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่19 มิ.ย. 2540 ว่า “ให้ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรีโดยใช้รูปแบบในการฟื้นฟูเช่นเดียวกับการดำเนินงานของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯจังหวัดเพชรบุรี และโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ จังหวัดราชบุรี”
ต่อมาทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ 29พ.ค. 2541 ว่า ให้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกโดยปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้มาก ให้ปลูกสับปะรดที่คุณภาพไม่จำเป็นต้องดีนักสำหรับเป็นอาหารช้าง เพื่อให้คนและช้างสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ทรงแนะให้ดึงชาวบ้านมาช่วยดูแลพืชอาหารช้างพร้อมทั้งให้ค่าตอบแทนกับชาวบ้าน หรือไม่มีที่พักให้จัดที่พักอาศัยให้โดยไม่ต้องแพงนักและให้ปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ด้วย
นอกจากนี้ ยังทรงแนะให้มีการฟื้นฟูป่า ให้สมบูรณ์ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้ช้างป่าออกมาหากินภายนอก และยังทรงมีพระราชดำริอีกหลายครั้ง เกี่ยวกับการแก้ปัญหาช้างป่า แต่ครั้งสำคัญคือ ทรงมีพระราชริเมื่อวันที่5 กรกฎาคม พ.ศ. 2542ความว่า
" ช้างควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างให้เพียงพอการปฏิบัติ คือ ให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลงเล็ก ๆ และกระจาย กรณีช้างออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างบ้าง"
จากแนวพระราชดำริ ทำให้เป็นที่มาของโครงการอนุรักษ์ช้างป่ากุยบุรี ที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2542-2558 ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพปาสงวนแห่งชาติปากุยบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2542-2549) นอกจากนี้ ยังมีโครงการอนุรักษ์ ตามมาอีก 2 โครงการ ซึ่งเป็นการขยายผลจากโครงการพระราชดำเริ ได้แก่ โครงการ"ช้างป่า...บ้านพ่อ" (2553-2555) และ พันธะสัญญาเทือกเขาตะนาวศรี 2555
นอกจากนี้ยังมีการดำเนินงานต่อเนื่องของมูลนิธิช้างป้า...บ้านพ่อ 2555 ,โครงการ POWER of Kuiburi แผนยุทธศาสตร์"คน ข้าง ป้า" (2556 - 2556) แผนยุทธศาสตร์ "คนข้าง ป้า"ระยะที่สอง ( 2556- 2558)ครอบคลุม3ยุทธศาสตร์ หลัก 11 กลยุทธ์ 22 กิจกรรม.
แผนผังแปลงหญ้าที่ปลูกกระจายในป่า ตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้ช้างมีแหล่งอาหารไม่ต้องออกจากป่า
จนมาถึงวันนี้ โครงการให้ช้างอยู่ร่วมกับคน หรือคนอยู่ร่วมกับช้าง หรือที่เรียกว่า"กุยบุรีโมเดล"นับว่าประสบความสำเร็จ สามารถลดปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างคนกับช้างได้ ช้างออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตรในพื้นให้น้อยลง ซึ่งช่วยทำให้ชาวบ้านมีทัศนะคติต่อช้างป่าดีขึ้น
ในปี2560 มีการตั้งศูนย์เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จับมือ กลุ่มบริษัททรู และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย (WWF) WWF โดยนำเทคโนโลยี IOT นำเทคโนโลยี IOT เสริมศักยภาพการบริหารจัดการลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าบุรี
โดยกลุ่มทรูได้ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารร่วมกับการใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (camera trap) และพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) ในคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนแบบเรียลไทม์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังช้างป่าออกนอกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสนับสนุนด้านพัฒนาระบบ Cloud / Application / Camera trap พร้อม SIM จำนวน 25 ชุด เสาสัญญาณ3 จุด โทรศัพท์มือถือ 16 เครื่อง อาคารศูนย์ปฏิบัติการพร้อมระบบคอมพิวเตอร์ และยังมอบกรมธรรม์คุ้มครองอุบัติเหตุให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการผลักดันช้างป่า ซึ่งนอกจากจะช่วยผลักดันช้างให้กลับเข้าป่าได้เกือบ 100% แล้วยังสามารถยืนยันหลักฐานการเพิ่มขึ้นของประชากรช้างป่าอย่างต่อเนื่องจาก 237 ตัว เป็น 400 ตัว
นายวราวุธ ศิลปอาชา เปิดงานศูนย์เฝ้าระวังเตือนภัยช่างป่า ที่กลุ่มทรูสนับสนุนเทคโนโลยี
ในพิธีเปิดศูนย์เฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ก.ย.2562 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาเป็นประธานเปิดงาน พร้อมกับกล่าวว่ากรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้น้อมนำพระราชดำรัสของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2542 ว่าช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารเพียงพอ การปฎิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารในป่า เป็นแปลงเล็กๆ และกระจายและถ้ามีช้างออกจากป่า ก็ควรดูแลให้ช้างปลอดภัย ทางกรมอุทยานฯจึงน้อมน้ำพระราชดำริมาแก้ปัญหา ส่งผลให้ปัญหาได้คลี่คลายไปแล้วระดับหนึ่ง และต่อมากรมอุทยานฯและกลุ่มทรู ได้ทำบันทึกความเข้าใจ ร่วมมือตามโครงการเฝ้าระวังช้างป่า ด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่อุทยานกุยบุรี พื้นที่รอยต่อระหว่างเขตอนุรักษ์กับพื้นที่เกษตรของชาวบ้าน ซึ่งระบบนี้ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ร่วมกับการใช้กล้องดักถ่ายภาพอัติโนมัติ( Camera trap) และพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า ในคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน แบบReal time หากมีช้างป่าออกมา ก็จะมีเจ้าหน้าที่ชุดที่เตรียมไว้เฝ้าระวังผลักดันช้างกลับเข้าไปในป่า
"ผลของโครงการเฝ้าระวัง สามารถผลักดันช้างออกจากป่าจาก 25% เหลือ 5% สามารถลดความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ แต่การแก้ปัญหาระยะยาวคือ ต้องทำให้ป่าสมบูรณ์มีอาหาร ช้างก็จะไม่ออกมา คนกับช้างก็จะอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งถ้าป่าไม่มีอาหาร ช้างก็จะหิว ต้องออกมานอกพื้นที่ ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องคิดถึงใจของช้างบ้าง เพราะช้างไปบ่นกับใครไม่ได้ ซึ่งกระทรวงทรัพย์ฯเอง ก็มีนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่านตอนนี้ เรามีอยู่ 30% ซึ่งเราตั้งเป้าอีก 20ปีช้างหน้าเราจะต้องมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นให้ได้ในสัดส่วน 40%"
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ์ ผู้บริหารจากกลุ่มทรู กล่าวอธิบายถึง การทำงานของระบบ Elephant smart early warning system จะติดตั้ง camera trap พร้อม Sim และSD card บริเวณด่านที่่ช้างออกมาทั้ง 25ด่าน เมื่อช้างหรือวัตถุใดๆ เคลื่อนไหวผ่าน กล้องจะทำการบันทึก และส่งภาพไปยังระบบ Cloud โดยเจ้าหน้าที่ห้องศูนย์ปฎิบัติการ จะทำการสกรีนภาพ และส่งภาพผ่านมือถือเข้า อีเมลล์ ของเจ้าหน้าผ่านระบบ Application Smart Ranger เพื่อแจ้งเตือนให้เจ้าที่ดำเนินการผลักดันช้างออกจากพื้นที่ และเมื่อผลักดันสำเร็จจะต้องทำการบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น พิกัดด่านที่ช้างออกมา จำนวนช้าง เวลา ความเสียหายเป็นต้น ซึ่งระบบCloud จะทำการประมวลผล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์แก้ปัญหาต่อไป
เจ้าหน้าที่โชว์ระบบเตือนภัยช้างป่า ที่กลุ่มทรูสนับสนุนเทคโนโลยี และได้ผลสามารถผลักดันช้างกลับเข้าสู่ป่า ไม่ทำลายพืชผลเกษตรชาวบ้านได้อย่างดี
"เราเริ่มโครงการจริงๆเมื่อเดือนมี.ค.61 ในแผนความร่วมมือ 20เดือน และเริ่มใช้งานของระบบเมื่อเดือนต.ค.ปีเดียวกัน ผลที่ได้ชัดเจน ลดความเสียหายพื้นที่ของเกษตรกรกว่า 168 ครั้ง หลังติดตั้งกล้องพบพื้นที่เกษตรเสียหายเพียง 2ครั้งเท่านั้น เกิดจากช้างป่าตัวนั้นไม่ได้เดินผ่านกล้่อง เทียบกับกลุ่มช้างป่าที่เดินผ่านกล้อง ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้ไม่พบความเสียหายเลย"ดร.ธีระพลกล่าว
โชว์การปฎิบัติงานระบบเตือนภัย
นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า จากการรายงานในช่วงตั้งแต่เดือนพ.ย.61 ถึงปัจจุบัน หรือในช่วง 10เดือน พบว่ากล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าอัติโนมัติ สามารถบันทึกภาพช้างป่าได้ 518ครั้ง รวม 1,826ภาพ ส่วนพื้นที่ ได้พบข้างป่าบางแห่ง ได้ก่อให้เกิดความเสียหายพืชผลเกษตรกรเพียงจขำนวน 27ครั้ง หากเปรียบเทียบเชิงสถิติ ในก่อนมีการติดตั้งกล้อง ในช่วง พ.ย.60-ส.ค.61 พบว่าช้างป่าออกมาทำลายพืชผลเกษตร 628ครั้ง และสร้างความเสียหายพืชผลทางการเกษตร 217ครั้ง แสดงให้เห็นผลสำเร็จการติดตั้งกล้องดักถ่ายอัติโนมัติ
รมว.ทส.ดูงานห้องปฎิบัติการเฝ้าระวังเตือนภัย
โครงการดึงช้างกลับเข้าป่า และให้คนอยู่กับช้างได้ ตามแบบของ"กุยบุรีโมเดล "เป็นการทำตามแนวพระราชดำริ คือ การสร้างแหล่งอาหารให้ช้างด้วยการทำแปลงหญ้ากว่า 200 ชนิด ในป่า และออกแบบให้เป็นแปลงเล็กๆ กระจายตามที่ต่างๆ และการแบ่งแนวบัฟเฟอร์ ระหว่างพื้นที่ป่า กับพื้นที่ชาวบ้าน นอกจากนี้ ยังสร้างแหล่งน้ำ ไว้ตามจุดต่างๆ ซึ่งในหน้าแล้งช้างจะได้มีน้ำกิน แหล่งน้ำนี้ มีเครือข่ายฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง ร่วมมือนำน้ำมาเติม โดยมีการทำบ่อบาดาลไว้พื้นที่ใกล้เคียง และใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์ สูบน้ำมาเติมให้ช้าง ทางโครงการยังมีแผนที่จะทำแหล่งอาหารให้ช้างลึกเข้าไปในป่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นการดึงช้างกลับเข้าป่าไม่ออกมาพื้นที่ภายนอก
นิทรรศการในงานบอกเล่าพระราชดำริ ในหลวง ร.9 ก่อนมาเป็นกุยบุรีโมเดล
กำนันศรีสวัสดิ์ บุญมา กำนันต.หาดขาม อ.กุยบุรี กล่าวว่า การดำเนินงานของกุยบุรีโมเดล ซึ่งมี13หน่วยงานที่ได้มาร่วมกันทำโครงการพระราชดำริ เพื่อให้สัตว์ป่ามีที่อยู่ ที่อาศัย ที่กิน เพราะถ้ามีแหล่งอาหารครบเขาก็จะไม่ออกมาทำลายพืชไร่ ซึ่งการที่มีบางคน ที่เป็นส่วนน้อยออกมาเรียกร้อง ให้มีการสร้างรั้วป้องกันช้างออกมาไปเหมือนที่ป่าละอูทำอยู่ตอนนี้ ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา พวกผู้นำชุมชนและหลายหน่วยงานที่ร่วมทำโครงการพระราชดำริ จะดำเนินรอยตามในหลวงร.9 เท่านั้น คือการทำให้ป่าสมบูรณ์ และการผลักดันช้างออกไป ไม่สร้างผลกระทบกับสัตว์ป่าไม่ใช่การทำร้ายสัตว์ เพราะในความเป็นจริง ถ้าคนไปกดดันช้างมากๆ สร้างรั้ว ช้างกลับออกไปไม่ได้ ช้างจะมีความเครียด พฤติกรรมเขาจะเปลี่ยน จะหันมาสู้ หรือทำร้ายคน ดังนั้น การทำป่าให้เป็นบ้านของช้างจึงเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด
"ความพยายามที่ผ่านมาตั้งแต่ปี2542-2558 ของกุยบุรีโมเดล ถือว่าประสบความสำเร็จ แม้แต่ต่างชาติก็มาดูงาน พระราชดำริของในหลวงร. 9 ทรงขอพื้นที่ให้ช้างอยู่ได้ ถ้าไม่ทรงขอ คนจะบุกรุกหมด และทรงพยายามทำให้ะช้างอยู่ได้ คนอยู่ได้ ตอนนี้ การท่องเที่ยวกุยบุรีสร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ ความเกลียดชังช้างของคนก็ลดลงไป ช้างออกมาเดินให้นักท่องเที่ยวได้ดู "กำนันศรีสวัสดิ์กล่าว
---------------------------
1.ในหลวงร.9 ทรงมีพระราชดำริให้คนกับช้างสามารถอยู่ร่วมกันได้
2.-3.ช้างป่ากุยบุรี
4.ภาพนิทรรศการ บอกเล่าความเป็นมาของโครงการกุยบุรีโมเดล ที่ประสบความสำเร็จ
5.แผนผังแปลงหญ้าที่กระจายปลูกในป่า เพื่อให้ช้างมีแหล่งอาหารไม่ต้องออกมา
6.นายวราวุธ ศิลปอาชา เปิดงานศูนย์เฝ้าระวังเตือนภัยช่างป่า ที่กลุ่มทรูสนับสนุนเทคโนโลยี
7.รมว.ทส.ดูงานห้องปฎิบัติการเฝ้าระวังเตือนภัย
8.การทำงานของเจ้าหน้าที่