การประชุมวิชาการ EF Symposium 2017 ผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คนจากทั่วประเทศ เต็มห้องศูนย์ประชุมวายุภักษ์ เชิญพระบรมราโชวาท ร.9 “ผู้เกิดก่อนอนุเคราะห์ผู้เกิดทีหลัง ถ่ายทอดความรู้ ความดี ประสบการณ์ด้วยความเมตตาให้คิดด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง” สถาบัน RLG รักลูกเลิร์นนิ่งกรุ๊ป สสส.เป็นแม่เหล็กดึงดูดครูอนุบาลทั่วประเทศ ผู้ปกครอง ฯลฯ กระหายใคร่รู้ขบวนการส่งเสริม EF ให้เติบให่ขยายตัว รูปแบบการประชุม นิทรรศการ การบรรยายพิเศษ การสัมมนา ฝึกปฏิบัติจริงในห้องย่อยกว่า 15 หัวข้อ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เติมพลังให้พ่อแม่ช่วยพัฒนาการ EF ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างสมองที่ดีให้ลูก
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “เด็กเป็นผู้ที่จะได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ให่ รวมทั้งภาระรับผิดชอบในการธำรงรักษาอิสรภาพและความสงบสุขของบ้านเมือง ดังนั้นเด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้มีความสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งการฝึกหัดขัดเกลาความคิดจิตใจให้ประณีต ให้มีศรัทธามั่นคงในคุณความดี มีความประพฤติเรียบร้อยสุจริต และมีปัาฉลาดแจ่มใสในเหตุในผล หน้าที่นี้เป็นของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันกระทำโดยพร้อมเพรียง สม่ำเสมอ ผู้ที่เกิดก่อนผ่านชีวิตมาก่อนจะต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ผู้เกิดตามมาภายหลังด้วยการถ่ายทอดความรู้ ความดีและประสบการณ์อันมีค่าทั้งปวงให้ด้วยความเมตตาเอ็นดู และด้วยความบริสุทธิ์ใจให้เด็กได้ทราบได้เข้าใจ และสำคัที่สุดให้รู้จักคิดด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง จนสามารถเห็นจริงด้วยตนเองได้ ในความเจริและความเสื่อมทั้งปวง โดยนัยนี้บิดามารดาจึงต้องสอนบุตรธิดา พี่จึงต้องสอนน้อง คนรุ่นให่จึงต้องสอนคนรุ่นเล็ก และเมื่อคนรุ่นเล็กเป็นผู้ให่ขึ้น จึงต้องสอนคนรุ่นต่อๆ ไปไม่ให้ขาดสาย ความรู้ ความดี ความเจริงอกงามทั้งมวลจึงจะแผ่ไพศาลไปได้ ไม่มีประมาณเป็นพื้นฐานของความพัฒนาผาสุกอันยั่งยืนสืบไป” พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็กประจำปี 2522
EF-Executive Functions ทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น มีความสุขเป็น ทั้งหมดนี้คือพลังความรู้เปลี่ยนชีวิต ประเทศไทยต้องเร่งลงทุนสร้าง EF ในเด็กด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการวิธีการปลูกฝังบ่มเพาะเด็ก ไม่ว่าที่บ้านหรือโรงเรียนให้เกิดองค์ประกอบทั้ง 5 นี้ครบพร้อมตั้งแต่บัดนี้ จึงเป็นแรงผลักดันให้มี การประชุมวิชาการ EF Symposium 2017 เรื่องสมองเด็กไทย รากฐานทุนมนุษย์เพื่ออนาคตประเทศ ที่ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ วันจันทร์ที่ 27 พ.ย.2560
จารณะ บุประเสริฐ ผู้ประกาศอิสระ ทำหน้าที่พิธีกรในงาน เพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวต้อนรับในนามภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership กว่า 30 องค์กร รวมตัวกันทำ โครงการพัฒนาทักษะสมองเพื่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชนไทย สถาบัน RLG รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป เป็นศูนย์ประสานงาน Executive Functions หรือ EF เป็นธรรมชาติและศักยภาพที่มีอยู่ในสมองมนุษย์ทุกคน เมื่อทักษะสมองได้รับการพัฒนาดีแล้วจะนำไปสู่การบริหารจัดการชีวิตให้สำเร็จ สร้างคุณลักษณะที่นำไปสู่ความสุข ความสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในโลกได้อย่างมีสันติ
การประชุม EF Symposium จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่3แล้ว ปีนี้มุ่งหมายให้การประชุมวิชาการ EF Symposium 2017 เป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติจริง งานวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยในห้องเรียน จากการทำงานจริงในองค์กรต่างๆ ทั้งโรงพยาบาล ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือครอบครัว นำ Best Practice มานำเสนอ
สุภาวดี หาเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ในฐานะศูนย์ประสานงานภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership กล่าวว่าพัฒนาเวทีวิชาการ EF Symposium เพื่อถ่ายทอดความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคืบหน้าของกระบวนการขับเคลื่อนงานและบทเรียนจากการทำงาน ให้เป็นวงจรความรู้ที่เป็นพลวัตโดยเวทีวิชาการ EF Symposium จัดมาแล้ว 2 ครั้งในปี 2558 และ 2559 แต่ละครั้งได้รับความสนใจจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมนับพันคน ทั้งนี้ได้มีการขยายต่อชุดความรู้ Executive functions (EF) ในเด็กปฐมวัยทั้งท้องถิ่น ภูมิภาคและส่วนกลาง ผู้บริหารการศึกษาและครูปฐมวัยระดับแกนนำจากโรงเรียนทุกสังกัด ผู้นำชุมชน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสนใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ่อแม่ผู้ปกครอง
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประธานกรรมการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม บรรยายพิเศษเรื่อง “Executive Functionss กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” เรื่องของ EF ไม่ใช่ข้อสรุปความรู้ที่ตายตัว พัฒนาการความเข้าใจเรื่อง EF ในสังคมไทยก้าวหน้ามากมีผู้เข้าร่วมงาน UNESCO อบรมก็จำขี้ปากคนอื่นเพื่อทำความเข้าใจเมื่อได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งนำเสนอความสามารถทางสมองชั้นสูงใช้ในการวางแผนและจัดโครงสร้างควบคุมแรงกระตุ้นและปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ EF เป็นเรื่องสมองที่เกิดขึ้นใหม่ในโลก หนังสือเล่มนี้สรุปว่าการเรียนรู้ของเด็กคือชีวิตประจำวัน เราต้องมีการยกระดับความรู้
“ผมโชคดีที่เป็นเด็กบ้านนอกเกิดมาในครอบครัวให่ มีการปฏิสัมพันธ์กับคน แม่ใช้งานเราก็ได้ฝึกฝนแต่ปัจจุบันเด็กอยู่ในครอบครัวเล็ก ต่างคนต่างอยู่ ฝึกฝนยาก พ่อแม่ต้องตะเกียกตะกายหาเงิน ทำให้เด็กขาดโอกาส เราต้องช่วยกันสร้าง EF Networks เปลี่ยนแปลงมากในช่วงเจริเติบโต ด้วยเครือข่ายใยสมองมีทั้งระยะใกล้และระยะไกล ไม่ได้เป็นการทำงานอย่างโดดเดี่ยว แต่สร้างเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัที่สุด เรื่องการเรียนรู้คือ Whole Brain Development”
พัฒนาการทางสมองการเชื่อมโยงใยประสาทภายในและระหว่างส่วนต่างๆ ของสมองในเด็ก พัฒนาการไปเรื่อย สิ่งกระตุ้นคือปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เด็กได้รับ ผู้ให่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างถูกต้อง การเชื่อมโยงเครือข่ายประสาทดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้นจะเห็นได้อย่างชัดเจน การเชื่อมโยงใยประสาทหนาแน่น เหมือนกับการตัดแต่งกิ่งไม้ต้องมีเครือข่ายใยประสาทสมอง กระบวนการเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จะเสร็จสิ้นเมื่ออายุ 20 ปลายๆ “ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอายุไม่ถึง 30 ปี การตัดต่อพรุนนิ่งในสมองยังไม่แล้วเสร็จ เรายังไม่บรรลุภาวะ สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายอย่างมากทำอย่างไรจะพัฒนา EF ในช่วงต้นๆ ของอายุ สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือวัยรุ่นที่หลุดไปจากวงโคจรของการเรียน 3 แสนคน แต่ใช้เวลา 10 ปีกว่าเราจะได้เห็นมีผลต่อชีวิตเยาวชน ทุกสิ่งจะต้องมีการวางแผน กำกับความเคยชิน ยืดหยุ่นในความคิด พุ่งเป้าความสนใจ เข้าใจความคิดของคนอื่น การที่เด็กเอาแต่ใจตัวเองเมื่อเติบโตขึ้นก็ต้องเริ่มเข้าใจคนอื่นด้วย EF จะเป็นตัวช่วยได้เยอะ”
องค์ประกอบเข้มแข็งเป็นพื้นฐานสมองได้อย่างดี สมองดีจะนิยามให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อผมเป็นเด็กได้รับคำชมจากครูว่าสมองดี พ่อแม่จะติผม ไม่ค่อยชม สมัยก่อนนั้นสมองดีโดยกำเนิดเป็นความจริงแต่ไม่ทั้งหมด การช่วยเหลือฟูมฟักส่งเสริมช่วยได้ไหม การเรียนรู้จัดการศึกษาที่ดีทำให้ EF เข้มแข็งให้ดีสุดๆ ได้ ผลการเรียนดีขึ้น เมื่อเด็กอยู่ในโรงเรียนมีวินัย เข้าชั้นเรียนรวมกับเพื่อนๆ คุมพฤติกรรมตัวเอง ไม่ใช่อยู่แต่ในบ้าน Focus พุ่งความสนใจ มีความพร้อมในการเรียนรู้เตรียมพร้อมคือพ่อแม่ การเรียนรู้ของเด็ก Planing Solving มีสมาธิจดจ่ออยู่ตรงหน้า เป็นหัวใจสำคัของการเรียนรู้ Active Learning เรียนด้วยปฏิบัติด้วยคือเครื่องมือพัฒนา EF Two Way Relationship การเรียนรู้แบบธรรมชาติเรียนรู้สร้างความรู้ใส่หัว สร้างความรู้ให้ตัวเองเพื่อการเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติ เล่นอย่างอิสระ เด็กสังเกตเก็บข้อมูลเพื่อเข้าใจ Abstract thinking มีการใช้ต่อไปในวงจรใหม่ทำให้เกิดการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองเด็ก (Transformative Learning) การศึกษาของไทย การถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูปไม่ได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เป็นการทำลาย EF ให้อ่อนแอ การเรียนรู้ยุคใหม่ต้องมีเป้าหมายสร้างทักษะสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ตัวที่ 17 คือการเรียนรู้ที่คนสมัยใหม่ต้องการ เนื่องจากคนสมัยใหม่อยู่ในโลกซับซ้อน การพัฒนา EF ไม่ยาก ต้องทำให้ถูกหลักการ ถ้าทำผิดหลักการเป็นการทำลายให้อ่อนแอ เรียนรู้แบบ Active learning ได้ 17 ตัว
ตัวสำคัของ EF ที่สำคัต่อการเรียนรู้คือ Working Memory มี 4 องค์ประกอบ เจาะจง จดจ่อ ข้อมูลใช้ได้ 1/1000 ต้องลง detail จดจ่อในการดำเนินการเพื่อบรรลุผลสำเร็จ สมองจับอยู่ที่เป้าหมาย 1/1000, 1/10000 วินาที คน Working Memory ดี เก็บจากคนพูดนำมาสังเคราะห์รวมตัวเอง ทำความเข้าใจในบริบทได้เป็นอย่างดี จนรู้ว่าจะดึงความรู้อะไรออกไปใช้ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ 4 ขั้นตอน เป็นความจำระยะยาว เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่งอกเงย
การที่เด็กเรียน 2 ภาษา ส่งผลให้ EF แข็งแรงด้วย นักกีฬาเก่งๆ ต้องใช้ EF อย่างไรนักฟุตบอลสวีเดน Division สูงสุด EF สูงกว่านักฟุตบอลกลุ่มอื่นๆ ยิ่งอยู่ในสถานการณ์ที่บีบคั้น EF มีส่วนสำคัมาก EF ในนักกีฬาที่เก่งมากจนเป็นดาราบางครั้งก็ทำอะไรโง่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะ EF ล้า หมดแรง ถูกกระตุ้นจนเอาไม่อยู่ EF ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เมื่อล้าได้ก็กลับมาใหม่ได้ การจัดการเรียนรู้ถูกต้องถือปฏิบัติ
รีเฟล็กซ์ พ่อแม่ช่วยพัฒนาการ EF ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างสมองที่ดีให้ลูกได้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |