City and Road Safety” ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กระทรวงคมนาคม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) เสวนากระตุ้นลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน Invest for Sustainable Road Safety ในวันที่ 6-7 ธ.ค. ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา วิทยากรพิเศษ อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ประกบ 2 Safer Roads Foundation Mr. Michael Woodford จากสวีเดน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส. คนไทยตายด้วยอุบัติเหตุปีละ 24,000 คน ติดอันดับ 2 ของโลก หรือตัวเลข 36 คน:ประชากรแสนคน อาทิตย์ที่ 3 ของเดือน พ.ย.ทุกปีเป็นวันโลกรำลึกผู้สูเสียจากอุบัติเหตุ นพดล กรรณิกา ซูเปอร์โพล สำรวจคนไทยเรื่องอุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องเวรกรรม แต่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่ต้องมีวินัยและป้องกัน
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กระทรวงคมนาคม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) พร้อมด้วยพันธมิตรหลายฝ่ายร่วมกันแถลงข่าวสัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนนครั้งที่ 13 ลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืนเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ห้องประชุม 352 อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ถนนอู่ทองนอก มีผู้เข้าร่วมแถลงข่าว
ชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรรมการเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9 ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
การนำเสนอผ่านวีดิทัศน์ประมวลสถานการณ์และการดำเนินงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ”เชื่อหรือไม่ คนไทยตายด้วยอุบัติเหตุปีละ 24,000 คน ติดอันดับ 2 ของโลก หรือตัวเลข 36 คน:ประชากรแสนคน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกภาคีเครือข่ายจะต้องร่วมมือกันลดความสูเสียด้วยการร่วมลงทุนเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ที่ประชุมมีการนำเสนอขอเพียงให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมเสวนาด้วยวิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัหาอย่างยั่งยืน ทุกๆ วันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือน พ.ย.ทุกปีเป็นวันโลกรำลึกผู้สูเสียจากอุบัติเหตุ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องให้ความสนใจการลงทุนเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างยั่งยืน
ชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรรมการเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) กล่าวว่า ข้อมูลในใบมรณบัตรเมื่อปี 2559 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจำนวน 15,448 คน มีผู้พิการรายใหม่ที่เป็นเหยื่อจากอุบัติเหตุทางถนนอีกกว่า 5,000 ราย หรือทุกๆ วันจะมี 42 ครอบครัวต้องสูเสียสมาชิก และอีก 15 ครอบครัวต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้พิการจากอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศรวมกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี ประกาศให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ปฏิามอสโกทำขึ้นทุกๆ 4 ปี เป็นกรอบแนวทางดำเนินการต่อเนื่องกันและลดอุบัติเหตุของประเทศ รัฐบาลขับเคลื่อนการป้องกันลดอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่องให้มีการบังคับใช้กฎหมาย การสร้างจิตสำนึก ความปลอดภัยระยะยาว ลดปัจจัยเสี่ยง เพื่อให้ลดผู้สูเสียต่ำกว่า 50% ในปี 2563
รัฐบาลเห็นความสำคัและตระหนักถึงปัหาความสูเสียจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นอย่างดี จึงได้มุ่งมั่นในการป้องกันและแก้ไขปัหาด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ (นปถ.) ตั้งแต่ปี 2554 ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนนทุก 3 ปี เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนน บูรณาการการทำงาน 5 เสาหลัก 1.สร้างกลไก
การบริหารจัดการด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ 2.การสร้างความปลอดภัยด้านโครงสร้างถนนและสภาพแวดล้อมริมทาง 3.การส่งเสริมให้เกิดการใช้ยานพาหนะที่ปลอดภัย 4.การสร้างวินัยจราจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน 5.การช่วยเหลือและรักษาผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมาการแก้ไข กม.เกี่ยวข้องเพื่อเพื่อป้องกันปัหาความปลอดภัยทางถนนใน 5 ประเด็น คือ ดื่มแล้วขับ การขับรถเร็วเกินกว่า กม.กำหนด ใบอนุาตขับรถ รถโดยสารสาธารณะ การคาดเข็มขัดนิรภัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ กล่าวถึงผลสำรวจเรื่อง “อุบัติเหตุทางถนนเป็นเรื่องของใคร” เป็นการสำรวจ 1,196 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 5-14 ต.ค. พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.7 เคยเกิดอุบัติเหตุกับตัวเอง ร้อยละ 91.4 เชื่อว่าเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ความปลอดภัยทางถนน มีเพียงร้อยละ 32.1 ที่เชื่อว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม นับเป็นครั้งแรกที่พิสูจน์ได้ว่าคนไทยเปลี่ยนความเชื่อจากอุบัติเหตุเป็นเรื่องเวรกรรมมาเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ คือสภาพถนน คน รถ สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 96.6 มีความเห็นว่ารัฐควรเป็นผู้ลงทุนในจุดที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก ร้อยละ 63.9 ระบุว่าการแก้ปัหาเป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคม รองลงมา 56.4% รัฐบาล คสช. 33.9% องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 21.5% ภาคเอกชน 18.3% กระทรวงมหาดไทย 17.0% กระทรวงสาธารณสุข
นพ. ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า คนไทยอยากได้คำตอบที่ชัดเจนว่าทำไมถึงได้เกิดอุบัติเหตุซ้ำๆ ในสถานที่เดิมๆ จึงเป็นหัวข้อสำคัที่จัดสัมมนาปาฐกถาพิเศษทุกๆ 2 ปี มีทีมงาน For Action Safety ลงทุนจัดการเข้มแข็งจริงจังเพราะปัหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นโจทย์ให่, อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม, Safer Roads Foundation Mr. Michael Woodford, ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส. กับการสนับสนุนความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนมีทั้งหมด 7 panel ตัวแทนสวีเดนเล่าถึงการลงทุนเพื่อความปลอดภัย นิกร จำนง ประธานกรรมาธิการวิสามั เวทีภาครัฐขับเคลื่อนภาคประชารัฐเพื่อสังคม ภาคธุรกิจเอกชนร่วมเสวนา การใช้ Social Media จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มิติใหม่ในการใช้กฎหมาย การใช้เทคโนโลยี ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพพูดเรื่องเปิดมิติทางสังคมความปลอดภัยทางถนนเป็นภาพรวมอย่างยั่งยืน การสร้างเครือข่ายนักกู้ชีพ กู้ภัยเพื่อสาธารณะ “City and Road Safety”
การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 13 ภายใต้หัวข้อเรื่องลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน Invest for Sustainable Road Safety ในวันที่ 6-7 ธ.ค. ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ปีนี้เน้นประเด็น 1.การลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน 2.ประชารัฐเพื่อสังคมกับความปลอดภัยทางถนน 3.ลงทุนเพื่อสังคมร่วมใจป้องกันภัยทางถนน 4.มิติใหม่บังคับใช้กฎหมาย Road Safety 4.0 5.รถพยาบาลปลอดภัย 6.มิติทางสังคมกับการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย 7.ระบบใบขับขี่ใหม่กับความปลอดภัยทางถนนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำไปปฏิบัติใช้ต่อไป ผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาสามารถอ่านได้ใน www.roadsafetythai.org และลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน Road Safety ได้ทั้งระบบ IOS และ Android ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ด้วยความร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆ ในการตรวจจับเพื่อป้องกัน การรายงานและดูแลผู้บาดเจ็บไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนลงได้ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กระทรวงคมนาคม ศวปถ. มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย สสส.องค์กรภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศ
สอจร. สคอ. AIP มูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นหน่วยงานบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัหาอุบัติเหตุทางถนนที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ได้ตระหนักถึงความสำคัของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จัดให้มีการสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่องความปลอดภัยทางถนนครั้งนี้ ได้คาดหวังให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบสถานการณ์ ด้วยองค์ความรู้ ทิศทางนโยบาย อุปสรรคปัหามีส่วนร่วมเสนอนโยบายเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัหาอย่างจริงจัง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |