หลังจากกระทรวงคมนาคมได้มีการประชุมหารือเปิดเสรีบริการรถส่วนบุคคลร่วมเดินทาง (Ride Hailing Service) ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม โดยที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้หารือกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว และได้ข้อสรุปว่าสามารถทำได้จริง โดยจะเริ่มจากบริการแท็กซี่ก่อน (Grab Taxi) จากนั้นจะหาแนวทางแก้กฎหมายพระราชบัญญัติขนส่ง
โดยนโยบายดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อเปิดทางให้รถจักรยานยนต์ร่วมเดินทาง หรือ Grab Bike สามารถใช้บริการได้จริง แบบไม่ส่งผลกระทบกับวินมอเตอร์ไซค์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมจะเร่งสรุปข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดภายในเดือน ก.ย.นี้
สำหรับแนวทางการผลักดัน Grab Taxi นั้น จะผ่านการแก้กฎกระทรวงคมนาคม เพื่อให้รถส่วนบุคคลสามารถวิ่งรับส่งผู้โดยสารได้ โดยมีการกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นการเรียกบริการผ่านแอปพลิเคชันเท่านั้น ห้ามวิ่งรับผู้โดยสารตามท้องถนน หรือห้ามจอดรอรับผู้โดยสารตามจุดจอดของรถแท็กซี่ เพื่อป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาท และจะมีการติดป้ายสัญลักษณ์บนรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อแสดงว่ารถคันนี้เป็นผู้ให้บริการ Ride Hailing Service โดยจะมีการใช้เงื่อนไขดังกล่าวในต่างจังหวัดด้วย
ขณะที่ในส่วนของเรื่องการชำระเงินนั้น จะต้องชำระผ่านแอปพลิเคชันในมือถือ หรือระบบสแกน QR Code เท่านั้น ควบคู่กับการชำระแบบการโอนผ่านบัญชีหรือการตัดบัตรเครดิต เพื่อการันตีว่าเงินทั้งหมดจะเข้าสู่ระบบและมีการเสียภาษีอย่างถูกต้องในประเทศไทย โดยได้มอบหมายให้เอกชนไปพัฒนาระบบชำระเงินดังกล่าวมาด้วย
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน พ.ย.นี้ หากได้รับความเห็นชอบจะส่งต่อให้กฤษฎีกาทบทวนร่างกฎกระทรวงคมนาคมดังกล่าว ดังนั้น จึงคาดว่าน่าจะเริ่มบังคับใช้ได้ในเดือน มี.ค.2563
นโยบายดังกล่าวนี้ ไม่ใช่ใครก็ได้ที่ทำได้ โดยผู้ให้บริการจะต้องมีการลงทะเบียนอย่างถูกต้องกับบริษัทเจ้าของแอปพลิเคชัน มีการยืนยันอัตลักษณ์บุคคล มีการตรวจสภาพรถตามระเบียบกรมการขนส่งทางบก สอบใบขับขี่สาธารณะ ตลอดจนมีประกันภัยครอบคลุมดูแลค่าเสียหายให้ผู้โดยสาร ทั้งในกรณีบาดเจ็บและเสียชีวิต ขณะที่ผู้ให้บริการแท็กซี่ปกตินั้นสามารถเข้าร่วมกับแอปพลิเคชันได้ และยังมีสิทธิ์ตามปกติ คือสามารถรับผู้โดยสารตามท้องถนนก็ได้
สำหรับการพัฒนาบริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมบริการขนส่งสาธารณะให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น ประชาชนมีสิทธิ์เลือกรูปแบบบริการที่ต้องการว่า จะโบกเรียกแท็กซี่หรือเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน โดยการเปิดเสรีครั้งนี้ จะเป็นช่วงทดลองระยะ 6 เดือน-1 ปี เพื่อดูความเหมาะสมและเสียงตอบรับ หากระยะเวลาในช่วงดังกล่าวเอกชนไม่มีการพัฒนาให้ดีขึ้น หรือมีเหตุอาชญากรรมรุนแรง หรือสิ่งใดที่กระทบต่อคุณภาพบริการสาธารณะ กระทรวงคมนาคมมีสิทธิ์ยกเลิกเรื่องนี้ได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ในส่วนด้านบริการเรียกรถจักรยานยนต์เพื่อรับส่งบุคคล หรือ Grab Bike นั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามากกว่ารถยนต์เนื่องจากมีข้อผูกพันเรื่องกฎหมายกับหลายหน่วยงาน จึงต้องหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เพื่อนำไปสู่การแก้กฎหมายปลดล็อกกติกาที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันหลายเรื่อง
โดยเบื้องต้นมีแนวทางการยกเลิกเงื่อนไขการห้ามวิ่งรับผู้โดยสารข้ามเขตของวินมอเตอร์ไซค์ ยกเลิกการกำหนดว่าวินจุดนี้ห้ามไปรับผู้โดยสารจุดอื่น โดยจะมีการจัดพื้นที่ของผู้ให้บริการ (Zoning)
ขณะที่ผู้ขับขี่ทั้งในปัจจุบันและผู้ขับขี่ที่ลงทะเบียนกับแอปพลิเคชัน จะถูกจัดโซนนิ่งให้บริการ เช่น ผู้โดยสารเรียกบริการจักรยานยนต์ผ่านแอปพลิเคชัน ระบบจะจัดผู้ขับขี่ที่ใกล้โซนที่ผู้โดยสารอยู่มากที่สุดให้ แต่ถ้าไม่มีก็จะจัดผู้ขับขี่ที่อยู่โซนใกล้เคียงกันให้มารับได้ โดยมีเงื่อนไขเหมือนรถยนต์ คือ Grab Bike ห้ามโบกเรียกตามท้องถนน ต้องเรียกผ่านแอปพลิเคชันเท่านั้น ส่วนเริ่มใช้ได้เมื่อไหร่นั้นยังไม่สามารถบอกได้ตอนนี้ ก็มาลุ้นว่านโยบายดังกล่าวที่ว่ามานี้จะเกิดผลสำเร็จและใช้ได้จริงหรือไม่.
กัลยา ยืนยง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |