“TUDA2019" ออกแบบกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าเดิน


เพิ่มเพื่อน    

 

 

โมเดลโครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าสะพานควาย


    กรุงเทพมหานคร กำลังขยับขยายระบบขนส่งสาธารณะทางราง ตามเป้าหมายของกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระยะที่ 1 ระบุว่า ในอนาคตอาจจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยาวรวมกันเป็น 464 กิโลเมตร ถือเป็นการพลิกโฉมการเดินทางและเปลี่ยนเมืองกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครระบบรางอย่างเต็มรูปแบบ 


    แต่ทั้งนี้การพลิกโฉมระบบขนส่งสาธารณะเพียงอย่างเดียว ไม่ได้การันตีว่า กรุงเทพฯ จะกลายเป็นเมืองที่เจริญและน่าอยู่ เพราะสิ่งสำคัญที่สุด คือ สภาพแวดล้อมของเมืองต้องดีด้วย และการปรับปรุงพื้นที่เมืองให้เป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” เป็นเป้าหมายของการพัฒนาเมืองที่สำคัญประการหนึ่งที่เมืองต่างๆ ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจาก สามารถตอบโจทย์หลายด้าน ทั้งในเชิงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การประหยัดพลังงาน การรักษาสภาพแวดล้อม และการแก้ปัญหาจราจร 


    นอกจากนั้นยังสามารถส่งเสริมสุขภาวะของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองได้พร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างเมืองที่มีการปรับปรุงพื้นที่ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมให้คนเดินมากขึ้นเช่น โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในย่านชินจูกู เป็นย่านที่มีผู้คนสัญจรด้วยการเดินเท้ามากที่สุด เพราะเป็นศูนย์รวมแหล่งช็อปปิ้ง แหล่งท่องเที่ยว แล้วก็ตึกสูงระฟ้ามากมาย หรือ Bentway ในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ที่เนรมิตพื้นที่ใต้ทางด่วน ให้กลายเป็นลานกว้างสำหรับเชิญชวนผู้คนในเมืองออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือจะ Park Connector ที่สิงคโปร์ ศูนย์รวมกิจกรรมสันทนาการ ที่รายล้อมด้วยแม่น้ำและธรรมชาติมีพื้นที่เดิน และปั่นจักรยาน ฯลฯ 

นิทรรศการของ Bangkok Green Link


    นิทรรศการสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทยประจำปี 2019 หรือ Thai Urban Designers Association (TUDA 2019) ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “City Walk by Urban Design เมืองออกแบบ คนออกเดิน” โดยสมาคมสถาปนิกเมืองไทย และศูนย์ออกแบบและพัฒนาผังเมือง และภาคีพัฒนาเมืองหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา 15 แห่ง เป็นนิทรรศการที่แสดงผลงานตัวอย่างโครงการพัฒนาเมืองที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเดินเท้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รองรับการขนส่งระบบรางที่จะเกิดขึ้นเต็มรูปแบบในอนาคต เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และช่วยปลุกจิตสำนึกสังคม และทุกภาคส่วนถึงโครงการพัฒนาเมืองที่เน้นสภาพแวดล้อมและการเดินเท้า 

พิธีเปิดนิทรรศการเมื่อวันก่อน
    และในวันเปิดนิทรรศการเมื่อวันก่อน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาของเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ต้องอาศัยความเข้าใจและความสามารถในการใช้กระบวนการด้านนโยบาย และด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ที่สามารถเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยจะมีรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดินกว่า 300 สถานี การพัฒนาเมืองโดยเฉพาะสถานีเหล่านี้ ด้วยแนวคิดการเดินเท้า จึงเป็นเรื่องสำคัญและร่วมสมัย ที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจระดับจุลภาคในพื้นที่ต่างๆ ได้


    ขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ในฐานะประธานจัดงาน TUDA 2019 กล่าวว่า นิทรรศการ TUDA 2019 มีเป้าหมายเพื่อจุดประกายให้สังคม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เห็นถึงความสำคัญของโครงการพัฒนาเมืองเพื่อสนับสนุนการเดินเท้าในพื้นที่เขตเมือง ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สร้างสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ และมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน สถาบัน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง 15 องค์กร ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อที่ข้อมูลดังกล่าวจะสามารถต่อยอดสู่การสร้างเมืองที่เอื้อต่อการเดินเท้าได้ต่อไปในอนาคต

ตัวอย่างการปรับปรุงพื้นที่เมืองตามสถานที่ต่างๆ


    “เราเห็นความสำคัญของการเดินเท้า ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่พื้นฐานของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินเท้าภายในเขตพื้นที่เมือง จะว่าไป ข้อโต้แย้งที่ว่าทำไมเมืองต้องเดินได้ เดินดี แทบจะไม่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม แต่เป็นเรื่องของสุขภาวะของคน สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เมืองที่เดินได้-เดินดี ลดโอกาสที่จะเป็นโรคอ้วนถึง 10% สำคัญกับเมืองกรุงเทพที่สถิติคนเป็นโรคอ้วนถึง 44% นอกจากนี้เมืองที่เดินได้ เดินดียังจะส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทางอากาศ PM2.5 กทม.สูงขึ้นทุกปี ปีก่อนค่าเกินร้อย มีค่าเฉลี่ยอากาศดีที่เหมาะกับการอยู่อาศัยเพียงแค่ 50% และที่สำคัญการเป็นเมืองที่เดินได้เดินดี จะส่งเสริมความรู้จักมักคุ้นของคนกับย่าน ให้มีความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและเมืองที่ตัวเองอาศัย นำไปสู่ความเป็นพลเมือง มืองที่เดินได้เดินดีจะกระจายความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ภายใต้กระแสเศรษฐกิจเสรีนิยมและเศรษฐกิจฐานความรู้ อนาคตของเมืองขึ้นกับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะฉะนั้นการที่เมืองจะมีขีดความสามารถให้บริษัทและงานสร้างสรรค์ต่างๆมาลงทุน มาเที่ยว มาใช้เงินได้ เขาจะมองเรื่องสิ่งแวดล้อม ถ้ายังรถติด อากาศไม่ดี เดินไม่ได้ เมืองนั้นอาจจะไม่มีอนาคต" ผศ.ดร.นิรมล กล่าว


    ผู้อำนวยการ UddC กล่าวอีกว่า เมืองที่เดินไม่ได้ เดินไม่ดี เมืองนั้นจะไม่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และเป็นเมืองที่ไม่มีอนาคตในที่สุด นอกจากนี้เมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินเท้า อาทิ โคเปนเฮเกน โตเกียว และสิงคโปร์ เป็นเมืองที่ประชากรทุกคนภายในเมืองมีคุณภาพชีวิตดีทั้งในแง่สุขภาพ และความปลอดภัย ในขณะที่หลายเมืองในประเทศไทยที่มีสภาพแวดล้อมตอบรับกับวัฒนธรรมรถยนต์ กลับกลายเป็นเมืองที่มีประชากรหลายคนต้องทนอยู่ เมืองที่ชื่อว่ามีสภาพแวดล้อมการเดินเท้าที่ดีนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและไม่ใช่สิ่งที่แต่ละเมืองจะสามารถลอกเลียนแบบกันได้ การออกแบบสถาปัตยกรรมผังเมืองที่ครอบคลุมทั้งมิติทางกายภาพสังคมเศรษฐกิจและการบริหาร การที่มีความเฉพาะตามบริบทของแต่ละพื้นที่คือเครื่องมือสำคัญที่ใช้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเมืองให้เอื้อต่อการเดินเท้า

พื้นที่ถนน ทางเดินเท้าย่านพระราม 4 บริเวณรอบ MRT ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์


    สำหรับภายในนิทรรศการมีโครงการตัวอย่างพัฒนาเมืองที่น่าสนใจหลายโครงการ เช่น Bangkok Green Link ได้นำเสนอการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณโดยรอบของสถานีรถไฟฟ้าให้มีความสวยงามน่ามองขึ้น เช่น MRT สถานีแม่น้ำ ทำให้เป็นสถานที่รายล้อมด้วยศิลปะอุตสาหกรรม และการเชื่อมโยงธรรมชาติ โดยใช้สวนร้างที่ถูกทอดทิ้งเป็นจุดเชื่อมโยงสีเขียวที่นำผู้คนจากใจกลางเมืองไปยังพื้นที่อุตสาหกรรมใกล้เคียง โดยเฉพาะธรรมชาติที่กว้างใหญ่ที่เรียกว่าบางกระเจ้า การเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวนี้จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเขตอุตสาหกรรมเก่าไปเป็นเส้นทางศิลปะและย่านพิพิธภัณฑ์ หรือจะเป็นโครงการพัฒนาและฟื้นฟูย่านพระราม 4 ซึ่งถือเป็นย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจ และพานิชยกรรมที่สำคัญ ที่กำลังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสัญจรจากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และสายสีแดง นิทรรศการนี้จึงได้นำเสนอการออกแบบทางเดินทั้งแบบเชื่อมใต้ดินที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้า มีทางเดินที่กว้างขวาง กิจกรรมร้านค้าและร้านอาหาร รวมถึงปรับแสงจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการเดินที่มีชีวิตชีวาแม้อยู่ใต้ดิน แล้วก็การเดินยกระดับ การออกแบบทางเดินลอยฟ้าจากรถไฟฟ้า BTS สถานีศาลาแดงในรูปแบบของสาธารณะและทางเชื่อมเข้าสู่ย่านธุรกิจและพานิชยกรรมโดยรวมให้มีความสวยงาม สะดวก รวมถึงการเดินใต้สะพานที่ถูกทิ้งร้างให้กลับมาเดินได้ 

มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ กับตัวอย่างโครงการพัฒนาฟื้นฟูแขวงวังบูรพาภิรมย์ 


    แล้วก็มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ ที่เสนอโครงการพัฒนาฟื้นฟูแขวงวังบูรพาภิรมย์ ให้เป็นย่านการค้าที่กระตุ้นความสนใจผ่านการสร้างพื้นที่และนำกิจกรรมมาจัดดึงดูดคนให้เข้ามาเชื่อมโยงกับ พระปกเกล้าสกายปาร์ค การปรับปรุงโครงสร้างเดิมของรางรถไฟฟ้าลาวาลินที่สร้างค้าง หรือ สะพานด้วน โครงการหนึ่งในแผนแม่บทการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน และทำให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า พร้อมมุมพักผ่อน ทางเดิน และทางจักรยาน เชื่อมการสัญจรฝั่งธนบุรีเข้ากับฝั่งพระนคร ท่ามกลางสีเขียวของต้นไม้และพืชพันธุ์ที่ให้ความร่มรื่นตลอดเส้นทางสัญจร พร้อมชมวิวที่สวยงามข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฯลฯ
    อย่างไรก็ตามนิทรรศการ TUDA 2019 จะจัดแสดงจนถึงวันที่ 23 ก.ย.นี้ ที่ลานแฟชั่น ฮอล์ ชั้น 1 สยามพารากอน

--------------------------------------------------
1.มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ กับตัวอย่างโครงการพัฒนาฟื้นฟูแขวงวังบูรพาภิรมย์ 
2.นิทรรศการของ Bangkok Green Link
3.โมเดลโครงการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าสะพานควาย
4.ตัวอย่างการปรับปรุงพื้นที่เมืองตามสถานที่ต่างๆ
5.พื้นที่ถนน ทางเดินเท้าย่านพระราม 4 บริเวณรอบ MRT ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์
6.พิธีเปิดนิทรรศการเมื่อวันก่อน
7.ตัวอย่างภาพการปรับปรุงพื้นที่เชื่อมโยงตามสถานีรถไฟฟ้า 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"