เปลี่ยนคนเร่ร่อนเป็นพลัง มุมมองชีวิตหลังเกษียณอายุ


เพิ่มเพื่อน    

(งามจิต แต้สุวรรณ)

        เป็นนางฟ้าของคนเร่ร่อน สำหรับ "งามจิต แต้สุวรรณ" ผู้อำนวยการบ้านมิตรไมตรี ผู้ทำงานด้านการดูแลคนไร้ที่พึ่งมาตั้งแต่ปี 2551 จวบจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดเตรียมพร้อมเกษียณอายุสิ้นเดือนกันยายนนี้ แต่ด้วยความรักในงานด้านการช่วยเหลือสังคม คุณงามจิตกระซิบว่า ตนและสามีอาจผันตัวเป็นนักวิชาการอิสระเพื่อเก็บข้อมูลคนยากไร้ ตลอดจนคนเร่รอนในต่างจังหวัดที่ห่างไกล เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐมากยิ่งขึ้น ตลอดจนรู้สิทธิและสวัสดิการเบื้องต้นที่ควรได้รับ

      คุณงามจิต ให้ข้อมูลว่า การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะเราต้องทำงานช่วยเหลือสังคม จึงต้องให้ความใส่ใจในเรื่องนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะเมื่อเราอายุ 60 ปีแล้วก็จะพยายามกินข้าวให้น้อยลง จากเมื่อก่อนเคยกินข้าว 1 จานเต็ม ตอนนี้ก็ลดลงมาเหลือครึ่งจาน และที่ขาดไม่ได้คือจะเลือกกินผักที่เราชอบในมื้ออาหารนั้นๆ อีกด้วย จากเมื่อก่อนที่เราไม่เลือกกิน แต่พออายุมากขึ้นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกินด้วย โดยเน้นผักและผลไม้มากขึ้น เนื้อสัตว์ติดมันก็จะกินน้อยลง แต่จะเน้นเป็นอาหารจานปลาแทน นอกจากนี้ก็ดื่มกาแฟน้อยลง

      ส่วนการดูแลเรื่องจิตใจนั้น ก็พยายามไม่เครียด โดยจะไม่มองโลกในแง่ลบ หรือแม้แต่คำพูดของคนอื่นที่ทำให้เรารู้สึกสะเทือนใจก็จะไม่เก็บมาคิด ขณะเดียวกันเราก็จะเตือนสติตัวเองให้เดินก้าวต่อไป ที่สำคัญเลยสิ่งที่ใช้สอนลูกหลานอยู่เป็นประจำคือ การรู้จักแบ่งปัน สมมุติว่าถ้าเราพอมีก็แบ่งให้คนอื่น ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ นอกจากนี้ทุกคืนก่อนนอนก็จะสวดมนต์เป็นประจำ ส่วนหนึ่งก็เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้มีความสงบสุข นอนหลับได้อย่างไม่ต้องกังวล ที่สำคัญเตรียมพร้อมรับการเสียชีวิตอยู่ทุกเมื่อ เพราะเราไม่รู้ว่าตอนนี้เราหลับอยู่ แต่พรุ่งนี้เราอาจจะไม่หายใจแล้ว ดังนั้นอะไรที่ทำเพื่อผู้อื่นได้ก็จงรีบทำเสียตั้งแต่วันนี้ อีกทั้งเวลาที่ทำอะไรก็ตาม เราต้องมีสติระลึกอยู่ตลอดเวลา

      ขณะที่การออกกำลังกายก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคนวัยเกษียณ เพราะการที่เราได้เคลื่อนไหวร่างกายก็จะทำให้เลือดลมไหลเวียนดียิ่งขึ้น โดยทุกๆ เช้าจะเดินออกกำลังกายในหมู่บ้าน พร้อมบริหารร่างกายอย่างการยกแขน ยกขา และขยับหัวไหล่ เพื่อป้องกันโรคไหล่ติด ตามด้วยการดื่มน้ำเปล่า 2 แก้ว เพื่อขับไล่ของเสียออกจากร่างกาย

      ช่วงการวางแผนชีวิตหลังเข้าสู่วัยเกษียณอย่างเต็มตัว คุณงามจิตได้วางแผนไว้ว่ายังคงเดินหน้าทำงานเพื่อช่วยเหลือคนยากไร้และคนเร่ร่อนต่อไป จุดเริ่มต้นในการทำงานเพื่อคนกลุ่มนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2551 และถือเป็นโชคดีที่ภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลคนกลุ่มนี้ โดยเปิดโอกาสเข้าไปใช้สิทธิและบริการที่เตรียมพร้อมไว้สำหรับผู้ยากไร้

      "หลังจากที่เกษียณแล้วก็จะยังคงทำงานเพื่อดูแลคนเร่ร่อนและคนยากไร้ต่อไป ตรงนี้เป็นความฝันที่เราตั้งใจไว้แล้วว่าจะต้องทำอย่างแน่นอน โดยอาจจะเป็นนักวิชาการอิสระเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนเร่ร่อนให้มากยิ่งขึ้น โดยการขับรถออกไปสำรวจตามต่างจังหวัด และถ้ามีกรณีคนยากไร้และคนเร่ร่อนตรงไหนที่เราสามารถช่วยเหลือได้ก็จะช่วยทันที

      นอกจากนี้ก็จะหาแนวทางในการให้ข้อมูลเรื่องสวัสดิการที่ได้รับจากภาครัฐ เพราะบางคนยังเข้าไม่ถึงข่าวสารดังกล่าว หรือแม้แต่คนยากไร้บางคนที่ไม่ยอมเปิดรับข้อมูลข่าวสาร หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่เปิดใจยอมรับกับภาครัฐในการที่จะมาเข้ารับบริการ หรือแม้แต่การประชาสัมพันธ์จากภาครัฐที่ยังไม่ทั่วถึง ตรงนี้จึงเป็นเรื่องที่เราคิดว่าจะทำต่อไป เพราะอยากเห็นสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อีกทั้งอยากเห็นคนกลุ่มนี้ได้รับการช่วยเหลือให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่เป็นภาระของสังคม

      ผู้อำนวยการบ้านมิตรไมตรีกล่าวทิ้งท้ายเกี่ยวกับประเด็นข้อคิดคำคมเกี่ยวกับลูกๆ หลานๆ ไว้น่าสนใจว่า ในเรื่องของลูกๆ นั้นก็มีหน้าที่การงานอยู่แล้ว และสามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของสังคม แต่สิ่งสำคัญเขาจะต้องอยู่ได้ในสังคม เมื่อสักวันหนึ่งเราไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว ตรงนี้ในฐานะคนเป็นแม่ก็ขอให้เขาเป็นคนดี และเป็นคนที่รู้จักการแบ่งปันเพื่อผู้อื่น เหมือนอย่างที่แม่ได้ปลูกฝังไว้เป็นตัวอย่างให้ลูกๆ.

///////////////////////////////////////////////////////////

 

        เปลี่ยนคนเร่ร่อนเป็นพลัง

        มุมมองชีวิตหลังเกษียณอายุ

        เป็นนางฟ้าของคนเร่ร่อน สำหรับ "งามจิต แต้สุวรรณ" ผู้อำนวยการบ้านมิตรไมตรี ผู้ทำงานด้านการดูแลคนไร้ที่พึ่งมาตั้งแต่ปี 2551 จวบจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดเตรียมพร้อมเกษียณอายุสิ้นเดือนกันยายนนี้ แต่ด้วยความรักในงานด้านการช่วยเหลือสังคม คุณงามจิตกระซิบว่า ตนและสามีอาจผันตัวเป็นนักวิชาการอิสระเพื่อเก็บข้อมูลคนยากไร้ ตลอดจนคนเร่รอนในต่างจังหวัดที่ห่างไกล เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐมากยิ่งขึ้น ตลอดจนรู้สิทธิและสวัสดิการเบื้องต้นที่ควรได้รับ

      คุณงามจิต ให้ข้อมูลว่า การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะเราต้องทำงานช่วยเหลือสังคม จึงต้องให้ความใส่ใจในเรื่องนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะเมื่อเราอายุ 60 ปีแล้วก็จะพยายามกินข้าวให้น้อยลง จากเมื่อก่อนเคยกินข้าว 1 จานเต็ม ตอนนี้ก็ลดลงมาเหลือครึ่งจาน และที่ขาดไม่ได้คือจะเลือกกินผักที่เราชอบในมื้ออาหารนั้นๆ อีกด้วย จากเมื่อก่อนที่เราไม่เลือกกิน แต่พออายุมากขึ้นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกินด้วย โดยเน้นผักและผลไม้มากขึ้น เนื้อสัตว์ติดมันก็จะกินน้อยลง แต่จะเน้นเป็นอาหารจานปลาแทน นอกจากนี้ก็ดื่มกาแฟน้อยลง

      ส่วนการดูแลเรื่องจิตใจนั้น ก็พยายามไม่เครียด โดยจะไม่มองโลกในแง่ลบ หรือแม้แต่คำพูดของคนอื่นที่ทำให้เรารู้สึกสะเทือนใจก็จะไม่เก็บมาคิด ขณะเดียวกันเราก็จะเตือนสติตัวเองให้เดินก้าวต่อไป ที่สำคัญเลยสิ่งที่ใช้สอนลูกหลานอยู่เป็นประจำคือ การรู้จักแบ่งปัน สมมุติว่าถ้าเราพอมีก็แบ่งให้คนอื่น ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ นอกจากนี้ทุกคืนก่อนนอนก็จะสวดมนต์เป็นประจำ ส่วนหนึ่งก็เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้มีความสงบสุข นอนหลับได้อย่างไม่ต้องกังวล ที่สำคัญเตรียมพร้อมรับการเสียชีวิตอยู่ทุกเมื่อ เพราะเราไม่รู้ว่าตอนนี้เราหลับอยู่ แต่พรุ่งนี้เราอาจจะไม่หายใจแล้ว ดังนั้นอะไรที่ทำเพื่อผู้อื่นได้ก็จงรีบทำเสียตั้งแต่วันนี้ อีกทั้งเวลาที่ทำอะไรก็ตาม เราต้องมีสติระลึกอยู่ตลอดเวลา

      ขณะที่การออกกำลังกายก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคนวัยเกษียณ เพราะการที่เราได้เคลื่อนไหวร่างกายก็จะทำให้เลือดลมไหลเวียนดียิ่งขึ้น โดยทุกๆ เช้าจะเดินออกกำลังกายในหมู่บ้าน พร้อมบริหารร่างกายอย่างการยกแขน ยกขา และขยับหัวไหล่ เพื่อป้องกันโรคไหล่ติด ตามด้วยการดื่มน้ำเปล่า 2 แก้ว เพื่อขับไล่ของเสียออกจากร่างกาย

      ช่วงการวางแผนชีวิตหลังเข้าสู่วัยเกษียณอย่างเต็มตัว คุณงามจิตได้วางแผนไว้ว่ายังคงเดินหน้าทำงานเพื่อช่วยเหลือคนยากไร้และคนเร่ร่อนต่อไป จุดเริ่มต้นในการทำงานเพื่อคนกลุ่มนี้เริ่มต้นเมื่อปี 2551 และถือเป็นโชคดีที่ภาครัฐได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลคนกลุ่มนี้ โดยเปิดโอกาสเข้าไปใช้สิทธิและบริการที่เตรียมพร้อมไว้สำหรับผู้ยากไร้

      "หลังจากที่เกษียณแล้วก็จะยังคงทำงานเพื่อดูแลคนเร่ร่อนและคนยากไร้ต่อไป ตรงนี้เป็นความฝันที่เราตั้งใจไว้แล้วว่าจะต้องทำอย่างแน่นอน โดยอาจจะเป็นนักวิชาการอิสระเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนเร่ร่อนให้มากยิ่งขึ้น โดยการขับรถออกไปสำรวจตามต่างจังหวัด และถ้ามีกรณีคนยากไร้และคนเร่ร่อนตรงไหนที่เราสามารถช่วยเหลือได้ก็จะช่วยทันที

      นอกจากนี้ก็จะหาแนวทางในการให้ข้อมูลเรื่องสวัสดิการที่ได้รับจากภาครัฐ เพราะบางคนยังเข้าไม่ถึงข่าวสารดังกล่าว หรือแม้แต่คนยากไร้บางคนที่ไม่ยอมเปิดรับข้อมูลข่าวสาร หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่เปิดใจยอมรับกับภาครัฐในการที่จะมาเข้ารับบริการ หรือแม้แต่การประชาสัมพันธ์จากภาครัฐที่ยังไม่ทั่วถึง ตรงนี้จึงเป็นเรื่องที่เราคิดว่าจะทำต่อไป เพราะอยากเห็นสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อีกทั้งอยากเห็นคนกลุ่มนี้ได้รับการช่วยเหลือให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่เป็นภาระของสังคม

      ผู้อำนวยการบ้านมิตรไมตรีกล่าวทิ้งท้ายเกี่ยวกับประเด็นข้อคิดคำคมเกี่ยวกับลูกๆ หลานๆ ไว้น่าสนใจว่า ในเรื่องของลูกๆ นั้นก็มีหน้าที่การงานอยู่แล้ว และสามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของสังคม แต่สิ่งสำคัญเขาจะต้องอยู่ได้ในสังคม เมื่อสักวันหนึ่งเราไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว ตรงนี้ในฐานะคนเป็นแม่ก็ขอให้เขาเป็นคนดี และเป็นคนที่รู้จักการแบ่งปันเพื่อผู้อื่น เหมือนอย่างที่แม่ได้ปลูกฝังไว้เป็นตัวอย่างให้ลูกๆ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"