ชาวบ้านศรีสะเกษ ค้านโรงงานน้ำตาลโรงไฟฟ้าชีวมวล ชี้ทำลายแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ


เพิ่มเพื่อน    

15 ก.ย.62- ที่ตลาดสดเทศบาลตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดเวทีให้ความรู้ผลกระทบในพื้นที่ซึ่งจะมีการดำเนินโครงการน้ำตาลขนาด 20,000 อ้อย/วัน และโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 40 เมกะวัตต์  โดยมีชาวบ้านในพื้นที่ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึงและตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษเข้าร่วมเวที  

นายสิริศักดิ์ สะดวก ผู้ประสานงานคณะกรรมการคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลภาคอีสาน กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลในพื้นที่ พบว่า 1.พื้นที่ตั้งโรงงานไม่เหมาะสม ด้วยเงื่อนไขที่อยู่ใกล้ชุมชน วัด โรงเรียน ประมาณ 41 หมู่บ้าน 7 ตำบล 3 อำเภอ ในรัศมี 5 กิโลเมตร และยังไม่มีความสอดคล้องกับพื้นที่การปลูกข้าวหอมมะลิ เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมสาน ที่อยู่ในดินแดนภูเขาไฟ เป็นต้น 2.ในพื้นที่จะดำเนินการก่อสร้างโรงงานในรัศมี 5 กิโลเมตรนั้นไม่มีวัตถุดิบหลักของโครงการที่ทางโรงงานจะใช้ดำเนินการผลิตน้ำตาล คือ อ้อย ประมาณ 20,000 ตันอ้อย/วัน หรือประมาณ 2,400,000 ตัน/ฤดู  เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และทำเกษตรผสมผสาน การจะตั้งโรงงานจึงมีความขัดแย้งกับพื้นที่โดยสิ้นเชิง ดังนั้นการมีเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมา 2 ครั้ง เป็นเวทีซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และจะต้องยกเลิกเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 2 ครั้งเพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ก่อนเพราะชาวบ้านในพื้นที่ยืนยันว่าพื้นที่ก่อสร้างไม่เหมาะสม 

ด้านนายวงศกร สารปรัง ศูนย์กฏหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญ 60 ชุมชนมีสิทธิในการอนุรักษ์ฟื้นฟูส่งเสริมภูมิปัญญาท้งถิ่นศิลปะ วัฒนธรรม และขนบประเพณีอันดีงาม ซึ่งชุมชนชาวบ้านเป็นชุมชนชาติพันธุ์ เขมร กูย ลาว เยอ ที่มีวิถีงดงามยึดโยงกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ชุมชนมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ตลอดจนชุมชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานราชการให้ดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือชุมชน หรืองดเว้นการดำเนินการใดอันกระทบต่อความเป็นอยู่ อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน ซึ่งรัฐธรรมนูญให้ประชาชนในการแสดงความคิดเห็นได้ด้วย

ขณะทีี่นายพล จิตโสม อายุ 62 ปี กรรมการกลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดจังหวัดศรีสะเกษ  ระบุว่า ที่ผ่านมานั้นทางบริษัทที่ปรึกษาได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว 2 ครั้ง โดยชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร ไม่เคยรับรู้ข้อมูลมาก่อน จึงมองว่าเป็นกระบวนการไม่รับฟังความคิดเห็น ชาวบ้านขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และสิ่งสำคัญคือความกังวลถึงความเสียหายในพื้นที่เกษตร พื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้านที่อาจถูกทำลายจากผลกระทบ และไม่สามารถกลับคืนมาได้อีก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนปลูกข้าวหอมมะลิ ทำเกษตรอินทรีย์ ไร่นาสวนผสม และพึ่งพาทรัพยากร ถือได้ว่าเป็นฐานเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้ต่อครอบครัว ชุมชน และจังหวัด 

ทั้งนี้กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดจังหวัดศรีสะเกษ ได้อ่านประกาศไม่ยอมรับกระบวนการเวทีไม่รับฟังความคิดเห็น และยืนยันที่จะไม่เอาโรงงานน้ำตาลขนาด 20,000 ตันอ้อย/วัน และโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 40 เมกะวัตต์ โดยระบุเหตุผลดังต่อไปนี้ 1.พื้นที่ตั้งโรงงานไม่เหมาะสม  ด้วยเงื่อนไขที่อยู่ใกล้ชุมชน วัด โรงเรียน  2.ในพื้นที่จะดำเนินการก่อสร้างโรงงานในรัศมี 5 กิโลเมตรนั้นไม่มีวัตถุดิบหลักคืออ้อย 3.ปัญหาการจราจรที่เพิ่มขึ้น ฝุ่นจากการขนส่ง และอุบัติเหตุ  เนื่องจากช่วงการดำเนินการจะมีรถขนส่งวัตถุดิบ(อ้อย) สารเคมี ผลิตภัณฑ์ การเดินทางของพนักงาน เข้า-ออกพื้นที่ ได้แก่รถบรรทุกอ้อย 2,000 คัน/วัน ขนส่งสารเคมี 6 ล้อ 816 คัน/ปี ขนส่งผลิตภันฑ์รถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 100 คัน/วัน รถจักรยายนต์ 200 คัน/วัน รถยนต์ส่วนบุคคล 60 คัน/วัน และรถโดยสารขนาดเล็ก 52 คัน/วัน

4.อาจจะก่อให้เกิดปัญหากลิ่นเหม็น ซึ่งจากการดำเนินโครงการปัญหาเรื่องกลิ่นจะเป็นอีกปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน เช่น ระบบทางเดินหายใจ เครียด อาการระคายคอและไอต่อเนื่อง เป็นต้น 5.อาจจะมีการแย่งชิงทรัพยากรน้ำใต้ดิน เพราะว่าชุมชนส่วนใหญ่ใช้น้ำใต้ดินในการบริโภค 6.ปัญหาทางสังคม อาจจะมีประชากรแฝงเพิ่มมากขึ้น ปัญหายาเสพติด เป็นต้น

 

7.ปัญหาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน เนื่องจากวิถีชีวิตของชุมชนเป็นวิถีที่ยึดโยงกับระบบการทำนา ทำพืชสวน เกษตรผสมผสาน การปลูกข้าวอินทรีย์ และทรัพยากรธรรมชาติ 8.การดำเนินโครงการยังขัดแย้งกับยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ และแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2  ด้วยเหตุผลดังทางกลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดจังหวัดศรีสะเกษ จึงขอประกาศเพื่อปกป้องวิถีชาติพันธุ์ กูย เขมร ลาว เยอ ปกป้องชุมชน ปกป้องทรัพยากร และเรียกร้องให้ 1.ให้ยกเลิกเวทีไม่รับฟังความคิดเห็นทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากชาวบ้านไม่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารมาก่อน 2.ให้ผู้ว่าราชจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาศักยภาพของพื้นที่อย่างเร่งด่วน 3.ชุมชนขอประกาศเป็นพื้นที่ปลอดภัย ด้านดิน น้ำ อากาศและคุณภาพชีวิต เป็นเขตปราศจากโรงงานอุตสาหกรรม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"