สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กับภารกิจด้านงานแปลกฎหมายและเว็บไซต์ Law for ASEAN


เพิ่มเพื่อน    

 

หลายคนอาจรู้จักสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายและให้ความเห็นทางกฎหมายแก่รัฐบาล อย่างไรก็ดี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังมีหน้าที่อีกประการหนึ่งในการจัดทำคำแปลของกฎหมายไทยอีกด้วย

งานแปลกฎหมายเป็นงานที่อยู่ควบคู่กับการจัดทำร่างกฎหมายมาตั้งแต่สมัยปฏิรูปกฎหมายไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการจ้างที่ปรึกษาต่างชาติมาให้คำแนะนำในการจัดทำร่างกฎหมายหลายท่าน ร่างกฎหมายในสมัยนั้นโดยเฉพาะประมวลกฎหมายต่างๆ จึงมักยกร่างขึ้นเป็นภาษาต่างชาติก่อน แล้วค่อยแปลกลับมาเป็นภาษาไทยเพื่อประกาศใช้ในภายหลัง จึงอาจกล่าวได้ว่า การแปลกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำร่างกฎหมายไทยยุคการปฏิรูปกฎหมายไทยมาตั้งแต่เริ่มแรก

แม้ปัจจุบันงานแปลกฎหมายจะมีบทบาทแตกต่างไปจากแต่ก่อนแล้ว แต่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยังคงสืบทอดและทำงานเกี่ยวกับการแปลกฎหมายมาโดยตลอดในฐานะที่เป็นหน้าที่หนึ่งของหน่วยงานตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี พ.. ๒๕๕๖ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำคำแปลกฎหมายไทยฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท

ประเภทที่หนึ่ง  คำแปลฉบับทางการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำขึ้นในอำนาจหน้าที่เพื่อใช้อ้างอิงความถูกต้องของกฎหมายไทยตามการร้องขอของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องใช้ในกรณีต่าง ๆ เช่น การเจรจาและจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ

ประเภทที่สอง  คำแปลฉบับไม่เป็นทางการ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดจ้างให้บุคคลภายนอกจัดทำขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลและรองรับความจำเป็นในการใช้คำแปลกฎหมายไทยฉบับภาษาอังกฤษของคนต่างชาติและประชาชนทั่วไป

แต่ไม่ว่าจะเป็นคำแปลประเภทใดผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลคำแปลกฎหมายดังกล่าวกว่า ๔๐๐ ฉบับ ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานฯ (www.krisdika.go.th)

นอกจากการจัดทำคำแปลกฎหมายไทยเป็นฉบับภาษาอังกฤษแล้ว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังมีการจัดทำเว็บไซต์ Law for ASEAN (https://lawforasean.krisdika.go.th) ขึ้นตั้งแต่ปี พ.. ๒๕๕๖ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเผยแพร่กฎหมายไทยและกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านกฎหมายและกฎระเบียบแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

ปัจจุบันเว็บไซต์ Law for ASEAN ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน ๗ ประเทศ ได้แก่ บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว และอินโดนีเซีย และข้อมูลงานวิจัยด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและความมั่นคง และสังคมและวัฒนธรรม จำนวน ๔ ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ลาว มาเลเซีย และบรูไน และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อมูลงานวิจัยด้านกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนอีกหลายประเทศ 

นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ Law for ASEAN ยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูลการวิเคราะห์พันธกรณี และบทความต่าง ๆ ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียน เป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้ทราบถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียนที่ถูกต้อง ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"