12 ก.ย.62 - นายสมชาย แสวงการ สมชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์เฟศบุ๊กระบุว่า ปมถวายสัตย์ควรจบได้แล้วครับ แม้สภาผู้แทนราษฎรจะบรรจุวาระอภิปรายในวันที่18 ก.ย.นี้แล้ว
ขอเตือนสติฝ่ายค้านโปรดอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในการไม่รับร้องอย่างเป็นเอกฉันท์ #ให้อ่านซ้ำอย่างละเอียดถี่ถ้วน และโปรดใคร่ครวญใช้ดุลยพินิจในการอภิปรายที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง อย่าให้ละเมิดอำนาจศาลและอย่าล่วงเกินด้วยครับ มิเช่นนั้นผู้อภิปรายที่เลยเถิดอาจต้องรับความเสี่ยงในคดีที่อาจเกิดขึ้นทั้งในศาลรัฐธรรมนูญและศาลยุติธรรม
ไม่ได้ขู่ฝ่ายค้านและไม่ได้ปกป้องรัฐบาล แต่เตือนสติกันในฐานะสมาชิกร่วมสภาด้วยความหวังดี โดยเฉพาะบางท่านที่กำลังมีอนาคตใหม่ทางการเมือง อาจหมดอนาคตครับ
นายสมชาย ได้โพสต์อีกว่า #รัฐสภาต้องยุติอภิปรายปมถวายสัตย์
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร รวมถึงรัฐสภาและ คณะรัฐมนตรีด้วย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 211 วรรคท้ายบัญญัติว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ"
ดังนั้น กรณีเรื่องญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 โดยไม่มีการลงมติ ของ สส. ฝ่ายค้าน กรณีเรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรี ก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้บรรจุเป็นวาระการประชุมเพื่อเปิดอภิปราย ในวันที่ 18 กันยายน 2562 นั้น จึงมีปัญหาว่าสภาผู้แทนราษฎร ยังจะดำเนินการประชุมและเปิดให้มีการอภิปรายต่อไปอีกได้หรือไม่
หากพิจารณาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ดังกล่าวแล้ว สภาผู้แทนราษฎร ย่อมมิอาจดำเนินการอภิปรายต่อไปได้ เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่า "การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำทางการเมือง(Political Issue) ของคณะรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญฝ่ายบริหาร ในความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์ อันอยู่ในความหมายของการกระทำของรัฐบาล (Act of Goverment) ประกอบกับเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 เวลา 17.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต หลังจากนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณจบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัส เพื่อให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้น้อมนำไปเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดินและต่อมาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เวลา 09.00น. นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะรัฐมนตรี ได้เข้ารับพระราชดำรัสในโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ซึ่งพระราชทานเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งทรงลงพระปรมาภิไธย โดยเข้ารับต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ห้องรับรอง ชั้น 5 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล
@“การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด
“ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ"
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น "สภาผู้แทนราษฎร ย่อมไม่มีอำนาจตรวจสอบการถวายสัตย์โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญอีกต่อไปครับ"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |