สสส.หนุนงานจิตอาสาในสถานสงเคราะห์ ยกย่องจิตอาสาทำงานอาสาสมัคร 14 ปีต่อเนื่อง แบกภาระอันหนักอึ้ง สร้างมหัศจรรย์พันวันแรกแทนครอบครัวที่ยากจน พ่อแม่ไม่พร้อมเลี้ยงดูลูกนำมาฝากไว้ที่สถานสงเคราะห์ เพราะความเหลื่อมล้ำความยากจนในสังคม
มูลนิธิสุขภาพไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม “วันคนอาสาสร้างสุข” เปิดบ้านเยี่ยมชมแหล่ง (ศูนย์) เรียนรู้เพื่อส่งเสริมจิตอาสาให้เด็กในสถานสงเคราะห์เพื่อเผยแพร่และกระตุ้นให้คนทั่วไปได้มาเป็นอาสาเพิ่มขึ้น ให้กำลังใจอาสาสมัครที่มอบสิ่งดีๆ ให้กับเด็ก ในวันที่ 18 ส.ค. ณ สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนปากเกร็ด นนทบุรี
วีรพงษ์ เกรียงสินยศ เลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย กล่าวว่า เมื่อ 14 ปีก่อนช่วงเทศกาลเข้าพรรษา มูลนิธิสุขภาพไทย เครือข่ายพุทธิกา สหทัยมูลนิธิ ซึ่งทำงานที่บ้านปากเกร็ด ชวนอาสาสมัครเข้ามาทำงานที่บ้านปากเกร็ดได้ถึง 200 คน บ้านปากเกร็ดเกือบแตก จึงจัดระบบจิตอาสา 1 คน ดูแลเด็ก 1 คน เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ ติดตามดูพัฒนาการความเปลี่ยนแปลง ทำงานครบ 3 เดือน 4 เดือน เพิ่มขึ้นเป็น 1 ปี มีจิตอาสาบางคนทำงานด้วยความสมัครใจ 14 ปีต่อเนื่อง อาสาสมัครเป็นได้มากกว่าการเป็นพี่เลี้ยงน้อง สอนหนังสือ สอนทำการบ้าน เพื่อนเล่น ฝึกทักษะทางร่างกาย ที่ปรึกษา อบรมงานฝีมือต่างๆ ฝึกจิตใจเด็กให้อ่อนโยน เป็นการทำงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ อดทนกับภาระอันหนักอึ้ง
ศิรทิพย์ ภาศรีสมบัติ ผอ.กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว (ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน) กล่าวเปิดงานคำว่า อาสามาจากใจ งานอาสาสมัครเริ่มต้นปี 2548 สมัยนั้นงานอาสาสมัครยังน้อยมากกว่าจะมาถึงวันนี้ มีพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามกรมประชาสงเคราะห์เป็นกรมใหม่ ต่อมาพัฒนางานเป็นกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ “พวกเราเป็นนางฟ้า ทำสิ่งดีๆ พลังดีๆ ส่งผลให้ประเทศชาติ เราทำงานกับทรัพยากรมนุษย์ เด็กเล็กวัยทองคำ พวกเราเป็นพวกวัยทอง เราดูแลเด็กๆ มหัศจรรย์พันวันแรกมีคุณค่ามาก ดูแลทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย”
เมื่อไม่นานมานี้มีกิจกรรมนำเด็กไทยที่เดินทางไปอยู่กับครอบครัวบุญธรรมในต่างประเทศกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด ที่นี่เป็น Native Land แต่น้องพูดภาษาไทยไม่ได้ เป็นความมหัศจรรย์ของเด็กไทย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติที่จะรับเด็กไทยไปเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม ความเป็นคนไทยฝังแน่นอยู่ในสายเลือด คือความอ่อนน้อมถ่อมตนที่เขาสัมผัสได้ ในความเก่ง เด็กก็มีเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นการปลูกฝังกันมาแต่เด็ก ด้วยเหตุนี้เด็กไทยที่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรมจึงกระจายไปอยู่ในกลุ่มยุโรป ออสเตรเลีย สหรัฐ เราช่วยให้เขามีโอกาสที่ดี
เสวนา “ความท้าทายงานอาสาสร้างสุขเพื่อเด็กในสถานสงเคราะห์” โดยพัชรา กลางสาทร ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการเด็กและครอบครัว (ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน) บุรี ลาดสลุง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการสถานคุ้มครองและพัฒนาบ้านนนทภูมิ นนทบุรี, พัทธิอร กาฬสุวรรณ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ (ผอ.กคพ.) (ผู้แทนอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ), ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนัก 4 (สสส.), สุวินันท์ ตั้งสุวรรณวงศ์ (กอล์ฟ) อาสาสมัครสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต, ณัฐนันท์ คงคาหลวง (จูน) อาสาสมัครจากสถานคุ้มครองฯ บ้านนนทภูมิ
ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยถึงการสนับสนุนกิจกรรมอาสาสร้างสุข เพื่อผู้ที่เป็นอาสาได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง เติมเต็มความสุขแก่เด็กๆ ในสถานสงเคราะห์ เด็กทุกคนต้องการความรักความอบอุ่นจากคนรอบข้างและครอบครัว แต่เด็กที่อยู่ในสถานสงเคราะห์จะขาดโอกาสมากกว่าเด็กที่อยู่กับครอบครัวอย่างพร้อมหน้า ดังนั้นการมีอาสาสมัครเข้ามาเป็นพลังเสริม เป็นการช่วยเติมเต็มให้น้องๆ ได้รู้สึกอบอุ่น และยังเป็นเหมือนพี่เลี้ยงใกล้ชิดช่วงส่งเสริมทักษะและพัฒนาการของน้องๆ ได้อย่างดีอีกด้วย
เมื่อมองภาพใหญ่ สิ่งที่เราทำคือสร้างคนเพื่อส่งมอบคนรุ่นใหม่ที่เต็มเปี่ยมด้วยศักยภาพ เราเลือกได้ด้วยการขอความรู้จากผู้ปกครอง บุกเบิกอาสาเพื่อช่วยงานสถานสงเคราะห์ แม้วันนี้เด็กเกิดน้อยลง แต่เด็กในสถานสงเคราะห์มีจำนวน 6,000 คน ครอบครัวที่ยากจนไม่พร้อมในการเลี้ยงดูลูกก็จะนำมาฝากไว้ที่สถานสงเคราะห์ เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้กำพร้าพ่อแม่ แต่เพราะความเหลื่อมล้ำความยากจนในสังคม ตราบใดที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เด็กกลุ่มนี้จะทวีจำนวนขึ้น การเลี้ยงดูบ่มเพาะให้เด็กเติบโตมีศักยภาพด้วยการทำงานเป็นทีม เป้าหมายที่เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงมหัศจรรย์พันวัน เป็นมหากาพย์ถ้าเราทำถูกทำได้ดีเท่ากับการลงเสาเข็มเป็นฐานของชีวิต ต่อยอดได้อย่างดีในอนาคต สสส.พร้อมให้การสนับสนุน เราจะทำอย่างไรเพื่อเป็นเป้าหมายถึงตัวเด็กด้วย การต่อจิกซอว์ให้ครบถ้วน เป็นบทบาทแต่ละฝ่ายหนุนช่วยได้ ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายร่วมกัน
“นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ พูดว่า 1,000 วันแรกเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ จะต้องรับรู้ว่าแม่มีอยู่จริง ใช้ชุดความรู้พัฒนาเด็ก เด็กขอมีผู้ใหญ่เพียง 1 คนที่ให้ความมั่นใจกับเขา ได้รับความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข ได้รับความอบอุ่น ประคับประคองจิตใจ เมื่อก้าวพลาดแล้วชีวิตเด็กจะไปต่อได้ ถ้าเด็กไม่มั่นใจว่ามีใครอยู่จริงจะเป็นหลุมดำ เป็นแผลที่อยู่ใต้จิตสำนึกเหมือนต้นไม้ไร้ราก บ้านที่ไม่ได้ลงเสาเข็ม ลม ฝน พายุมาก็ทำให้พังทลายได้ การดูแลเด็กต้องทำด้วยความมุ่งมั่นเพื่อให้เด็กเข้มแข็ง เติบโตอย่างมีศักยภาพ ก้าวสู่โลกภายนอกพร้อมที่จะอยู่กับชุมชน”
ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นอาสาเพื่อสร้างสุขให้กับเด็กในสถานสงเคราะห์จำนวนหนึ่ง แต่เด็กในสถานสงเคราะห์เป็นจำนวนมาก อาสาที่เข้ามาทำหน้าที่สร้างสุข 1 คนจะดูแลเด็ก 1 คน จึงเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเติมเต็มให้กับน้องๆ สามารถสมัครได้ตามสถานสงเคราะห์แต่ละแห่งเพื่อจะได้ร่วมช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ มีประโยชน์ให้กับสังคม
สมลักษณ์ สุบินนภารัตน์ ผู้ปกครองบ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่มูลนิธิสุขภาพไทยภายใต้การสนับสนุนของ สสส.เข้ามาจัดระบบอาสาสมัครสร้างสุขให้เต็มรูปแบบ เพิ่มองค์ความรู้ เพิ่มทักษะต่างๆ เป็นการเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้กับทีมอาสาที่เข้ามาทำงานร่วมกัน เด็กที่มีอาสาสมัครดูแลได้รับการพัฒนาและได้รับความอบอุ่นเพิ่มมากขึ้นด้วย การที่มีอาสาสมัครเข้ามาช่วยทำงานเป็นเรื่องดีมาก ทั้งงานซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ช่วยทำความสะอาด หรือช่วยงานในด้านอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์ต่อเด็กและสถานสงเคราะห์อย่างมาก ทุกวันนี้จำนวนเด็กและบุคลากรที่ทำงานประจำไม่เพียงพอที่จะดูแลอย่างใกล้ชิดได้อย่างทั่วถึง การมีอาสาสมัครเข้ามาช่วยงานดูแลแบบตัวต่อตัว เป็นการเติมเต็มให้กับเด็กได้อย่างใกล้ชิด
ปัจจุบันมีพี่เลี้ยงอาสาสมัครกว่า 100 คน มีเด็ก 270 คน ยังมีเด็กอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่มีอาสาสมัครเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงซึ่งจำเป็นมากต่อพัฒนาการของเด็ก ผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครสร้างสุขให้แก่เด็กๆ เพื่อช่วยเติมเต็มความอบอุ่นให้กับพวกเขาด้วย
บุรี ลาดสลุง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการสถานคุ้มครองและพัฒนาบ้านนนทภูมิ นนทบุรี กล่าวว่า พี่ๆ อาสาเสมือนหนึ่งเป็นนางฟ้าของเด็กๆ ช่วยเติมเต็มพัฒนาการทักษะทุกด้าน เป็นความท้าทายสำหรับคนที่เสียสละความสุขส่วนตัวเข้ามาทำงาน เสียเงิน เสียเวลาในการเดินทาง เหนื่อยยากลำบาก ทำงานต่อเนื่องหลายปี เด็กๆ จะรอคอยวันเสาร์-อาทิตย์ว่าพี่อาสาจะเข้ามาทำงานไหม เป็นความปลื้มใจ
พัชรา กลางสาทร ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการเด็กและครอบครัว (ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน) กล่าวว่า การทำงานอาสาเป็นการจุดประกายที่จะทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ การออกแบบกิจกรรมด้วยระบบกลั่นกรองให้ความรู้ ทุกคนที่เข้ามาเป็นการทำงานด้วยใจและศรัทธา ให้คุณค่าเพื่อประสบความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ Mind Set เป็นมิตรไม่ใช่ศัตรู เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รัฐบาลทำงานฝ่ายเดียวไม่ได้ ต้องมีภาคเอกชน อาสาเข้ามาทำงานต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันด้วย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |