(พญ.สร้อยเพชร วีระไวทยะ)
“วัยรุ่น วัยเรียน” หรือช่วงอายุซึ่งกำลังเติบโต ที่ว่าต้องดูแลสุขภาพแล้ว แต่คนหลัก 5 หลัก 6 ยิ่งต้องใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะฮอร์โมนที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อและอวัยวะส่วนต่างๆ เริ่มทำงานลดน้อยลง นั่นจะเห็นได้ว่าผู้สูงวัยกลุ่มนี้มีปัญหากระดูกบางและเสี่ยงต่อการหกล้มได้ค่อนข้างง่าย หรือแม้ช่วงวัยเกษียณที่คนหลัก 6 จะต้องอยู่กับบ้าน จากที่เคยออกไปทำงานทุกวัน ซึ่งเสี่ยงต่อการโรคซึมเศร้า พญ.สร้อยเพชร วีระไวทยะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและสูตินรีเวช จาก “ศูนย์สุขภาพครบวงจร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก” มาให้คำแนะนำเกี่ยวการดูแลสุขภาพของคนหลัก 5 หลัก 6 ซึ่งเป็นช่วงวัยทองที่มักพบโรคต่างๆ ตลอดจนวิธีรับมือไว้น่าสนใจ
(คนหลัก 5 ขึ้นไปควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจหาโรคมะเร็งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับคนวัยนี้ได้)
พญ.สร้อยเพชร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและสูตินรีเวช บอกว่า “พอผู้สูงวัยอายุเกิน 50-60 ปี เป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง หรือเรียกกันว่ากำลัง “เข้าสู่วัยทอง” ซึ่งวัยนี้เป็นช่วงที่ฮอร์โมนในรังไข่ลดลง ทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง และสิ่งที่เห็นชัดเจนคือเรื่องของกระดูกที่บางลงตามฮอร์โมนที่ลดลงทั้งคู่ อันที่สองคือ “โรคเรื้อรังต่างๆ” เช่น โรคหัวใจ โรคสมอง โรคความจำที่เกิดขึ้นกับคนวัยนี้ ส่วนหนึ่งก็เกี่ยวกับการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย นอกจากนี้ยังพบผู้สูงวัยเป็น “โรคอ้วน” เพราะฮอร์โมนเพศหญิง หรือฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเป็นตัวที่ช่วยเรื่องของการเผาผลาญด้วย พอฮอร์โมนดังกล่าวลดลงก็ทำให้กล้ามเนื้อลดลง และไขมันเพิ่มขึ้น
(ผู้สูงวัยบริโภคผักผลไม้ปลอดสารพิษ หมั่นดื่มนม และลดเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม ก็ช่วยป้องกันโรคอ้วนและลดภาวะกระดูกบางลงได้)
ทั้งนี้ วิธีแก้ไขคือ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ไข่ นม ถั่วและธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผักผลไม้ปลอดสารพิษ เลี่ยงอาหารหวาน อาหารมัน อาหารเค็มและเผ็ดจัด นอกจากนี้ การออกกำลังกายก็จะช่วยช่วยเรื่องความแข็งแรงของกระดูก และช่วยเติมความสดชื่น ส่วนการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุนั้น มีตั้งแต่การเล่นโยคะ ว่ายน้ำ หรือเดินเร็ว ที่สำคัญหมอแนะนำว่าต้องไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี พออายุ 50 ปี ขึ้นไป แพทย์จะตรวจเป็นพิเศษคือ “โรคมะเร็ง” เนื่องจากพบได้ในคนวัยเลข 5 มากขึ้น นอกจากตรวจสุขภาพทั่วไป อาจต้องมีการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก มีการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง และตรวจระดับมวลกระดูกด้วย ทั้งหมดทั้งมวลเป็นความเสื่อมตามช่วงอายุ
(คนวัยหลัก 5 หลัก 6 ที่ไม่อยากป่วยโรคซึมเศร้าช่วงวัยเกษียณ ควรออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านร่วมกับเพื่อนฝูง หรือหันมาออกกำลังกาย เพื่อกระตุ้นให้ตัวเองแอคทีฟอยู่ตลอดเวลา)
รวมถึงโรคสุดท้ายอย่าง “ภาวะซึมเศร้า” ดังนั้นการดูแลจิตใจคนหลัก 5 หลัก 6 เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวนั้น อันดับแรกนั้นเราต้องหากิจกรรมที่เราสนใจทำ เพราะอายุในช่วงนี้เราอาจเริ่มว่าง เนื่องจากเราเกษียณแล้ว ถ้าว่างมากๆ เราก็จะอาจกังวลหรือเครียด ดังนั้นควรหากิจกรรมหรืองานที่เราสนใจทำ หรืออยู่ท่ามกลางครอบครัว หมายความว่าใช้เวลากับครอบครัวให้มากขึ้น อีกทั้งต้องพยายามแอคทีฟ เช่น ออกไปเที่ยว หรือออกกำลังกาย โดยทำกิจกรรมเหล่านี้ให้เหมือนกับอายุน้อยๆ เพราะยิ่งอายุมากก็ต้องแอคทีฟตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอ เมื่อนั้นโรคซึมเศร้าก็จะไม่ถามหา ที่สำคัญจะทำให้คนวัยนี้มีเพื่อน มีสังคม จากการได้ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านที่ตัวเองชื่นชอบ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |