สินค้าหรือบริการของประเทศญี่ปุ่นนั้นได้รับการยอมรับจากคนไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด รวมถึงอาหาร ขนม เครื่องสำอาง ที่ขึ้นชื่อว่ามาจากญี่ปุ่นก็จะได้รับความนิยมสูงเสมอ ทั้งนี้ ด้วยมาตรฐานที่พิสูจน์ได้จริงว่าอยู่ในขั้นที่ดี และคุ้มค่ากับราคา ทำให้ไม่ว่าใครจะนำอะไรเข้ามาขายในประเทศไทย หรือคนไทยบินไปประเทศญี่ปุ่นก็จะได้ของติดไม้ติดมือหรือมีติดบ้านไว้เสมอ
ทั้งนี้ หากเทียบกับสินค้าไทยปัจจุบันหลายอย่างมีมาตรฐานที่ดีและเทียบเท่าสินค้าระดับโลกได้แล้ว แต่เรื่องความนิยมนั้นยังเป็นรองอยู่ เนื่องด้วยความไม่มั่นใจจากประสิทธิภาพ และกระบวนการผลิตก็ทำให้ยังไม่สามาารถเทียบมาตรฐานสินค้าของชาติอื่นได้
แต่จะดีแค่ไหนถ้าทำให้สินค้าไทยที่ดีสามารถพัฒนาได้ ให้มีมาตรฐานเหมือนสินค้าญี่ปุ่น รวมถึงการสร้างเรื่องราวและการทำตลาดที่มีคุณภาพ จึงเกิดการร่วมมือกันระหว่างสมาคมการบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น (JMA), กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงคมนาคม เพื่อจัดงาน “Maintenance and Resilience Asia 2019” ภายใต้แนวคิด Smart Manufacturing & Smart Infrastructure
โดยมุ่งหวังยกระดับภาคการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานไทยให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าญี่ปุ่น พร้อมเผยเรื่องท้าทายในภาคอุตสากรรมและภาคคมนาคมที่ไทยต้องปรับตัวและให้ความสำคัญเพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาศักยภาพแรงงาน การส่งเสริมการตลาดควบคู่การผลิต การมีแผนงานและระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยง
ส่วนในภาคคมนาคม เช่น การยกระดับความปลอดภัย การนำระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคมนาคม โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ภาคการผลิตให้เทียบประเทศญี่ปุ่น ประเทศชั้นนำด้านการผลิตของโลก
โดยนายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงานด้านหนึ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือ การส่งเสริมภาคการผลิตไปสู่ 4.0 ซึ่งมุ่งผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยแนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นกลไกที่มีส่วนในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเท่าเทียมกับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ
และสำหรับปัจจัยที่ภาคการผลิตต้องให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจในปีถัดไปนั้นประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพแรงงาน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การส่งเสริมการตลาดควบคู่การผลิต การมีแผนงานและระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยง การคิดค้น และนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการผลิต การติดตามสถานการณ์การค้าและอุตสาหกรรมในระดับมหภาค
ขณะที่ นายอัตสึชิ เทเรดะ ผู้จัดการอาวุโส JMA กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรม เป็นพันธมิตรและฐานการผลิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเภทต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ในฐานะพันธมิตรทางการค้าและเศรษฐกิจ จึงได้มีแนวคิดที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทยให้มีความทันสมัยและทัดเทียมกับญี่ปุ่น จึงได้ร่วมกับบริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และภาคเอกชนในการจัดกิจกรรม “Maintenance and Resilience Asia 2019” ภายใต้แนวคิด Smart Manufacturing & Smart Infrastructure ระหว่างวันที่ 2-4 ต.ค.2562 ที่ไบเทค บางนา เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและญี่ปุ่นให้เติบโตไปพร้อมๆ กับญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม JMA เชื่อมั่นว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคคมนาคม และในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานของไทยแข็งแกร่งได้เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกในเรื่องความสมบูรณ์แบบของระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค โดยยังจะช่วยให้รู้วิธีการจัดการกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ระบบขนส่ง ถนน อุโมงค์ สะพาน รถไฟ ฯลฯ ที่ญี่ปุ่นมีการใช้งานมากว่า 50 ปี แต่ยังมีความคงทนและฟื้นฟูได้รวดเร็ว และสามารถรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ประสบครั้งแล้วครั้งเล่า
คงต้องมาติดตามกันว่าการร่วมมือดังกล่าวนั้นจะช่วยพัฒนาศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมและคมนาคมของไทยได้ถึงขั้นไหน และจะสามารถเทียบเท่าญี่ปุ่นได้หรือเปล่า เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการไทยสามารถต่อยอดและขยายฐานลูกค้าได้อีกเป็นวงกว้าง.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |