ศิริราชเปิดตัว "ศูนย์ความรู้สูงวัย"/เตรียมความพร้อมอยู่อาศัยหลังเจ็บป่วยออกจากรพ.


เพิ่มเพื่อน    

7มี.ค.-ที่โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวเปิดตัว "ศูนย์ความรู้สูงวัย" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และเอสซีจี ว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์ในปี 2564 มีผู้สูงอายุ 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้น อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเสื่อมถอยลง จึงมีโอกาสป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ มากขึ้น และการพลัดตกหกล้มทำอย่างไรไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นจากการหกล้ม และหากเกิดขึ้นแล้วจะลดอันตรายลงได้อย่างไร  ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิจัยในเรื่องเหล่านี้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้เฉพาะสำหรับการดูแลผู้สูงอายุขึ้น จึงร่วมกับเอสซีจีในการวิจัย ถือเป็นการผนวกองค์ความรู้ทางการแพทย์และด้านการอยู่อาศัย ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตอบโจทย์ในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น พื้นต้องเป็นอย่างไร วัสดุควรเป็นแบบไหน ถึงป้องกันการลื่นหรือลื่นล้มแล้วจะเกิดการบาดเจ็บน้อยที่สุด เป็นต้นและนำองค์ความรู้มาทำเป็นหนังสือ "คู่มือความรู้ผู้สูงวัย" และจัดตั้งเป็น "ศูนย์ความรู้สูงวัย" ในที่สุด ซึ่งเปิดให้บริการอยู่บริเวณชั้น 4 โซน C รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ 
 

ศ.นพ.ประสิทธิ์ โดยศูนย์ดังกล่าวเป็นศูนย์ความรู้ด้านที่อยู่อาศัย การเตรียมความพร้อมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และเป็นพื้นที่เตรียมความพร้อมให้แก่ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยก่อนออกจากโรงพยาบาลด้วย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินโครงการศูนย์วิทยาการความรู้ผู้สูงอายุศิริราช พื้นที่ 25ไร่ ที่ จ.สมุทรสาครด้วย ซึ่งคอนเซ็ปต์ก็จะเหมือนกันกับศูนย์ความรู้สูงวัยที่นี่  ขอย้ำว่าไม่ใช่โรงพยาบาลหรือบ้านพักผู้สูงอายุแต่อย่างใด

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่าเมื่อก่อนคนไข้สูงอายุเมื่อรักษาเสร็จกลับบ้านเลย ซึ่งไม่ได้เตรียมความพร้อม เช่น ที่นั่งที่นอนไม่เหมาะสม ก็จะเกิดการพลัดตกหกล้มและกลับมาโรงพยาบาลใหม่ เนื่องจากผู้สูงอายุเมื่อเจ็บป่วยแล้วเวลากลับไปบ้านจะไม่เหมือนเดิม เช่น ความจำแย่ลง การตัดสินใจไม่ดี การเคลื่อนไหวร่างกายไม่ดี ดังนั้น จึงต้องมาเรียนรู้การปรับตัวต่างๆ ก่อนกลับไปอยู่บ้าน ทั้งผู้ป่วยสูงอายุและญาติ โดยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์  โดยศูนย์วิทยาการฯ จะมี 2 ตึกคือ ตึกที่พักผู้ป่วยเพื่อเตรียมตัวกลับบ้าน โดยมีห้องจำลองเหมือนบ้านให้ญาติมาดูว่า ควรปรับสิ่งต่างๆ และตึกบรรยายให้ความรู้ประชาชนและญาติผู้ป่วย ซึ่งแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ไม่ใช่ว่าทุกบ้านต้องมีการเตรียมความพร้อมที่เหมือนกันอย่างไรก็ตา ศูนย์วิทยาการฯ ยังรองรับผู้สูงอายุจากโรงพยาบาลอื่นด้วย แต่จะต้องประสานติดต่อมาก่อนเพื่อการเตรียมความพร้อม โดยจะต้องมีการประเมินว่าเป็นคนไข้สูงอายุที่สามารถกลับไปอยู่บ้านได้เลยโดยไม่มีปัญหา หรือจำเป็นต้องมาปรับตัวก่อนที่จะกลับบ้าน ซึ่งการที่แยกออกมาจากโรงพยาบาล เพราะหากให้รอการปรับตัวอยู่ในโรงพยาบาลก็จะเป็นการเสียเตียงในการดูแลคนไข้อื่นที่แน่นอยู่แล้ว  ซึ่งรัฐบาลก็รับในหลักการ อยู่ระหว่างการเสนอความเห็นชอบและงบประมาณขั้นสุดท้ายต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งหากผ่านก็สามารถดำเนินการหาผู้ก่อสร้างได้ คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 2 ปี

นายนิธิ ภัทรโชค รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและจัดจำหน่ายในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี ซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวว่า เอสซีจีให้ความสำคัญกับการรองรับที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุมา 7-8 ปีแล้ว แต่ต้องอาศัยความรู้ด้านอื่นๆ มาบูรณาการ ทั้งศาสตร์การแพทย์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม รวมไปถึงวัสดุศาสตร์ ซึ่งยินดีอย่างมากที่ศิริราชเลือกมาร่วมมือในการดำเนินการเรื่องนี้ และในอนาคตอาจต้องพัฒนาในเรื่องของศาสตร์ดิจิทัลเข้ามาดูแลด้วย เช่น การมีเซนเซอร์ต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลในการวิเคราะห์ว่าพฤติกรรมเช่นนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหกล้มหรือความเสี่ยงอะไรบ้าง เพื่อให้แพทย์รับรู้และป้องกันได้ เป็นต้น ทั้งนี้ เชื่อว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นฮับในการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากมีสภาพอากาศอบอุ่น ซึ่งผู้สูงอายุจะไม่ชอบอากาศหนาวเย็น  ไทยจึงมีความได้เปรียบเรื่องของอากาศ และมีองค์ความรู้ในการดูแลที่ไม่ด้อยไปกว่าต่างประเทศเลย สำหรับศูนย์ความรู้สูงวัย เอสซีจีได้จัดส่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาร่วมให้ความรู้ และให้คำปรึกษา สำหรับอนาคตอาจจะพัฒนาความรู้ลงลึกไปในการเตรียมพร้อมบ้านที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยอัลไซเมอร์ นอนไม่หลับ และโรคของผู้สูงอายุมากขึ้นอีก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"