6ก.ย.62-ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า ตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย ด้านการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular – Green (BCG) Economy) โดยนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมในการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและบริการของท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ยกตัวอย่าง ธุรกิจ “ผลิตและจำหน่ายพื้นรองเท้าจากเปลือกใยทุเรียน” ของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกเป็นทีมธุรกิจธุรกิจดีเด่น จำนวน 20 ทีมสุดท้ายในโครงการของสอศ.ที่ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระในผู้เรียนอาชีวศึกษาที่จัดแสดงแผนธุรกิจในเดือนพฤศจิกายน 2562 และได้ผ่านการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาระดับภาค 4 ดาวอีกด้วย
นางสาวทิพย์สวรรค์ สุริหะ นักศึกษาชั้น ปวช.2 สาขาการบัญชี วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ เล่าว่า ทุเรียน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่รู้จักกันดีว่าปลูกในพื้นที่ดินภูเขาไฟ ทำให้เกิดคุณภาพพิเศษของเนื้อทุเรียน คือ เนื้อละเอียด ไส้แห้ง เม็ดน้อย และกลิ่นไม่แรงเหมือนทุเรียนอื่น ๆ เกิดเป็นที่นิยม เกษตรกรจึงได้หันมาปลุกทุเรียนกันมากขึ้น และชาวบ้านก็นำทุเรียนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทำให้มีเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งเป็นขยะจำนวนมากโดย ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ ประกอบกับตนและเพื่อนๆ อยากช่วยเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหายางพาราราคาตกต่ำ จึงได้ศึกษาคิดค้นผลิตพื้นรองเท้าจากเปลือกใยทุเรียน โดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเส้นใยเปลือกทุเรียนกับยาง Compound ในการพัฒนาสูตรยางพื้นรองเท้าให้มีคุณภาพดี และมีคุณสมบัติพิเศษคือ นุ่ม น้ำหนักเบา สวมใส่สบาย แข็งแรง คงทน ไม่อุ้มน้ำ และมีราคาถูกว่าในท้องตลาดซึ่งราคาเริ่มต้นขายคู่ละ 40 บาท ขณะที่ท้องตลาดขายกันคู่ละ 60-75บาท ทำให้ช่วยผู้ประกอบการผลิตรองเท้า ลดต้นทุนการผลิตไปได้เป็นจำนวนมาก โดยพื้นรองเท้าจากเปลือกใยทุเรียน ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.131-2523 และ มอก.749-2531ในการเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลและคุณสมบัติทางกายภาพของยางพื้นรองเท้าที่มีส่วนผสมระหว่างเส้นใยเปลือกทุเรียนกับยางคอมพาวด์ (Compound) และได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากโครงงานวิทยาศาสตร์ พ.ศ.2561 อีกด้วย
นางสาวทิพย์สวรรค์ เล่าเพิ่มเติมว่า ในช่วงทดสอบตลาด มีวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจแนวคิดใหม่ในอาเซียน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตรองเท้าแฮนด์เมดเพื่อส่งขายทั้งในและต่างประเทศ สนใจพื้นรองเท้าจากเปลือกใยทุเรียน โดยสั่งซื้อเป็นประจำต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ 1,500 คู่ สร้างยอดขายให้ได้กว่า 60,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งจากเดิมที่ผู้ประกอบการรายนี้สั่งพื้นรองเท้าจากประเทศจีนซึ่งพื้นไม่ค่อยคงทนแข็งแรง และมีค่าต้นทุนด้านการขนส่งที่สูงมาก เมื่อมาสั่งพื้นรองเท้าจากใยเปลือกทุเรียน ทำให้เขาลดต้นทุนการผลิต และได้พื้นรองเท้าที่คงทนแข็งแรง และรูปทรงพื้นรองเท้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ปัจจุบัน พื้นรองเท้าจากเปลือกใยทุเรียน มียอดขายเป็นจำนวนนมาก ซึ่งตนและเพื่อนๆในทีมธุรกิจกำลังเตรียมแผนเพิ่มการผลิตให้ทันต่อยอดสั่งซื้อที่มีประจำอย่างต่อเนื่อง
“ทั้งนี้ พื้นรองเท้าจากเปลือกใยทุเรียนสามารถสั่งทำได้ตามความต้องการของลูกค้า โดยพื้นรองเท้าแตะขายในราคาคู่ละ40 บาท และพื้นรองเท้าผ้าใบ หรือ พื้นรองเท้าคัตชู ราคาคู่ละ 60 บาท หากสั่งเป็นจำนวนมาก 500 คู่ ขึ้นไป มีส่วนลดเริ่มต้นให้ 5 % นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เป็นรองเท้าทำมือ (Hand made) สำเร็จรูปด้วย ซึ่งขายในราคาคู่ละ 250 บาท โดยสินค้าทุกประเภทมีบริการจัดส่งทั่วประเทศ คิดค่าบริการจัดส่งตามน้ำหนัก (เริ่มต้นที่ 50 บาท) หากสนใจสั่งซื้อ สามารถติดต่อได้ที่โทร.086-168-4885 หรือทางเฟสบุ๊คที่เพจ S-durian Shell-fiber หรือทางไลน์ไอดี : boonnada2010 หรือที่ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา วิทยาเทคนิคศรีสะเกษ สนใจทักมานะคะ”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |