‘สากล ม่วงศิริ’ ผู้ช่วย รมว.พม.และ ผอ.พอช.เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ จ.อุบลราชธานี พร้อมเตรียมเคลื่อนแผนระบบการป้องกันภัยพิบัติชุมชนอย่างยั่งยืน


เพิ่มเพื่อน    

อุบลราชธานี/ นายสากล  ม่วงศิริ  ผู้ช่วย รมว.พม.และนายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผอ.พอช.ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบภัยและมอบถุงยังชีพให้ชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม  พร้อมเตรียมขับเคลื่อนแผนร่วมกับขบวนองค์กรชุมชน  หน่วยงานภาครัฐ  และเอกชน  โดยจัดทำแผนระยะเร่งด่วน  ระยะกลาง  และการสร้างระบบการป้องกันภัยพิบัติชุมชนอย่างยั่งยืน  เพื่อให้ชุมชนเตรียมรับมือภัยพิบัติทุกด้านได้อย่างรวดเร็ว

วันอาทิตย์ (22 กันยายน)  นายสากล ม่วงศิริ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  และคณะ  พร้อมด้วยนายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ลงพื้นที่เยี่ยมและมอบถุงยังชีพเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยวัดแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

นายสากล  ม่วงศิริ (ที่ 2 จากขวา)

นายสากล ม่วงศิริ   ผู้ช่วย รมว.พม. กล่าวว่า ในส่วนการช่วยเหลือของกระทรวง พม. นั้น  ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจจำนวนผู้ประสบภัยที่ได้รับความเดือดร้อนในครั้งนี้   พร้อมจัดตั้งศูนย์เพื่อรับแจ้งความช่วยเหลือจากพี่น้องประชาชน   ส่วนทางด้าน พอช.ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายภัยพิบัติภาคประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี  เพื่อบริหารจัดการสิ่งของที่ได้รับบริจาคให้ถึงมือของผู้เดือดร้อนอย่างทั่วถึง  และทำโรงครัวเพื่อเลี้ยงอาหารให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วม  2  ศูนย์คือ  ศูนย์วัดแสนสำราญ  อำเภอวารินชำราบ  และศูนย์วัดกุดคูณ  อำเภอเมือง   จ.อุบลราชธานี

หลังจากนั้นนายสากล  ม่วงศิริ  ได้มอบถุงยังชีพให้กับประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน  จำนวน 300 ถุง  นายสมชาติ ภาระสุวรรณ  ผอ.พอช.  มอบงบประมาณในการจัดตั้งศูนย์ฯ  เพื่อจัดกระบวนการฟื้นฟูชุมชนผู้ประสบภัยหลังน้ำลด จำนวน  80,000  บาท  และมอบงบประมาณสมทบการจัดตั้งโรงครัวกลางให้แก่เครือข่ายภัยพิบัติเมืองวารินชำราบจำนวน 100,000  บาท   พร้อมกับเดินเยี่ยมให้กำลังใจแก่ประชาชนในศูนย์พักพิงฯ

นายสมชาติ ภาระสุวรรณ  กล่าวว่า  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชนและภาคีเครือข่ายวางแผนงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน่ำท่วม  ดังนี้  1. แผนระยะเร่งด่วน คือ  จัดตั้ง ‘ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภัยพิบัติภาคประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี’  เพื่อการจัดการในช่วงเผชิญเหตุน้ำท่วม  เป็นการ สนับสนุนให้ชุมชนได้มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาของตัวเองร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐเอกชน

“ภารกิจของศูนย์  คือ  อพยพประชาชนในพื้นที่ไปในพื้นที่ที่ปลอดภัย  จัดระเบียบการอยู่ร่วมกันในช่วงอยู่ในศูนย์ฯ ประสานขอความร่วมมือกับองค์กรช่วยเหลือต่างๆ รับบริจาคสิ่งของช่วยประชาชน  จัดระบบเวรยามดูแลทรัพย์สินในพื้นที่น้ำท่วม  และจัดตั้งโรงครัวเพื่อประกอบอาหารให้กับผู้ประสบภัยทั้งในศูนย์และนอกศูนย์ เป็นต้น”  ผอ.พอช.กล่าว

นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ มอบน้ำดื่มให้ชาวบ้าน

ระยะที่ 2  หรือการฟื้นฟูหลังน้ำลด ซึ่งเป็นช่วงน้ำลดแล้ว และประชาชนต้องอพยพกลับบ้าน  แต่ผลกระทบจากน้ำท่วมอาจจะทำให้ประชาชนเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านเรือนไม่ได้  หรือยังไม่มีความปลอดภัย  หรือมีปัญหาในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกน้ำ  เช่น  น้ำประปา ไฟฟ้า  ในระยะนี้จึงต้องสำรวจข้อมูลชุมชนในทุกๆ ด้านเพื่อประเมินความเสียหายในด้านต่างๆ ทั้งตัวอาคารบ้านเรือน  โครงสร้างพื้นฐาน  การประกอบอาชีพ  ด้านสิ่งแวดล้อม  และภูมินิเวศน์ชุมชน

หลังจากนั้นจะมีกระบวนวิเคราะห์-สังเคราะห์ร่วมกัน  ทั้งในส่วนของชุมชนและหน่วยงานภาคีต่างๆ การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนในทุกด้านๆ  และการปฏิบัติการพัฒนาและฟื้นฟูชุมชน  ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย  โดยการสร้างการมีส่วนจากทุกภาคส่วน  ทั้งรัฐและเอกชน การพัฒนาอาชีพ  การฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน  การปรับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมชุมชน และการออกแบบผังชุมชนให้เกิดความปลอดภัยในการอยู่อาศัยระยะยาว

ระยะที่ 3 การสร้างระบบการป้องกันภัยพิบัติชุมชนอย่างยั่งยืน   โดยการจัดตั้ง ‘ศูนย์ภัยพิบัติอย่างยั่งยืน’   โดยการสนับสนุนให้ชุมชนมีความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาด้านภัยพิบัติในทุกๆ ด้าน  เพื่อลดความเสี่ยง  การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน   ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการแก้ปัญหาประชาชน  เช่น  การอพยพ  การจัดตั้งศูนย์พักพิงที่ปลอดภัย การดูแลความปลอดภัย การช่วยเหลือบรรเทาเบื้องต้น  และการสร้างระบบการสื่อสารข้อมูลที่แม่นยำรวดเร็วเข้าถึงจุดผู้เดือดร้อนได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

สำหรับสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำมูล   ขณะนี้ลดระดับลงโดยเฉลี่ย 10 เซนติเมตรต่อวัน  โดยภาพรวมสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้เริ่มคลี่คลายลง  ยังคงเหลือปริมาณน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ  แอ่งน้ำ  ที่น้ำไม่สามารถระบายน้ำออกได้  ประชาชนยังไม่สามารถย้ายกลับเข้าไปอยู่ในบ้านเรือนได้  คาดว่าน้ำแห้งภายในเวลาไม่ต่ำกว่า 20 วัน

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"