ศาลปกครองเปิดระบบไกล่เกลี่ยยุติข้อพิพาท


เพิ่มเพื่อน    


    ศาลปกครองเปิดระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หวังเป็นทางเลือกใหม่ให้คู่กรณียุติข้อพิพาทโดยเร็ว ถูกต้องตามกฎหมาย คาดลดคดีในศาลได้ร้อยละ 40
    เมื่อวันที่ 9 กันยายนนี้ นายปิยะ ปะตังทา ประธานศาลปกครองสูงสุด แถลงข่าวเปิดระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยระบุว่า ศาลปกครองได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2562 และระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ.2562 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อนำระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาเป็นทางเลือกใหม่ให้กับคู่กรณีในการระงับข้อพิพาท เชื่อว่าจะเป็นผลดีทำให้คู่กรณีสามารถยุติข้อพิพาทที่มีต่อกันได้ด้วยความเรียบง่าย รวดเร็ว และถูกต้องตามกฎหมาย จึงหวังว่าระบบการไกล่เกลี่ยจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ประชาชน หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นคู่กรณี และส่งเสริมการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    ด้านนายบุญอนันต์ วรรณพานิชย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ในฐานะประธานกรรมการยกร่างอนุบัญญัติการเตรียมความพร้อมศาลปกครองในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อธิบายถึงหลักการไกล่เกลี่ยว่า คดีที่สามารถไกล่เกลี่ยได้มี 4 ประเภท 1.คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการละเลยหรือล่าช้าต่อการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ 2.คดีพิพาทที่เกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ 3.คดีพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง และ 4.คดีพิพาทอื่น ซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณากำหนดในระยะต่อไป โดยทั้งหมดต้องเป็นคดีที่เป็นการฟ้องคดีครั้งแรกเท่านั้น   
    "กระบวนการไกล่เกลี่ย คู่กรณีสามารถยื่นคำขอต่อศาล หรือศาลเห็นเองว่าคดีดังกล่าวควรมีการไกล่เกลี่ย ซึ่งต้องอยู่ภายใต้ความสมัครใจของคู่กรณี ส่วนผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นตุลาการศาลปกครองที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับสำนวนคดีเป็นผู้ดำเนินการ โดยไม่มีรูปแบบ พิธีการหรือขั้นตอนที่เคร่งครัด เพื่อช่วยให้คู่กรณีสามารถสื่อสารความต้องการและข้อจำกัดของทุกฝ่ายได้อย่างเต็มที่ ภายใต้ระยะเวลาการดำเนินการใน 90 วันนับแต่วันนัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทครั้งแรก ทั้งนี้ คู่กรณีไม่สามารถนำกระบวนไกล่เกลี่ยไปยื่นอุทธรณ์คดีได้ รวมถึงหากประวิงเวลาในการไกล่เกลี่ย ตุลาการผู้ไกล่เกลี่ยสามารถรายงานต่อองค์คณะให้ยุติการไกล่เกลี่ยได้"
    นายบุญอนันต์กล่าวอีกว่า ผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หากสำเร็จและทำให้คดีเสร็จสิ้นไปทั้งหมด และศาลตรวจดูแล้ว ข้อตกลง หรือสัญญาประนีประนอมยอมความ ถ้าเห็นว่าถูกต้องตามกฎหมายก็จะมีคำพิพากษาตามยอม ซึ่งก็จะมีผลบังคับผูกพันกับหน่วยงานของรัฐเช่นเดียวกับคำพิพากษาปกติ แต่หากไกล่เกลี่ยข้อพิพาททำสำเร็จในบางประเด็น ศาล ก็จะจดรายงานแสดงข้อความแห่งข้อตกลงในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ และพิจารณาประเด็นที่ยังพิพาทต่อไป แล้วนำมารวมพิพากษาไปในคราวเดียวกัน แต่หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ศาลก็จะดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการนำระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้จะสามารถลดจำนวนคดีในปกครองลงได้ 30-40 เปอร์เซ็นต์
    สำหรับลักษณะของคดีที่กฎหมายห้ามมีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไว้ ได้แก่ คดีที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  คดีที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อสถานะของบุคคล หรือมีผลกระทบในทางเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ ข้อพิพาทที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการบังคับกฎหมาย หรือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่อยู่นอกเหนือสิทธิ อำนาจหน้าที่ หรือความสามารถของคู่กรณี. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"