อดีตกรธ.อบรมพรรณิการ์ เฮงซวยสร้างความเกลียด


เพิ่มเพื่อน    

 

 อดีต กรธ.เผยแพร่บทความโต้ "ช่อ-เฮงซวย" ขาด "สัมมาวาจา” ไม่ได้กล่าวความจริง ชวนให้เกิดความเข้าใจผิด เกลียดชัง แตกสามัคคี แจงยิบการจัดทำร่าง รธน.เปิดกว้างรับฟังความเห็นโดยตรงจากองค์กรต่างๆ และประชาชนหลายรูปแบบ จนมีผู้เห็นชอบ 16.8 ล้านคะแนน ฝ่ายค้านย้ำต้องแก้ รธน.ไม่แตะหมวด 1-2 "เสรีพิศุทธ์" แนะยุบศาล รธน.ไปรวมกับศาลฎีกาสามารถตั้งใครเป็นองค์คณะก็ได้

    เมื่อวันอังคาร ภายหลังจากที่ น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) โจมตีรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2560 ว่าเฮงซวยทุกมาตรา ทำให้เพจเฟซบุ๊ก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ได้เผยแพร่บทความเรื่อง ความจริงในการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2560 : คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ตั้งขึ้นมาโดยผลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ระบุตอนหนึ่งว่า ระหว่างจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เพียงแต่จะเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป โดยเปิดรับความคิดเห็นโดยตรงจากประชาชนผ่านระบบการสื่อสารในหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางเว็บไซต์ อีเมล ระบบไปรษณีย์ โทรสาร ซึ่งมีประชาชนทั่วไปเกือบทุกสาขาอาชีพ นักวิชาการ นักการเมือง แม้แต่พรรคการเมืองเอง ส่งข้อเสนอแนะเข้ามาถึง 526 ฉบับ
    กรธ.ยังได้นำผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ จัดทำไว้ก่อนนั้นมาประกอบการพิจารณาด้วย นอกจากนี้ กรธ.ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นไม่ต่ำกว่า 40 เวทีในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนมากในแต่ละเวที ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวทางการเมืองของพี่น้องประชาชน โดยจัดขึ้นทั้งก่อนและระหว่างการยกร่าง ไม่เว้นแม้แต่ทั้งขั้นตอนการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการวางรากฐานใหม่ในการยกร่างกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ที่เน้นหนักเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
    นอกจากนี้ กรธ.ยังได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษา จัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหลากหลายประเด็น ในหลายครั้งหลายคราว เกี่ยวกับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญด้วย เมื่อจัดทำร่างเบื้องต้นเสร็จแล้ว ก็ได้เปิดเผยและส่งมอบร่างดังกล่าวไปยังสถาบัน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ เพื่อรับทราบความคิดเห็นเพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมทั้งการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านครู ก. ครู ข. ครู ค. และสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และโซเชียลมีเดียด้วย แล้วยังมีเสียงสะท้อนจาก “พี่น้องประชาชน” ทั่วไปด้วย
    หลังจากนั้น กรธ.ก็ได้นำข้อเสนอแนะต่างๆ มาปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในหลายประเด็น เช่น การเพิ่มสิทธิให้ประชาชนในการติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการตามบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ  เพิ่มเนื้อหาในหมวดปฏิรูปขึ้นใหม่ตามที่ คสช. ครม. เสนอ ซึ่งตรงกับข้อเสนอแนะของประชาชนบางส่วนด้วย
    เนื้อหาในหมวดปฏิรูปนี้เริ่มตั้งแต่มาตรา 257-261 เนื้อหาครอบคลุมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การศึกษา สาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ และอื่นๆ เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะต่อไปมีความยั่งยืน 
    ในด้านกระบวนการยุติธรรมนั้น ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาให้มีการกําหนดระยะเวลาดําเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า กำหนดให้มีการปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวน กับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม กําหนดให้มีบริการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์มากกว่าหนึ่งหน่วยงานที่มีอิสระจากกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างมีทางเลือก ฯลฯ
    "ทั้งหมดนี้ เกิดจากการเสนอแนะและรับฟังความคิดเห็นจากสถาบัน หน่วยงานองค์กรต่างๆ และประชาชนทั้งสิ้น ที่สำคัญได้มีการจัดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลง “ประชามติ” ว่าจะเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ ซึ่งเป็นการลงประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ของประเทศ และปรากฏว่ามีผู้เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ 16,820,402 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 61.35"
    จากข้อเท็จข้างต้นนี้ ย่อมบ่งชี้ชัดเจนว่า การที่มีบุคคลกล่าวพาดพิงถึง กรธ.และรัฐธรรมนูญ 2560 หลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าขาดการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนนั้นจึง “ไม่เป็นความจริง” และอาจเข้าข่ายเป็นความประพฤติที่ขาด “สัมมาวาจา” เพราะไม่ได้กล่าว “ความจริง” อันชวนให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจผิด เกิดความเกลียดชัง ความแตกสามัคคี ขึ้นในหมู่ชน 
    "อดีต กรธ.ทั้งหมดรับฟังและน้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ เพราะได้ทำเช่นนั้นตลอดมา แต่ปรารถนาให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และประกอบไปด้วยความจริงเป็นสำคัญ เพราะการวิจารณ์โดยอคติและเหมารวมนั้น จะทำให้สังคมเข้าใจผิด ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อความพยายามของทุกฝ่ายที่จะนำบ้านเมืองให้พ้นจากหล่มอคติที่เป็นปัญหามายาวนาน อีกทั้งจะเป็นปัญหากับผู้กล่าวเอง เพราะการบริภาษรัฐธรรมนูญแบบเหมารวม จะทำให้สถาบันและองค์กรต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้รับผลกระทบจากการกล่าวถ้อยคำเหล่านั้นด้วย" เพจ กรธ.ระบุ  
    ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มี ส.ว.เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกันว่า ยังไม่ได้รับคำเสนอเข้ามา แต่หากมีทางที่จะให้ทุกฝ่ายได้หารือร่วมกัน ก็น่าจะเป็นเรื่องดี ทั้งนี้ เมื่อเปิดประชุมสภาสมัยหน้า ญัตติการขอตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญของ 7 พรรคฝ่ายค้าน จะได้พิจารณาเป็นวาระแรก
    ที่พรรคเพื่อไทย คณะทำงานยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของ 7 พรรคฝ่ายค้าน หารือถึงความคืบหน้าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ภายหลังการประชุมนายโภคิน พลกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย แถลงว่า อยากให้เป็นโรดแมปที่คนทั้งประเทศเห็นร่วมกัน ไม่ใช่เพียงฝ่ายค้าน แต่รวมถึงรัฐบาลด้วย เราจะปล่อยให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอุปสรรคต่อบ้านเมืองได้อย่างไร ทางเดียวคือ หากเห็นร่วมกันตรงนี้ เราจะสามารถผ่านไปได้ ซึ่งการใช้ช่องทาง ส.ส.ร. จะทำให้ประชาชนช่วยคิด ช่วยตัดสินใจร่วมกัน น่าจะทำให้ปัญหาจบได้ เพราะเป็นกระบวนการที่ทำให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด เป็นการเดินออกจากกับดักของความขัดแย้ง ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีความจำเป็นไม่น้อยไปกว่า การแก้ไขปัญหาปากท้องให้ประชาชน
    เมื่อถามว่า การแก้รัฐธรรมนูญจะแก้ทุกมาตราเลยหรือไม่ เพราะพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างพรรคอนาคตใหม่ระบุว่ารัฐธรรมนูญเฮงซวยทุกมาตรา นายโภคินกล่าวว่า เรายืนยันมาตลอดในหลักการว่า ไม่ว่าส.ส.ร.จะยกร่างมาอย่างไรก็แล้วแต่ เราจะไม่แก้หมวด 1 และหมวด 2
    ขณะที่นายชำนาญ จันทร์เรือง รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวเสริมว่า โฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้ชี้แจงกรณีนี้ไปแล้ว ซึ่งสิ่งที่พูดมีบริบทก่อนหน้า และหลังจากนั้นสิ่งที่โฆษกพรรคพูดหมายถึงที่มาที่ไปในการร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น  
    พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย กล่าวถึงข้อเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ยุบทิ้งศาลรัฐธรรมนูญ ว่าหากมีการยุบศาลรัฐธรรมนูญแล้วไปตั้งเป็นแผนกหนึ่งในศาลฎีกา เวลามีคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญก็ให้ศาลฎีกาแต่งตั้งองค์คณะขึ้นมาพิจารณาดูแล้วจะดี และเป็นธรรมมากกว่าจะมาตั้งเป็นองค์กรโดยเฉพาะ เพราะศาลฎีกาสามารถตั้งใครมาเป็นองค์คณะก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น 9 คนเดิมๆ อยู่ที่ศาลฎีกาจะตั้งใครเป็นองค์คณะขึ้นมาพิจารณาตัวบุคคลที่เป็นองค์คณะจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่ถูกครอบงำจากฝ่ายการเมือง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"