ลุ้นสถานการณ์ส่งออก


เพิ่มเพื่อน    

      เห็นตัวเลขการส่งออกล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์ พบว่า 8 เดือนของปี 2562 (ม.ค.-ส.ค.) ทำการส่งออกได้ถึง 166,090.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็ถือว่าไม่ขี้ริ้วขี้เหร่อะไร เพราะต่ำกว่าปีก่อนหน้าเพียง 2.19% ท่ามกลางปัญหาหลากหลาย ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ แต่การส่งออกที่ทำได้ระดับนี้ถือว่าไม่ตกมากนัก 

        และหากมองเฉพาะ ส.ค.เดือนเดียวก็ทำยอดได้สูงที่สุดของปี ซึ่งมีอยู่ที่ 21,914.9 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้จะลดลงจากปีก่อน 4% แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่า ส่งออกของไทยไม่ได้แย่มากนัก เพราะเรื่องส่งออกจะโตมากโตน้อย มันขึ้นอยู่กับต่างประเทศว่าจะสั่งซื้อสินค้าจากไทยเราเยอะแค่ไหน ซึ่งในปีนี้ใครๆ ก็รู้ว่าเศรษฐกิจโลกไม่ดี กำลังซื้อจากประเทศในยุโรปลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทไทยก็แข็งค่าค่อนข้างมาก ซึ่งก็ส่งผลให้การส่งออกของไทยเรายากขึ้นไปด้วย

        ดังนั้น การมองเป้าการเติบโตที่ 3% ของกระทรวงพาณิชย์ในปีนี้ จึงไม่ต่างจากการเข็นครกขึ้นภูเขา เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย อย่างที่ น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ระบุเอาไว้ในงานแถลงข่าวล่าสุดว่า แนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ (ก.ย.-ธ.ค.) หากจะให้ทำได้ตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ 3% การส่งออกแต่ละเดือนต้องทำได้เดือนละ 2.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่ถ้าการส่งออกยังทำได้ในระดับเดือนละ 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งปีจะขยายตัวเป็นบวกที่ 0% ขึ้นไป

        ซึ่งก็หมายความว่า ถ้าจะให้ส่งออกถึงเป้า ต้องทำให้มูลค่าส่งออกในช่วง 4 เดือนนี้ต้องทำให้ถึง 2.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ  ซึ่งโอกาสถือว่าค่อนข้างยากมากเลยทีเดียว แต่ก็ดีที่ทางหน่วยงานภาครัฐยังไม่ได้ที่จะถอดใจ ล่าสุด ทาง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ก็สั่งงานให้เร่งขยายตลาดข้าวในอิรัก และขยายตลาดจอร์แดน กาตาร์ บาห์เรน คูเวต ผลักดันเพิ่มการส่งออกในอาเซียนและ CLMV ขยายตลาดจีน ที่จะมีเน้นมณฑลและเมืองรองที่ยังเข้าไม่ถึงตลาดอินเดีย จะนำคณะไปเยือนเพื่อผลักดันการขายสินค้าเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสินค้าเกษตรอื่นๆ

        ทั้งนี้ หากเจาะตลาดได้ และได้รับการสั่งซื้อเพิ่มก็ถือเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจ เพื่อมาทดแทนกับตลาดเก่าที่เป็นคู่ค้ากับไทยยาวนาน ทั้งญี่ปุ่น, สหภาพยุโรป, อาเซียน, เอเชียใต้และจีน ที่ยอดคำสั่งซื้อลดลง

        ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ (อีไอซี) ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2019 มีแนวโน้มต่ำกว่าที่เคยประมาณการไว้ที่ -2.0% เล็กน้อย โดยคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี มูลค่าการส่งออกจะหดตัวต่อเนื่อง ยกเว้นเดือน ก.ย.ที่มูลค่าส่งออกอาจพลิกกลับมาเป็นบวกได้เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน

        ส่วนปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ประกอบไปด้วย 1. ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนยังคงมีทีท่ายืดเยื้อ จากสถานการณ์ล่าสุด สหรัฐได้ปรับเพิ่มภาษีนำเข้าเพิ่มเติมของสินค้าจีนมูลค่า 1.04 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 10% เป็น 15% ในวันที่ 1 ก.ย.2019 ที่ผ่านมา และยังมีแผนปรับเพิ่มภาษีนำเข้าต่อสินค้าจีนอีก 2 ช่วง คือวันที่ 15 ต.ค.2019 จะปรับเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 25% เป็น 30% และวันที่ 15 ธ.ค.2019 จะเพิ่มภาษีสินค้าจีนมูลค่า 1.56 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 10% เป็น 15% โดยยังต้องติดตามผลการเจรจาทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐในช่วงต้นเดือน ต.ค.2019 ว่าจะมีทิศทางอย่างไร

        2. เหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกงที่อาจทำให้การส่งออกไทยไปฮ่องกงได้รับผลกระทบ เนื่องจากเศรษฐกิจของฮ่องกงก็หดตัวลงไป -0.4% 3.ประเด็นความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่นำมาสู่การตอบโต้ทางเศรษฐกิจ โดยความขัดแย้งดังกล่าว ทำให้ทั้งสองประเทศได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เนื่องจากทั้งสองประเทศมีการพึ่งพาระหว่างกันค่อนข้างมาก ดังนั้นการที่เศรษฐกิจของทั้งคู่มีแนวโน้มชะลอลงจากความขัดแย้ง จึงอาจทำให้การส่งออกของไทยไปทั้งสองประเทศได้รับผลกระทบไปด้วยในระยะต่อไป.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"