12ก.ย.62-นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวถึงการลดขยะพลาสติกว่า ไม่ใช่เรื่องใหม่นัก แต่ที่มักได้ยินกันบ่อยคือพลาสติกที่ทิ้งนั้นไปตกถึงท้องสัตว์ทะเลจนทำให้มันตาย อย่างไรก็ดีสิ่งเหล่านี้อาจยังไม่กระทบกับความรู้สึกของหลายคนมากนักเพราะยังรู้สึกไกลตัว ที่จริงมันมีพลาสติกที่ใกล้ตัวกว่านั้น คือมันเข้าไปอยู่ในตัวของเราได้เลยว่างั้น สิ่งนี้มาจากขยะพลาสติกที่มนุษย์ทิ้งอีกเช่นกันแต่มันร้ายกว่าดังจะขอเรียกว่า “พลาสติกจิ๋ว (Microplastic)” หรือไมโครบีดส์เล็กๆ (Microbead) ซึ่งเจ้าอนุภาคพลาสติกจิ๋วนี้มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรแต่หลายอนุภาคก็มองไม่เห็นด้วยตาแถมยังเล็กกว่าฝุ่นละออง 2.5 ที่เป็นข่าวดังไปทั่วเสียอีก
“พลาสติกจิ๋วนี้มาได้จากหลายสิ่งในชีวิตประจำวัน อาทิก้นบุหรี่ ที่มีรายงานว่าพบมากกว่าถุงพลาสติกเสียอีก ,เส้นใยสังเคราะห์ของเสื้อผ้า,ยางรถยนต์และอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก ซึ่งสามาถเข้าสู่ร่างกายเราได้ 3 ทางคืออากาศ มีรายงานการตรวจพบพลาสติกจิ๋วลอยฟ่องอยู่ในอากาศที่เราสูดหายใจเข้าไป อาหาร พลาสติกจิ๋วแทรกอยู่ในซีฟู้ดและสัตว์ทะเลที่เราบริโภคเป็นจำนวนมากโดยที่มองไม่เห็น น้ำดื่ม มีการสำรวจพบน้ำเปล่าบรรจุขวดที่ดื่มพบอณูของพลาสติกจิ๋วนี้เจือปนอยู่ในปริมาณพอสมควรที่คนดื่มน้ำขวดบ่อย ๆ ที่ควรทราบ” นายแพทย์กฤษดา กล่าว
ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวต่อว่ามีการศึกษาในสหราชอาณาจักรพบว่าพลาสติกจิ๋วนี้มีเจือปนแทรกเป็นยาดำอยู่ในแทบทุกแห่งหนบนโลกแล้วไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำลำธาร มหาสมุทรอันไพศาลหรือขุนเขาสูงเสียดฟ้าล้วนแต่ตรวจพบว่ามี “ไมโครพลาสติก” ปนเปื้อนอยู่อย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังมีรายงานล่าสุดถึงการพบ “เชื้อแบคทีเรีย” มากกว่า 400 ชนิดที่ติดอยู่บนพลาสติกจิ๋วนี้ซึ่งสำรวจพบตามชายหาดท้องถิ่น เชื้อพวกนี้มีตั้งแต่เชื้อลำไส้อักเสบ,ติดเชื้อในกระแสเลือดไปจนถึงมีผลกับการเกิดปะการังฟอกสี จุดที่พบไมโครพลาสติกนี้มากเป็นอันดับต้นๆได้แก่แม่น้ำแยงซีและตลอดชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนของประเทศสเปน
นายแพทย์ กล่าวว่า สำหรับของกิน-ของใช้ใกล้ตัวที่อาจมีไมโครพลาสติกจิ๋วนี้มาปะปนอยู่ได้ที่ควรต้องจับตาคือ1) น้ำดื่ม แม้จะเป็นน้ำขวดก็ตามดังมีรายงานจากต่างประเทศว่าพบอนุภาคพลาสติกจิ๋วนี้ในขนาดที่ตาแทบมองไม่เห็นคือ 100 ไมครอนอยู่จากน้ำดื่มตัวอย่าง ด้วยอย่าลืมว่าขยะพลาสติกจิ๋วจากน้ำมือมนุษย์เหล่านี้แทรกซึมอยู่ตามแหล่งน้ำทั่วโลกทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล2) เกลือปรุงอาหาร เกลือสมุทรที่มาจากน้ำทะเลนั้นมีพลาสติกจิ๋วปะปนอยู่ได้3) ซีฟู้ด อาหารทะเลสัตว์เปลือกแข็ง กุ้ง,หอย,ปูปลา4) กะปิ เพราะตัวเคยนั้นอาจกินพลาสติกพีวีซีเข้าไปสะสมในตัว5) ผงกลิตเตอร์วิบวับ ที่ใช้แต่งหน้าหรือทำการฝีมือ 6) ก้นบุหรี่ ทำจากเซลลูโลสอะซีเตทที่เป็นสารชนิดเดียวกับที่ใช้ทำแว่นกันแดด 7) หอยแมลงภู่ มีการเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่ในอังกฤษและตามชายหาดท้องถิ่น 8 แห่งโดยมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งสหราชอาณาจักรพบว่ามีพลาสติกจิ๋วนี้ติดมากับตัวหอยเป็นจำนวนน่าตกใจโดยเฉลี่ยถึง 70 ชิ้นในทุกๆ 100 กรัมของหอยซึ่งเรามองไม่เห็น
“ที่มีการอ้างว่าพลาสติกจิ๋วที่คนเรากินเข้าไปนี้น่าจะขับถ่ายออกมาได้ แต่อย่าลืมว่าของพวกนี้คือสิ่งแปลกปลอมและไมโครพลาสติกหลายชนิดเล็กระดับ “นาโนพลาสติก” ซึ่งแปลว่ามันอาจแทรกซึมเข้าในร่างกายเราถึงในระดับเซลล์ได้ และถ้าในพลาสติกจิ๋วบางชนิดอาจดูดซับเคมีพิษติดตัวมันมาด้วย จะเห็นว่าถึงแม้จะยังไม่เห็นผลเสียชัดเจนในตอนนี้แต่ก็ไม่ควรประมาทกับเรื่องสุขภาพเพราะมันก็คือสิ่งแปลกปลอมที่อาจกลับมาทำร้ายคนได้” นายแพทย์กฤษดา กล่าวทิ้งท้าย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |