(ตัวอย่างทีม อสม.ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียง ที่นอกจากการให้ความรู้ที่ถูกต้องกับลูกหลานในการดูแลแล้ว ยังช่วยคลายเหงาให้กับผู้ป่วยได้เช่นกัน)
คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่เจ็บป่วยและมีลูกหลายคอยห้อมล้อม โดยเฉพาะ “ผู้สูงวัยติดเตียง” แต่คนนอกที่เป็นเครือข่ายจิตอาสาที่คอยดูแลผู้ป่วยอย่าง “ทีม อสม.” ถือเป็นตัวช่วยในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มนี้ได้ไม่น้อย เพราะอย่าลืมว่าคนกลุ่มนี้ได้รับการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อช่วยดูแลสุขภาพของคนในชุมชนอย่างถูกต้องและถูกวิธี อีกทั้งสามารถสร้างเพลิดเพลินและผ่อนคลายให้กับคนสูงวัยขณะที่ออกพื้นที่เยี่ยมเยียน ซึ่งบางครั้งนำของกินของใช้ติดไม้ติดมือมาฝากผู้สูงวัยยากไร้อีกด้วย ผอ.ชำนาญ หลีล้วน ผู้อำนวยการ รพ.สต.ตำบลดอนกระเบื้อง จ.ราชบุรี มาให้คำแนะนำในการดูแลผู้สูงอายุป่วยติดเตียง จากประสบการณ์ตรงที่นำทีม อสม.ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยมาบอกกัน
(ผอ.ชำนาญ หลีล้วน)
ผอ.ชำนาญ บอกว่า “จากการนำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน และตรวจสุขภาพในคราวเดียวกัน เราจะแยกผู้สูงอายุออกเป็น 3 ประเภทคือ ผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้าน และติดสังคม สำหรับผู้สูงอายุติดเตียง ที่พบส่วนใหญ่ก็จะมีอาการปวดขา ปวดเข่า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ส่วนโรคแทรกซ้อนจากการที่นอนนานๆ ก็ทำให้เกิดแผลกดทับได้ แต่ส่วนใหญ่นั้นเมื่อสูงอายุในชุมชนของเราติดบ้านหน่อยเดียวก็จะรีบเข้าไปดูแลแล้ว
(ผู้สูงอายุที่ป่วยโรคสโตก หรือโรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน ซึ่งสามารถเดินได้ ก็แนะนำให้เดินเพื่อออกกำลัง และป้องกันการติดเตียงในระยะยาว)
“สาเหตุของการติดเตียงที่พบเป็นสาเหตุมาจากโรคสโตก หรือโรคเส้นเลือดในสมองแตก ตีบ ตัน ที่เป็นสาเหตุหลัก หรือการที่ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากๆ จนไม่อยากเดินและติดเตียงในที่สุด ทั้งนี้ การที่ผู้ป่วยไม่อยากเดินเองทั้งที่เดินได้ ประกอบกับลูกก็คิดว่าให้ท่านนั่งดีกว่า หรือนอนดีกว่าเดิน เพราะถ้าเดินแล้วไปหกล้มมันจะไม่คุ้มกัน ก็เลยไม่ให้ท่านฟื้นฟูโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่เราก็ไปล้างความคิดใหม่ว่า ถ้าท่านยังเดินได้ก็อยากให้เดิน เพราะถ้าผู้สูงอายุเดินได้ก็จะทำให้โรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคหัวใจ ก็จะลดน้อยลง รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหายไปถ้าได้เคลื่อนไหวร่างกาย ตรงนี้จะถือเป็นการได้ออกกำลังกาย ทำให้ผู้ป่วยไม่เครียด
(เพื่อป้องกันภาวะติดเตียงจากโรคซึมเศร้า ผู้สูงอายุสามารถเดินไปพูดคุยและพบปะกับเพื่อนบ้าน ก็จะทำให้ผ่อนคลายและไม่เหงา)
ซึ่งทางทีมของเราก็ได้มีการจัดกิจกรรมฟื้นฟูสุขภาพจิตให้กับผู้สูงอายุติดเตียง อันเนื่องจากสาเหตุที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและทำให้ติดเตียง ที่สำคัญก็จะแนะนำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคสโตก หรือเส้นเลือดแตก ตีบ ตัน ที่ยังสามารถเดินหรือช่วยตัวเองได้บ้าง ให้ออกนอกบ้าน เดินรอบบ้าน หรือเดินไปเยี่ยมเพื่อนบ้านก็ยังดี เพราะถ้ายิ่งไม่ลุกเดินก็จะยิ่งเงียบเหงาและนอนติดเตียงในที่สุด จากประสบการณ์ที่ไปเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชนที่รับผิดชอบ เราก็จะเห็นว่าผู้สูงอายุที่ติดเตียงมักจะหงอยเหงา เราก็จะซื้อวิทยุให้ฟังเพลง ผู้สูงอายุก็จะผ่อนคลายมากขึ้น”
ผอ.ชำนาญ บอกอีกว่า จากการลงพื้นที่พร้อมกับทีม อสม.อย่างสม่ำเสมอนั้น สิ่งที่ดีใจมากที่สุดคือการที่ผู้สูงอายุติดเตียงนั้นจะค่อนข้างติด อสม.มาก แม้ว่าบางคนจะมีลูกหลานคอยดูแลเป็นประจำก็ตาม แต่ท่านจะไม่คิดถึงลูกหลาน เนื่องจากเจอกันทุกวัน แต่จะคิดถึงทีม อสม.ซึ่งเป็นคนนอก และเมื่อนานๆ ไปเจอกัน ผู้สูงอายุจะรู้สึกดีใจ อยากพูดคุยอยากเล่าปัญหาต่างๆ ให้ฟัง
“การที่ อสม.เข้าไปเยี่ยมผู้สูงอายุบ่อยๆ เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ที่เราประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งเพราะมีโครงการที่ให้ อสม.ดูแลผู้สูงอายุระยะยาว พูดง่ายๆ ผู้สูงอายุทุกคนมีเจ้าภาพคอยดูแล เช่น อบต. หรือเจ้าหน้าที่จากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่อยู่โดยรอบ และมี รพ.สต. หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ในชุมชนของเรานั้นก็จะมีโครงการหมอครอบครัวสำหรับดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะ และก็จะมีการให้เบอร์โทรศัพท์ของ รพ.สต. หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเอาไว้ เพื่อให้เพื่อนบ้าน, นายก อบต. หรือทีม อสม.โทรศัพท์เข้าไปแจ้ง เพื่อให้เข้าไปช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือต้องการขอรถพยาบาลมารับผู้ป่วยติดเตียงไปพบแพทย์”
นอกจากการส่งเสริมให้วัยเก๋าที่ป่วยโรคเส้นเลือดแตก ตีบ ตัน ที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ให้หมั่นขยับร่างกาย เพื่อป้องกันภาวะติดเตียงในระยะยาวแล้ว การเยี่ยมเยียนผู้สูงวัยติดเตียงที่มีอาการหงอยเหงาซึมเศร้า โดยอาศัยทีมแพทย์ รพ.สต. และทีม อสม.ก็ถือเป็นทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะการส่งเสริมทั้งร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงควบคู่กันไปว่าไหมค่ะ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |